กรุงเทพ--23 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และศูนย์ศึกษาความร่วมมือเอเชีย จะเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาผู้บริหารระดับสูง Asian Cooperation Dialogue (ACD) High-level Seminar on “Enhancing Financial Cooperation through Asian Bond Market Development” ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2549 ณ โรงแรม Four Seasons กรุงเทพฯ
การสัมมนาจะเป็นเวทีสำคัญที่ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากภาครัฐ เอกชน และวิชาการของประเทศสมาชิก ACD แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย อาทิ ภาพรวมพัฒนาการตลาดพันธบัตรเอเชียในกรอบต่างๆ อาทิ ASEAN+3 และ กรอบการประชุมธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค (EMEAP: Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks and Monetary Authorities) แนวทางการส่งเสริมอุปสงค์และอุปทานของพันธบัตรเอเชีย การเสริมสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน อาทิ การกำกับดูแลสำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในภูมิภาค และมุมมองของภาคเอกชนต่อการพัฒนาพันธบัตรเอเชีย อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมประเด็นพื้นฐานด้านสารัตถะสำหรับหารือในการประชุมรัฐมนตรีคลัง ACD ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปี 2549 ต่อไป
โครงการพัฒนาพันธบัตรเอเชียเป็นหนึ่งใน 19 โครงการความร่วมมือภายใต้กรอบ ACD ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก (Prime-Mover) ACD มีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงสนับสนุนทางการเมืองต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และขยายการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียให้ครอบคลุมประเทศเอเชียในวงกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียที่ได้มีการดำเนินการแล้วในกรอบอื่นๆ ได้แก่ อาเซียน+3 EMEAP และ เอเปค ซึ่งยังไม่ครอบคลุมประเทศในแถบเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
การพัฒนาพันธบัตรเอเชียถือเป็นเสาหลักหนึ่งของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของเอเชียที่แข็งแกร่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่มากในเอเชียมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของเอเชีย ซึ่งจะสามารถช่วยลดการพึ่งพาเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศและสร้างเสถียรภาพทางการเงิน อันเป็นแนวทางป้องกันเอเชีย
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในปี 2541 และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียในสาขาอื่นๆ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในอนาคต
ACD ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 โดยมีเป้าหมายในการเป็นประชาคมเอเซีย โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพและความแตกต่างหลากหลายให้เกิดประโยชน์ต่อเอเชียร่วมกัน ACD มีกลไกความร่วมมือ 2 ด้าน ได้แก่ การหารือระหว่างรัฐมนตรี ACD และโครงการความร่วมมือในสาขาต่างๆ ปัจจุบัน ACD มีสมาชิกทั้งสิ้น 28 ประเทศจากทุกภูมิภาคของเอเชีย ได้แก่ บาห์เรน บังกลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เกาหลีใต้ คูเวต ลาว มาเลเซีย พม่า โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ กาตาร์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม อิหร่าน มองโกเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย
ไทยเป็นผู้ริเริ่ม ACD และเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในโครงการความร่วมมือ 2 สาขาคือ การเงิน และการท่องเที่ยว ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสัมมนาสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.acddialogue.com
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และศูนย์ศึกษาความร่วมมือเอเชีย จะเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาผู้บริหารระดับสูง Asian Cooperation Dialogue (ACD) High-level Seminar on “Enhancing Financial Cooperation through Asian Bond Market Development” ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2549 ณ โรงแรม Four Seasons กรุงเทพฯ
การสัมมนาจะเป็นเวทีสำคัญที่ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากภาครัฐ เอกชน และวิชาการของประเทศสมาชิก ACD แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย อาทิ ภาพรวมพัฒนาการตลาดพันธบัตรเอเชียในกรอบต่างๆ อาทิ ASEAN+3 และ กรอบการประชุมธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค (EMEAP: Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks and Monetary Authorities) แนวทางการส่งเสริมอุปสงค์และอุปทานของพันธบัตรเอเชีย การเสริมสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน อาทิ การกำกับดูแลสำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในภูมิภาค และมุมมองของภาคเอกชนต่อการพัฒนาพันธบัตรเอเชีย อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมประเด็นพื้นฐานด้านสารัตถะสำหรับหารือในการประชุมรัฐมนตรีคลัง ACD ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปี 2549 ต่อไป
โครงการพัฒนาพันธบัตรเอเชียเป็นหนึ่งใน 19 โครงการความร่วมมือภายใต้กรอบ ACD ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก (Prime-Mover) ACD มีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงสนับสนุนทางการเมืองต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และขยายการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียให้ครอบคลุมประเทศเอเชียในวงกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียที่ได้มีการดำเนินการแล้วในกรอบอื่นๆ ได้แก่ อาเซียน+3 EMEAP และ เอเปค ซึ่งยังไม่ครอบคลุมประเทศในแถบเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
การพัฒนาพันธบัตรเอเชียถือเป็นเสาหลักหนึ่งของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของเอเชียที่แข็งแกร่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่มากในเอเชียมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของเอเชีย ซึ่งจะสามารถช่วยลดการพึ่งพาเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศและสร้างเสถียรภาพทางการเงิน อันเป็นแนวทางป้องกันเอเชีย
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในปี 2541 และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียในสาขาอื่นๆ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในอนาคต
ACD ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 โดยมีเป้าหมายในการเป็นประชาคมเอเซีย โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพและความแตกต่างหลากหลายให้เกิดประโยชน์ต่อเอเชียร่วมกัน ACD มีกลไกความร่วมมือ 2 ด้าน ได้แก่ การหารือระหว่างรัฐมนตรี ACD และโครงการความร่วมมือในสาขาต่างๆ ปัจจุบัน ACD มีสมาชิกทั้งสิ้น 28 ประเทศจากทุกภูมิภาคของเอเชีย ได้แก่ บาห์เรน บังกลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เกาหลีใต้ คูเวต ลาว มาเลเซีย พม่า โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ กาตาร์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม อิหร่าน มองโกเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย
ไทยเป็นผู้ริเริ่ม ACD และเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในโครงการความร่วมมือ 2 สาขาคือ การเงิน และการท่องเที่ยว ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสัมมนาสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.acddialogue.com
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-