สศอ.เผยอุตฯยางไทยไตรมาสที่ 2 การผลิตขยายตัวสูง ทั้งยางขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ยาง กว่าร้อยละ 65 และ 30 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชี้ยางไทยแกร่ง ตามแรงหนุนของอุตฯ ต่อเนื่อง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 พบว่าภาพรวมขยายตัวได้ดี ราคายางดิบเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 60 บาทต่อกิโลกรัมเป็น 80 บาทต่อกิโลกรัม โดยไทยยังคงรักษาสถิติการเป็นประเทศผู้ผลิตยางพาราหรือยางแปรรูปขั้นต้นในอันดับหนึ่งของโลกได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งไตรมาสที่ 2 ปี 2549 สามารถส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวม 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งเป็น ยางขั้นต้น 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 61 และผลิตภัณฑ์ยางส่งออกได้ 750 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 39 ของมูลค่าการส่งออกรวมในอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
“ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ยางแปรรูปขั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย ยางแท่ง ยางแผ่น ยางเครพ น้ำยางข้น มีมูลค่าการส่งออกรวม จำนวน 1,180 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีตลาดที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งประกอบด้วย ยางรถยนต์ต่างๆ ถุงมือยาง ยางรัดของ เป็นต้น มีมูลค่าการส่งออกรวม 750 ล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ภาวะการผลิตภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยยางแปรรูปขั้นต้น แบ่งเป็น ยางแท่ง และยางแผ่น ซึ่งในส่วนของยางแท่งผลิตได้ จำนวน 22,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ขณะที่ยางแผ่นผลิตได้จำนวน 60,000 ตัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวได้ดี
ส่วนผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ส่วนใหญ่มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันยางแปรรูปขั้นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญๆ ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร มีการผลิตจำนวน 1,180,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ยางนอกรถปิคอัพ ผลิตได้จำนวน 1,400,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ยางนอกรถจักรยานยนต์ ผลิตได้จำนวน 5,600,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เนื่องจากมีการผลิตและการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถปิคอัพขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) โดยคาดว่าในปี 2549 จะมีปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 1.28 ล้านคัน และรถจักรยานยนต์ 2.40 ล้านคัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่งมีการผลิตจำนวน 3,060,000 เส้น ลดลงร้อยละ 4 ถุงมือยางมีการผลิตจำนวน 2,240,000,000 ชิ้น ลดลงร้อยละ 15 ซึ่งเป็นผลมาจากยางดิบมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นผู้ประกอบการจึงลดกำลังการผลิตลง รวมทั้งผู้ประกอบการบางรายต้องปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ปริมาณการกรีดน้ำยางออกสู่ตลาดน้อยลง ตลอดจนความผิดปกติของสภาพอากาศที่ปรวนแปรส่งผลให้เกษตรกรกรีดยางได้น้อยลงด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 3 ตลอดจนถึงสิ้นปี 2549 ว่า ราคาน้ำยางพาราดิบและยางแปรรูปขั้นต้นมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากภาวะราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์ยางมีต้นทุนลดลงไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวเพื่อเตรียมรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นโดยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และควรบริหารจัดการต้นทุนด้วยการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยไม่ผลิตสินค้าเพื่อทำการ สต๊อกไว้มากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการแบกรับภาระต้นทุนที่อาจจะสูงขึ้นอีกจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่ง สศอ.จะได้นำปัญหาเหล่านี้เข้าไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบให้ได้เตรียมการวางแผนแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 พบว่าภาพรวมขยายตัวได้ดี ราคายางดิบเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 60 บาทต่อกิโลกรัมเป็น 80 บาทต่อกิโลกรัม โดยไทยยังคงรักษาสถิติการเป็นประเทศผู้ผลิตยางพาราหรือยางแปรรูปขั้นต้นในอันดับหนึ่งของโลกได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งไตรมาสที่ 2 ปี 2549 สามารถส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางรวม 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งเป็น ยางขั้นต้น 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 61 และผลิตภัณฑ์ยางส่งออกได้ 750 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 39 ของมูลค่าการส่งออกรวมในอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
“ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ยางแปรรูปขั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย ยางแท่ง ยางแผ่น ยางเครพ น้ำยางข้น มีมูลค่าการส่งออกรวม จำนวน 1,180 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีตลาดที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งประกอบด้วย ยางรถยนต์ต่างๆ ถุงมือยาง ยางรัดของ เป็นต้น มีมูลค่าการส่งออกรวม 750 ล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ภาวะการผลิตภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยยางแปรรูปขั้นต้น แบ่งเป็น ยางแท่ง และยางแผ่น ซึ่งในส่วนของยางแท่งผลิตได้ จำนวน 22,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ขณะที่ยางแผ่นผลิตได้จำนวน 60,000 ตัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวได้ดี
ส่วนผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ส่วนใหญ่มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันยางแปรรูปขั้นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญๆ ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร มีการผลิตจำนวน 1,180,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ยางนอกรถปิคอัพ ผลิตได้จำนวน 1,400,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ยางนอกรถจักรยานยนต์ ผลิตได้จำนวน 5,600,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เนื่องจากมีการผลิตและการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถปิคอัพขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) โดยคาดว่าในปี 2549 จะมีปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 1.28 ล้านคัน และรถจักรยานยนต์ 2.40 ล้านคัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่งมีการผลิตจำนวน 3,060,000 เส้น ลดลงร้อยละ 4 ถุงมือยางมีการผลิตจำนวน 2,240,000,000 ชิ้น ลดลงร้อยละ 15 ซึ่งเป็นผลมาจากยางดิบมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นผู้ประกอบการจึงลดกำลังการผลิตลง รวมทั้งผู้ประกอบการบางรายต้องปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ปริมาณการกรีดน้ำยางออกสู่ตลาดน้อยลง ตลอดจนความผิดปกติของสภาพอากาศที่ปรวนแปรส่งผลให้เกษตรกรกรีดยางได้น้อยลงด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 3 ตลอดจนถึงสิ้นปี 2549 ว่า ราคาน้ำยางพาราดิบและยางแปรรูปขั้นต้นมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากภาวะราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์ยางมีต้นทุนลดลงไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวเพื่อเตรียมรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นโดยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และควรบริหารจัดการต้นทุนด้วยการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยไม่ผลิตสินค้าเพื่อทำการ สต๊อกไว้มากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการแบกรับภาระต้นทุนที่อาจจะสูงขึ้นอีกจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่ง สศอ.จะได้นำปัญหาเหล่านี้เข้าไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบให้ได้เตรียมการวางแผนแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-