1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.08 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.15 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 10.93 ล้านตัน โดยการผลิตปูนซีเมนต์เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 1.68 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อ
สร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 และในช่วง
ครึ่งแรกของปี 2549 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 42.52 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่อง
จากผู้ประกอบการได้เพิ่มการผลิตเพื่อขยายการส่งออกทดแทนตลาดในประเทศ
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 86.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ลดลงร้อยละ 4.42 และ 0.46 ตามลำดับ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 72.80 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 2.02 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.31
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด คิดเป็นร้อยละ 88.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.25 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 73.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.40
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 7.76 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.08 ล้านตัน
และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.68 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 8.38 และเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.39 สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 16.23 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.35 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และในเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้
มีอุปสรรคในการก่อสร้าง ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง อีกทั้งการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้าง
ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณรวม 3.67 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,011.81 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 และ1.03 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.51 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า
1,736.56 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,275.25 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 2.39 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.72
การส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรวม 7.28 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,972.35 ล้านบาท เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 9.00 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายปูน
ซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีจำนวนรวม 973.69 ตัน คิดเป็นมูลค่า
17.80 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 7.56 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.2 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 966.13 ตัน คิด
เป็นมูลค่า 17.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 51.01 และ 7.10 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 72.77 และ 21.48 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการนำเข้ารวม 2,961.03 ตัน คิดเป็นมูลค่า 36.97 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 48.21 และ 22.22 ตามลำดับ ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัส
ซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติ
ของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุด
ยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การก่อสร้างเริ่มชะลอตัวทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลด
ลง และเมื่อพิจารณาในครึ่งแรกของปี 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตาม
ราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงเพิ่มการผลิต
เพื่อขยายการส่งออก ทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลง
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง เนื่องจากธุรกิจการก่อ
สร้างยังคงเผชิญกับปัจจัยลบที่สำคัญคือราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นได้อีก นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลายจะกระทบ
ต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชนไทยและการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งความล่าช้าในการดำเนินการโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่ของภาครัฐ คาดว่าจะเห็นการชะลอตัวของการลงทุนในการก่อสร้างภาครัฐอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นปี
งบประมาณใหม่
สำหรับตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 และในครึ่งแรกของปี 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ
อเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบ
การวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 9.85 10.28 10.15 19.91 20.43
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.26
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3.05 2.61
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9.81 11.16 10.93 20.48 22.09
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.06
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11.42 7.86
รวม 19.66 21.44 21.08 40.39 42.52
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.68
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 7.22 5.27
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 : อัตราการใช้กำลังการผลิต
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
1/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 87 90.6 86.6 87.5 88.59
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.42
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.46 1.25
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 66.6 74.3 72.8 69.79 73.56
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.02
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 9.31 5.4
ตารางที่ 3 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 0.01 0.06 0.08 0.04 0.14
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 33.33
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 700 250
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 7.72 8.41 7.68 16.58 16.09
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.68
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.52 -2.96
รวม 7.73 8.47 7.76 16.62 16.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.38
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.39 -2.35
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.39 -2.35
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 : ปริมาณส่งออก
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 2.2 1.72 1.51 5.38 3.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -12.21
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -31.36 -39.96
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1.56 1.89 2.16 2.62 4.05
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.29
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 38.46 54.58
รวม 3.76 3.61 3.67 8 7.28
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.66
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -2.39 -9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 : มูลค่าการส่งออก
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 2,385.41 2,048.41 1,736.56 4,519.38 3,784.97
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -15.22
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -27.2 -16.25
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 2,182.34 2,912.13 3,275.25 3,621.52 6,187.38
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.47
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 50.08 70.85
รวม 4,567.75 4,960.54 5,011.81 8,140.90 9,972.35
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.03
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 9.72 22.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 : ปริมาณการนำเข้า
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 1.39 3.57 7.56 3.73 11.13
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 111.76
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 443.88 198.39
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 3,573.80 1,983.77 966.13 5,713.79 2,949.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -51.3
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -72.97 -48.37
รวม 3,575.19 1,987.34 973.69 5,717.52 2,961.03
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -51.01
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -72.77 -48.21
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 7 : มูลค่าการนำเข้า
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 0.07 0.06 0.2 0.11 0.27
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 233.33
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 185.71 145.45
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 22.6 19.1 17.6 47.42 36.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.85
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -22.12 -22.61
รวม 22.67 19.16 17.8 47.53 36.97
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.1
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -21.48 -22.22
