กรุงเทพ--26 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่ทำเนียบรัฐบาล ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ตอบคำถามของผู้สี่อข่าวก่อนเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี กรณีการเดินทางไปต่างประเทศและพบผู้นำประเทศต่างๆ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในช่วงรัฐบาลรักษาการ ว่าถือเป็นการผิดมารยาททางการเมืองและการทูตหรือไม่ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศชี้แจงว่า ไม่ถือเป็นการผิดมารยาททางการเมืองอย่างแน่นอน หากเป็นการผิดมารยาท ไม่เหมาะสม หรือทำให้ผู้นำชาติอื่นๆ ไม่สบายใจก็คงจะไม่มีการตอบรับนัดหมายให้ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เข้าพบได้
การที่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ติดต่อผู้นำต่างๆ นั้นเป็นการติดต่อในฐานะเพื่อน และก็ได้รับการตอบรับในฐานะเพื่อน เนื่องจากมีความชัดเจนว่าในช่วงนี้ พ.ต.ท. ทักษิณฯ อยู่ในช่วงลาพักผ่อน (on leave of absence) ผู้นำทุกคนที่ได้รับการประสานจาก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็รับทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นการพบกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหากเขามีความรู้สึกเชิงลบ ก็มีสิทธิที่จะบอกว่าไม่ว่าง หรือไม่ให้พบได้ แต่เมื่อเขาให้พบ ก็เป็นการตัดสินใจของเขาภายใต้ข้อมูลที่ชัดเจน เนื่องจากสถานทูตของฝ่ายเขาที่อยู่ในประเทศไทยจะรายงานสถานการณ์ต่างๆ ให้ผู้นำทราบอยู่แล้ว การที่ผู้นำต่างประเทศยังยินดีพบ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ในฐานะเพื่อน แสดงให้เห็นว่าไม่มีปัญหาเรื่องมารยาทประเพณีทางการทูต การที่เขายอมพบเป็นการอธิบายในตัวของมันเองว่า ไม่มีปัญหาแน่นอน และเป็นการพบกันด้วยความโปร่งใส
ที่ผ่านมา ก็มีผู้นำหลายประเทศซึ่งอยู่ในช่วงวาระพักผ่อน และได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนตัว ก็ได้มาพบนายกรัฐมนตรี หรือพบรัฐมนตรีต่างประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้
นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศปฏิเสธว่า การเดินทางของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ครั้งนี้ มิใช่ไปเพื่อชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองไทยแก่ผู้นำต่างชาติโดยตรง แต่เป็นการไปพบกับเพื่อนเป็นส่วนตัว ถ้าเพื่อนๆ ถามเกี่ยวกับการเมืองไทย พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็คงจะอธิบายได้ แต่ไม่ใช่เป็นเจตนาที่จะไปเพื่ออธิบายเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ “การทูตแบบเพื่อน” เป็นการทูตที่เป็นมิตรมาเสริม เป็นสิ่งที่ดีสำหรับบ้านเมือง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากผู้นำสามารถสร้างความรู้สึกยอมรับทั้งในฐานะที่อยู่ในตำแหน่งและในฐานะส่วนตัว คือในฐานะเพื่อนได้ ก็จะเป็นการยอมรับที่ให้ต่อประเทศและต่อตัวบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ และไม่ได้มีผลกระทบทางลบต่อประเทศ
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ ก็ถือเป็นประเพณีที่สถานเอกอัครราชทูตของไทยประจำประเทศนั้นๆ จะต้องมาดูแลอำนวยความสะดวกผู้ใหญ่ของเราที่เดินทางไปเยือน ไม่ว่าจะไปพักผ่อนหรือไม่ก็ตาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่ทำเนียบรัฐบาล ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ตอบคำถามของผู้สี่อข่าวก่อนเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี กรณีการเดินทางไปต่างประเทศและพบผู้นำประเทศต่างๆ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในช่วงรัฐบาลรักษาการ ว่าถือเป็นการผิดมารยาททางการเมืองและการทูตหรือไม่ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศชี้แจงว่า ไม่ถือเป็นการผิดมารยาททางการเมืองอย่างแน่นอน หากเป็นการผิดมารยาท ไม่เหมาะสม หรือทำให้ผู้นำชาติอื่นๆ ไม่สบายใจก็คงจะไม่มีการตอบรับนัดหมายให้ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เข้าพบได้
การที่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ติดต่อผู้นำต่างๆ นั้นเป็นการติดต่อในฐานะเพื่อน และก็ได้รับการตอบรับในฐานะเพื่อน เนื่องจากมีความชัดเจนว่าในช่วงนี้ พ.ต.ท. ทักษิณฯ อยู่ในช่วงลาพักผ่อน (on leave of absence) ผู้นำทุกคนที่ได้รับการประสานจาก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็รับทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นการพบกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหากเขามีความรู้สึกเชิงลบ ก็มีสิทธิที่จะบอกว่าไม่ว่าง หรือไม่ให้พบได้ แต่เมื่อเขาให้พบ ก็เป็นการตัดสินใจของเขาภายใต้ข้อมูลที่ชัดเจน เนื่องจากสถานทูตของฝ่ายเขาที่อยู่ในประเทศไทยจะรายงานสถานการณ์ต่างๆ ให้ผู้นำทราบอยู่แล้ว การที่ผู้นำต่างประเทศยังยินดีพบ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ในฐานะเพื่อน แสดงให้เห็นว่าไม่มีปัญหาเรื่องมารยาทประเพณีทางการทูต การที่เขายอมพบเป็นการอธิบายในตัวของมันเองว่า ไม่มีปัญหาแน่นอน และเป็นการพบกันด้วยความโปร่งใส
ที่ผ่านมา ก็มีผู้นำหลายประเทศซึ่งอยู่ในช่วงวาระพักผ่อน และได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนตัว ก็ได้มาพบนายกรัฐมนตรี หรือพบรัฐมนตรีต่างประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้
นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศปฏิเสธว่า การเดินทางของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ครั้งนี้ มิใช่ไปเพื่อชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองไทยแก่ผู้นำต่างชาติโดยตรง แต่เป็นการไปพบกับเพื่อนเป็นส่วนตัว ถ้าเพื่อนๆ ถามเกี่ยวกับการเมืองไทย พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็คงจะอธิบายได้ แต่ไม่ใช่เป็นเจตนาที่จะไปเพื่ออธิบายเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ “การทูตแบบเพื่อน” เป็นการทูตที่เป็นมิตรมาเสริม เป็นสิ่งที่ดีสำหรับบ้านเมือง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากผู้นำสามารถสร้างความรู้สึกยอมรับทั้งในฐานะที่อยู่ในตำแหน่งและในฐานะส่วนตัว คือในฐานะเพื่อนได้ ก็จะเป็นการยอมรับที่ให้ต่อประเทศและต่อตัวบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ และไม่ได้มีผลกระทบทางลบต่อประเทศ
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ ก็ถือเป็นประเพณีที่สถานเอกอัครราชทูตของไทยประจำประเทศนั้นๆ จะต้องมาดูแลอำนวยความสะดวกผู้ใหญ่ของเราที่เดินทางไปเยือน ไม่ว่าจะไปพักผ่อนหรือไม่ก็ตาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-