“พืชสวนโลก” จบอย่างไรให้สวย
นริศ ขำนุรักษ์ อดีต ส.ส.พัทลุง
คณะทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรคประชาธิปัตย์
(1)ระยะเริ่มต้นโครงการ
มีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการพืชสวนโลกหรืองานราชพฤกษ์ 2549 ทั้งจากคนเชียงใหม่และทั่วไป นักวิชาการ ตลอดจนฝ่ายการเมืองซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกสภาอย่างกว้างขวาง ในหลายแง่มุมทำให้การเริ่มต้นโครงการไม่สวยงามมากนัก เช่น
1) มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าโครงการดังกล่าวใช้งบกลางที่เก็บซุกไว้ให้อยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการ ซึ่งงบกลางในสมัยรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ท.ต. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั้นเขียนไว้กว้างๆไม่มีรายละเอียดใน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่สภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบฯไม่อาจตรวจสอบได้ ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ปรากฏหลายโครงการในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว จนยอดงบกลางพุ่งขึ้นร่วม 2 แสนล้านหรือ 3 เท่าของรัฐบาลก่อนอันนำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยและพบการทุจริตในการใช้งบประมาณในที่สุด
2) มีข่าวคราวการใช้วงเงินก้อนมหึมาร่วม 1,500 ล้านบาท เพื่อโครงการนี้และมีงบ
ประมาณเพิ่มเติมในโครงสร้างอื่นๆรองรับความสมบูรณ์ของโครงการดังกล่าวอีกจำนวนเงินร่วม 5,000 ล้านบาท มีการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่อทุจริตเพราะได้ผู้รับเหมาเป็นเครือญาตินักการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งสิ้น จนคนระดับ ศ. ระพี สาคริก ซึ่งเป็นบิดาแห่งวงการเกษตรถึงกับทนไม่ได้ จึงเรียกร้องและให้ดำเนินการตรวจสอบเอาผิด แต่รัฐบาลชุดแล้วกลับนิ่งเฉยเพราะถ้าลูบหน้าก็กลัวปะจมูก
3) มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในที่ตั้งโครงการในทางวิชาการด้านนิเวศวิทยาอย่างกว้างขวาง เพราะพื้นที่โครงการอยู่ในและติดกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่อ่อนไหวง่ายต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งจากพืชพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาแสดงและสัตว์ที่ติดเข้ามา โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบที่ดีพอเพราะใช้เอกสิทธิในการนำเข้าและไม่มีระบบป้องกันการแพร่กระจายทั้งพันธุ์พืชและจำพวกสัตว์ดังกล่าวที่ติดมาอย่างจริงจังและเชื่อถือได้ ในอนาคตอาจเกิดสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศของประเทศได้ เช่นเดียวกับผักตบชวา หญ้าขจรจบ หรือหอยเชอรี่ หรือเกิดความไม่เชื่อถือในการนำสินค้าจำพวกพืชหรือสัตว์ออกต่างประเทศขึ้นได้ในอนาคต
4) มีการวิพากษ์วิจารณ์การเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นที่ตั้งโครงการว่าเลือกเหตุผลในทางการเมืองเป็นหลักไม่ใช่เหตุผลอื่นใดเลย เพราะรอบที่ประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นเจ้าภาพนี้ ควรจะเน้นพืชพันธุ์แบบป่าชื้นเขตร้อนมากกว่าพืชเมืองหนาว จังหวัดที่เหมาะสมจึงต้องเป็นจังหวัดใกล้เส้นศูนย์สูตรที่สุดและไม่มีป่าอนุรักษ์ เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร หรือภาคใต้ทุกจังหวัด แต่ที่จัดแสดงต้องห่างจากป่าอนุรักษ์ แต่ด้วยความคิดต้องให้หรือพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรครัฐบาลก่อนของผู้นำรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ไม่มีที่ใดเหมาะสมเท่ากับจังหวัดเชียงใหม่
(2) ระยะการจัดงาน
มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในหลายแง่มุม เช่น
1)พันธุ์ไม้ที่จัดแสดงน้อยและธรรมดาไปสำหรับงานระดับโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดงานครั้งก่อนๆ และไม่เน้นการสื่อความหมายให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน
2)การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าชมที่ไปจากแรงโฆษณาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไทยที่ชอบและต้องไปดูให้ได้เพราะมีคำว่า โลก อยู่ด้วย เช่น ใหญ่ ยาว เล็ก หนักที่สุดในโลก
