ผศ.ปรีชา ปั่นกล่ำ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำโครงการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามแนวโน้มความนิยมของตลาดต่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และสร้างเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชน สนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้า และเพื่อยกระดับสินค้า OTOP ของไทยให้สามารถเชิดหน้าชูตาได้ในตลาดสากล ผลงานโครงการวิจัยนี้ นำเสนอยุทธศาสตร์ในการแข่งขันสินค้า OTOP หลายแนวทาง ทั้งเรื่องคุณภาพสินค้าที่เชื่อมโยงถึงวัสดุอุปกรณ์ การผลิต การออกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การเลือกใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ศิลปความงามที่ก่อให้เกิดคุณค่าทางความรู้สึกและจิตใจของผู้บริโภค โดยมีหลักสำคัญประกอบด้วย ดังนี้
1. ต่อยอดทางศิลปวัฒนธรรม การออกแบบควรศึกษาถึงความเป็นมา ความสำคัญของเนื้อหาที่ติดมากับชิ้นงานที่ได้เลือกมาประยุกต์ เพื่อนำมาผนวกกับแนวคิดใหม่ให้สอดคล้องโดยไม่เสียคุณค่าของเดิม ทั้งนี้การต่อยอด การเพิ่มมูลค่าและแสดงคุณความงามนั้น จะออกมาในรูปแบบการใช้ประโยชน์
2. ชุบชีวิตใหม่ให้เทคนิคและวัสดุเดิม นำมาสร้างสรรค์ในอีกลักษณะที่สามารถใช้ประโยชน์ใช้สอย แต่ยังคงลักษณะเดิมของรูปทรง เทคนิค และวัสดุ จะทำให้เกิดรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องราวเนื้อหาในตัวมันเอง
3. เปลี่ยนความคุ้นเคยให้แตกต่างออกไป การใช้งานหรือการรู้จักใช้สิ่งของบางอย่างที่เคยชิน อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซาก การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับสิ่งจำเจ จะทำให้ได้ผลงานที่สร้างสรรค์ น่าสนใจต่างออกไป
4. สืบสานภูมิปัญญา ภูมิปัญญาความรู้เชิงช่างหัตถกรรมจากอดีต มีคุณค่าทางมานุษยวิทยาและน่าสนใจ เพราะองค์ความรู้ถูกวิเคราะห์ และผ่านการแก้ปัญหามามาก จนเกิดการชำนาญเฉพาะทาง เมื่อจะนำความรู้นั้นกลับมาใช้อีกครั้ง ต้องมีการออกแบบใหม่ โดยอาศัยแนวคิด เทคนิค วิธีการเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงในปัจจุบัน
5. ใช้แรงบันดาลใจและอิทธิพลเป็นต้นแบบ สิ่งที่ประดิษฐ์จากศิลปกรรม งานสร้างสรรค์ต่าง ๆ สามารถเป็นงานต้นแบบในการสร้างสรรค์ต่อยอดให้แตกแขนงทางความคิดและรูปแบบได้เป็นอย่างดี
6. บูรณาการความคิดและรูปแบบ การรวบรวมความคิดและรูปแบบที่มีความแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ที่มีความน่าสนใจ และเกิดเป็นวิธีการที่ให้ประสบการณ์ และอารมณ์ที่น่าสนเท่ห์กว่าที่คาดคิด
7. กำหนดรูปแบบผลงานจากรูปแบบการใช้งานจริง รูปแบบการใช้งาน เป็นปัจจัยสำคัญเสมอสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการใช้งาน จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดในการออกแบบได้เป็นอย่างดี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
1. ต่อยอดทางศิลปวัฒนธรรม การออกแบบควรศึกษาถึงความเป็นมา ความสำคัญของเนื้อหาที่ติดมากับชิ้นงานที่ได้เลือกมาประยุกต์ เพื่อนำมาผนวกกับแนวคิดใหม่ให้สอดคล้องโดยไม่เสียคุณค่าของเดิม ทั้งนี้การต่อยอด การเพิ่มมูลค่าและแสดงคุณความงามนั้น จะออกมาในรูปแบบการใช้ประโยชน์
2. ชุบชีวิตใหม่ให้เทคนิคและวัสดุเดิม นำมาสร้างสรรค์ในอีกลักษณะที่สามารถใช้ประโยชน์ใช้สอย แต่ยังคงลักษณะเดิมของรูปทรง เทคนิค และวัสดุ จะทำให้เกิดรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องราวเนื้อหาในตัวมันเอง
3. เปลี่ยนความคุ้นเคยให้แตกต่างออกไป การใช้งานหรือการรู้จักใช้สิ่งของบางอย่างที่เคยชิน อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซาก การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับสิ่งจำเจ จะทำให้ได้ผลงานที่สร้างสรรค์ น่าสนใจต่างออกไป
4. สืบสานภูมิปัญญา ภูมิปัญญาความรู้เชิงช่างหัตถกรรมจากอดีต มีคุณค่าทางมานุษยวิทยาและน่าสนใจ เพราะองค์ความรู้ถูกวิเคราะห์ และผ่านการแก้ปัญหามามาก จนเกิดการชำนาญเฉพาะทาง เมื่อจะนำความรู้นั้นกลับมาใช้อีกครั้ง ต้องมีการออกแบบใหม่ โดยอาศัยแนวคิด เทคนิค วิธีการเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงในปัจจุบัน
5. ใช้แรงบันดาลใจและอิทธิพลเป็นต้นแบบ สิ่งที่ประดิษฐ์จากศิลปกรรม งานสร้างสรรค์ต่าง ๆ สามารถเป็นงานต้นแบบในการสร้างสรรค์ต่อยอดให้แตกแขนงทางความคิดและรูปแบบได้เป็นอย่างดี
6. บูรณาการความคิดและรูปแบบ การรวบรวมความคิดและรูปแบบที่มีความแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ที่มีความน่าสนใจ และเกิดเป็นวิธีการที่ให้ประสบการณ์ และอารมณ์ที่น่าสนเท่ห์กว่าที่คาดคิด
7. กำหนดรูปแบบผลงานจากรูปแบบการใช้งานจริง รูปแบบการใช้งาน เป็นปัจจัยสำคัญเสมอสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการใช้งาน จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดในการออกแบบได้เป็นอย่างดี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-