เกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา ตำบลตะแบก หันปลูกเห็ดฟาง เพราะต้นทุนต่ำ ไม่ถึง 15 บาท แต่ขายส่งฟาร์มได้ กก.ละ 40 - 50 บาท ขึ้นอยู่กับเกรดและคุณภาพ ช่วยเพิ่มรายได้เป็นอย่างดี
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สภาพทั่วไปของทุกๆ ปี ในช่วงฤดูฝน จะเห็นว่าประชาชนหรือเกษตรกรจะพากันหาเห็ดป่าจำนวนมากมาปรุงอาหารรับประทาน เห็ดป่ามีหลากหลายสายพันธุ์ชนิด บางชนิดรับประทานแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่บางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็ดป่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน และป่าหวงห้ามของทางราชการ
ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร เพราะนอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ยังจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย และวัสดุที่ใช้ในการผลิตเห็ดฟางเป็นวัสดุที่มีราคาต่ำ เช่น กากมันสำปะหลัง หรือเปลือกมันสำปะหลังที่เหลือใช้จากโรงงาน เปลือกถั่วเขียว ถั่วเหลือง เศษฟาง และเศษที่เหลือใช้จากผลิตภัณฑ์พืชต่างๆ เห็ดฟางจะมีความเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 28 - 37 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูง โดยเห็ดจะเริ่มออกดอกประมาณ 10 - 20 วัน ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 10 - 15 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ราคาที่เกษตรกรขายส่งที่ฟาร์มประมาณกิโลกรัมละ 40 - 50 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกรดของขนาด และคุณภาพของเห็ดฟาง
จังหวัดนครราชสีมานั้น อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลตะแบกบาน อำเภอครบุรี ได้มีการเพาะเห็ดฟางเป็นจำนวนมากและทำให้เกษตรกรตำบลนี้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้หลักเป็นอย่างดี สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจในการเพาะเห็ดฟาง สามารถติดต่อได้กับนายสถาพร อ่ำกลาง ประธานชมรมผู้เพาะเห็ดฟาง หมู่ที่ 4 บ้านหนองตะแบก ตำบลตะแบกบาน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 0 - 9847 - 1835 ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดการผลิตและทักษะในการผลิตเห็ดฟางได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สภาพทั่วไปของทุกๆ ปี ในช่วงฤดูฝน จะเห็นว่าประชาชนหรือเกษตรกรจะพากันหาเห็ดป่าจำนวนมากมาปรุงอาหารรับประทาน เห็ดป่ามีหลากหลายสายพันธุ์ชนิด บางชนิดรับประทานแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่บางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็ดป่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน และป่าหวงห้ามของทางราชการ
ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร เพราะนอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ยังจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย และวัสดุที่ใช้ในการผลิตเห็ดฟางเป็นวัสดุที่มีราคาต่ำ เช่น กากมันสำปะหลัง หรือเปลือกมันสำปะหลังที่เหลือใช้จากโรงงาน เปลือกถั่วเขียว ถั่วเหลือง เศษฟาง และเศษที่เหลือใช้จากผลิตภัณฑ์พืชต่างๆ เห็ดฟางจะมีความเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 28 - 37 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูง โดยเห็ดจะเริ่มออกดอกประมาณ 10 - 20 วัน ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 10 - 15 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ราคาที่เกษตรกรขายส่งที่ฟาร์มประมาณกิโลกรัมละ 40 - 50 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกรดของขนาด และคุณภาพของเห็ดฟาง
จังหวัดนครราชสีมานั้น อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลตะแบกบาน อำเภอครบุรี ได้มีการเพาะเห็ดฟางเป็นจำนวนมากและทำให้เกษตรกรตำบลนี้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้หลักเป็นอย่างดี สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจในการเพาะเห็ดฟาง สามารถติดต่อได้กับนายสถาพร อ่ำกลาง ประธานชมรมผู้เพาะเห็ดฟาง หมู่ที่ 4 บ้านหนองตะแบก ตำบลตะแบกบาน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 0 - 9847 - 1835 ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดการผลิตและทักษะในการผลิตเห็ดฟางได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-