3)ไม่ใช้กระแสการจัดงานครั้งนี้ให้เด็ก คนทั่วไป ชุมชน สถาบันการศึกษา ส่วนราชการ และภาคเอกชนให้ความสนใจ สร้างสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของต้นไม้ ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
4)ทำให้เมืองเชียงใหม่ถดถอยจุดเด่นของเมืองลงไปเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยความเป็น
จริงเชียงใหม่ควรเป็นวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งก็เพียงพอสำหรับเป็นจุดขายของเมืองนี้อยู่แล้ว ทำให้ดูเสมือนเชียงใหม่ถูกยัดเยียดให้เป็นทุกอย่าง ซึ่งควรกระจายจุดเด่นออกไป เช่น เชียงรายเป็นวัฒนธรรมชนเผ่า แม่ฮ่องสอนเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือด้านสัตว์ควรอยู่ที่ลำพูน ลำปางหรือแพร่
(3)สิ้นสุดโครงการนี้อย่างไรให้สวย
แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการดังกล่าวนี้ทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะดำเนินงานตามที่กล่าวแล้ว แต่ข้อดีของโครงการดังกล่าวก็มีอยู่ไม่น้อยเลยการเก็บรักษาโครงการนี้จึงเป็นความจำเป็นที่จังหวัดเชียงใหม่และรัฐบาลต้องช่วยคนเชียงใหม่ให้สามารถเก็บรักษาสิ่งยิ่งใหญ่นี้ไว้เพื่อลูกหลานได้ชมได้เรียนรู้ต่อไป กระผมจึงเสนอว่าไม่ควรจัดหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแล และเพื่อให้จบให้สวยควรให้หน่วยงานหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วร่วม 10 ปีจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ คือศูนย์รวบรวมพันธุกรรมไม้ดอกไม้ประดับในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแห่งแรกจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส ทรงมอบภารกิจในการเก็บรวบรวมและแสดงพันธุ์ไม้มีค่าและหายาก และแห่งที่สองควรจัดตั้งให้เข้ามาดูแลพืชสวนโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชดำริและภารกิจดังกล่าว
เป็นการประกาศเกียติยศแห่งความคิดที่ยิ่งใหญ่และกว้างไกลของสมเด็จพระเทพฯเจ้าฟ้านักอนุรักษ์แห่งประเทศไทย
**********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--
นริศ ขำนุรักษ์ อดีต ส.ส.พัทลุง
คณะทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรคประชาธิปัตย์
(1)ระยะเริ่มต้นโครงการ
มีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการพืชสวนโลกหรืองานราชพฤกษ์ 2549 ทั้งจากคนเชียงใหม่และทั่วไป นักวิชาการ ตลอดจนฝ่ายการเมืองซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกสภาอย่างกว้างขวาง ในหลายแง่มุมทำให้การเริ่มต้นโครงการไม่สวยงามมากนัก เช่น
1) มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าโครงการดังกล่าวใช้งบกลางที่เก็บซุกไว้ให้อยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการ ซึ่งงบกลางในสมัยรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ท.ต. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั้นเขียนไว้กว้างๆไม่มีรายละเอียดใน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่สภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบฯไม่อาจตรวจสอบได้ ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ปรากฏหลายโครงการในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว จนยอดงบกลางพุ่งขึ้นร่วม 2 แสนล้านหรือ 3 เท่าของรัฐบาลก่อนอันนำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยและพบการทุจริตในการใช้งบประมาณในที่สุด
2) มีข่าวคราวการใช้วงเงินก้อนมหึมาร่วม 1,500 ล้านบาท เพื่อโครงการนี้และมีงบ
ประมาณเพิ่มเติมในโครงสร้างอื่นๆรองรับความสมบูรณ์ของโครงการดังกล่าวอีกจำนวนเงินร่วม 5,000 ล้านบาท มีการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่อทุจริตเพราะได้ผู้รับเหมาเป็นเครือญาตินักการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งสิ้น จนคนระดับ ศ. ระพี สาคริก ซึ่งเป็นบิดาแห่งวงการเกษตรถึงกับทนไม่ได้ จึงเรียกร้องและให้ดำเนินการตรวจสอบเอาผิด แต่รัฐบาลชุดแล้วกลับนิ่งเฉยเพราะถ้าลูบหน้าก็กลัวปะจมูก
3) มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในที่ตั้งโครงการในทางวิชาการด้านนิเวศวิทยาอย่างกว้างขวาง เพราะพื้นที่โครงการอยู่ในและติดกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่อ่อนไหวง่ายต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งจากพืชพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาแสดงและสัตว์ที่ติดเข้ามา โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบที่ดีพอเพราะใช้เอกสิทธิในการนำเข้าและไม่มีระบบป้องกันการแพร่กระจายทั้งพันธุ์พืชและจำพวกสัตว์ดังกล่าวที่ติดมาอย่างจริงจังและเชื่อถือได้ ในอนาคตอาจเกิดสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศของประเทศได้ เช่นเดียวกับผักตบชวา หญ้าขจรจบ หรือหอยเชอรี่ หรือเกิดความไม่เชื่อถือในการนำสินค้าจำพวกพืชหรือสัตว์ออกต่างประเทศขึ้นได้ในอนาคต
4) มีการวิพากษ์วิจารณ์การเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นที่ตั้งโครงการว่าเลือกเหตุผลในทางการเมืองเป็นหลักไม่ใช่เหตุผลอื่นใดเลย เพราะรอบที่ประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นเจ้าภาพนี้ ควรจะเน้นพืชพันธุ์แบบป่าชื้นเขตร้อนมากกว่าพืชเมืองหนาว จังหวัดที่เหมาะสมจึงต้องเป็นจังหวัดใกล้เส้นศูนย์สูตรที่สุดและไม่มีป่าอนุรักษ์ เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร หรือภาคใต้ทุกจังหวัด แต่ที่จัดแสดงต้องห่างจากป่าอนุรักษ์ แต่ด้วยความคิดต้องให้หรือพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรครัฐบาลก่อนของผู้นำรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ไม่มีที่ใดเหมาะสมเท่ากับจังหวัดเชียงใหม่
(2) ระยะการจัดงาน
มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในหลายแง่มุม เช่น
1)พันธุ์ไม้ที่จัดแสดงน้อยและธรรมดาไปสำหรับงานระดับโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดงานครั้งก่อนๆ และไม่เน้นการสื่อความหมายให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน
2)การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าชมที่ไปจากแรงโฆษณาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไทยที่ชอบและต้องไปดูให้ได้เพราะมีคำว่า โลก อยู่ด้วย เช่น ใหญ่ ยาว เล็ก หนักที่สุดในโลก
3)ไม่ใช้กระแสการจัดงานครั้งนี้ให้เด็ก คนทั่วไป ชุมชน สถาบันการศึกษา ส่วนราชการ และภาคเอกชนให้ความสนใจ สร้างสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของต้นไม้ ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
4)ทำให้เมืองเชียงใหม่ถดถอยจุดเด่นของเมืองลงไปเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยความเป็น
จริงเชียงใหม่ควรเป็นวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งก็เพียงพอสำหรับเป็นจุดขายของเมืองนี้อยู่แล้ว ทำให้ดูเสมือนเชียงใหม่ถูกยัดเยียดให้เป็นทุกอย่าง ซึ่งควรกระจายจุดเด่นออกไป เช่น เชียงรายเป็นวัฒนธรรมชนเผ่า แม่ฮ่องสอนเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือด้านสัตว์ควรอยู่ที่ลำพูน ลำปางหรือแพร่
(3)สิ้นสุดโครงการนี้อย่างไรให้สวย
แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการดังกล่าวนี้ทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะดำเนินงานตามที่กล่าวแล้ว แต่ข้อดีของโครงการดังกล่าวก็มีอยู่ไม่น้อยเลยการเก็บรักษาโครงการนี้จึงเป็นความจำเป็นที่จังหวัดเชียงใหม่และรัฐบาลต้องช่วยคนเชียงใหม่ให้สามารถเก็บรักษาสิ่งยิ่งใหญ่นี้ไว้เพื่อลูกหลานได้ชมได้เรียนรู้ต่อไป กระผมจึงเสนอว่าไม่ควรจัดหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแล และเพื่อให้จบให้สวยควรให้หน่วยงานหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วร่วม 10 ปีจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ คือศูนย์รวบรวมพันธุกรรมไม้ดอกไม้ประดับในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแห่งแรกจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส ทรงมอบภารกิจในการเก็บรวบรวมและแสดงพันธุ์ไม้มีค่าและหายาก และแห่งที่สองควรจัดตั้งให้เข้ามาดูแลพืชสวนโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชดำริและภารกิจดังกล่าว
เป็นการประกาศเกียติยศแห่งความคิดที่ยิ่งใหญ่และกว้างไกลของสมเด็จพระเทพฯเจ้าฟ้านักอนุรักษ์แห่งประเทศไทย
**********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--