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.08 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.15 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 10.93 ล้านตัน โดยการผลิตปูนซีเมนต์เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 1.68 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อ
สร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 และในช่วง
ครึ่งแรกของปี 2549 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 42.52 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่อง
จากผู้ประกอบการได้เพิ่มการผลิตเพื่อขยายการส่งออกทดแทนตลาดในประเทศ
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 86.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ลดลงร้อยละ 4.42 และ 0.46 ตามลำดับ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 72.80 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 2.02 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.31
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด คิดเป็นร้อยละ 88.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.25 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 73.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.40
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 7.76 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.08 ล้านตัน
และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.68 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 8.38 และเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.39 สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 16.23 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.35 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และในเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้
มีอุปสรรคในการก่อสร้าง ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง อีกทั้งการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้าง
ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณรวม 3.67 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,011.81 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 และ1.03 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.51 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า
1,736.56 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,275.25 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 2.39 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.72
การส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรวม 7.28 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,972.35 ล้านบาท เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 9.00 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายปูน
ซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีจำนวนรวม 973.69 ตัน คิดเป็นมูลค่า
17.80 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 7.56 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.2 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 966.13 ตัน คิด
เป็นมูลค่า 17.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 51.01 และ 7.10 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 72.77 และ 21.48 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการนำเข้ารวม 2,961.03 ตัน คิดเป็นมูลค่า 36.97 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 48.21 และ 22.22 ตามลำดับ ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัส
ซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติ
ของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุด
ยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การก่อสร้างเริ่มชะลอตัวทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลด
ลง และเมื่อพิจารณาในครึ่งแรกของปี 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตาม
ราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงเพิ่มการผลิต
เพื่อขยายการส่งออก ทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลง
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง เนื่องจากธุรกิจการก่อ
สร้างยังคงเผชิญกับปัจจัยลบที่สำคัญคือราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นได้อีก นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลายจะกระทบ
ต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชนไทยและการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งความล่าช้าในการดำเนินการโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่ของภาครัฐ คาดว่าจะเห็นการชะลอตัวของการลงทุนในการก่อสร้างภาครัฐอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นปี
งบประมาณใหม่
สำหรับตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 และในครึ่งแรกของปี 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ
อเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบ
การวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 9.85 10.28 10.15 19.91 20.43
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.26
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3.05 2.61
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9.81 11.16 10.93 20.48 22.09
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.06
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11.42 7.86
รวม 19.66 21.44 21.08 40.39 42.52
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.68
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 7.22 5.27
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 : อัตราการใช้กำลังการผลิต
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
1/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 87 90.6 86.6 87.5 88.59
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.42
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.46 1.25
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 66.6 74.3 72.8 69.79 73.56
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.02
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 9.31 5.4
ตารางที่ 3 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 0.01 0.06 0.08 0.04 0.14
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 33.33
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 700 250
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 7.72 8.41 7.68 16.58 16.09
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.68
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.52 -2.96
รวม 7.73 8.47 7.76 16.62 16.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.38
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.39 -2.35
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.39 -2.35
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 : ปริมาณส่งออก
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 2.2 1.72 1.51 5.38 3.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -12.21
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -31.36 -39.96
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1.56 1.89 2.16 2.62 4.05
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.29
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 38.46 54.58
รวม 3.76 3.61 3.67 8 7.28
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.66
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -2.39 -9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 : มูลค่าการส่งออก
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 2,385.41 2,048.41 1,736.56 4,519.38 3,784.97
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -15.22
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -27.2 -16.25
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 2,182.34 2,912.13 3,275.25 3,621.52 6,187.38
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.47
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 50.08 70.85
รวม 4,567.75 4,960.54 5,011.81 8,140.90 9,972.35
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.03
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 9.72 22.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 : ปริมาณการนำเข้า
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 1.39 3.57 7.56 3.73 11.13
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 111.76
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 443.88 198.39
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 3,573.80 1,983.77 966.13 5,713.79 2,949.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -51.3
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -72.97 -48.37
รวม 3,575.19 1,987.34 973.69 5,717.52 2,961.03
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -51.01
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -72.77 -48.21
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 7 : มูลค่าการนำเข้า
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 0.07 0.06 0.2 0.11 0.27
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 233.33
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 185.71 145.45
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 22.6 19.1 17.6 47.42 36.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.85
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -22.12 -22.61
รวม 22.67 19.16 17.8 47.53 36.97
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.1
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -21.48 -22.22
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-