สมาชิก WTO ขีดเส้นการเจราจาสินค้าเกษตรต้องได้ผลตามที่ตกลงภายในเดือนเมษายน โดยกำหนดการเจรจาอีก 3 รอบ ด้าน สศก. เตรียมพร้อมจับมือกระทรวงพาณิชย์และคณะผู้แทนถาวรไทย ฟิตซ้อมท่าทีตอบคำถาม เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ภาคเกษตรมากที่สุด
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากผลการประชุมรัฐมนตรีประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) จำนวน 149 ประเทศ ณ ประเทศฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2548 ประเทศสมาชิกตกลงที่จะยกเลิกการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรทุกรูปแบบภายในปี พ.ศ.2556 นอกจากนี้ ยังให้มีการเจรจาเรื่องเกษตรในส่วนที่ยังหาข้อตกลงกันไม่ได้โดยคณะกรรมการการเกษตรสมัยพิเศษของ WTO ณ สำนักงานองค์การการค้าโลก กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเวทีสำหรับการเจรจาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสินค้าเกษตรของการเจรจาระบบพหุภาคีรอบโดฮา เมื่อวันที่ 23-27 มกราคม 2549 มีผลสรุปได้ว่า ประเทศสมาชิก WTO ยืนยันที่จะให้การเจรจารูปแบบข้อผูกพัน (Modallities) เรื่องสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงภายในเดือนเมษายน 2549 โดยกำหนดให้มีการเจรจาในเรื่องนี้อีก 3 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายนนี้
สำหรับเนื้อหาการเจรจารูปแบบข้อผูกพันจะครอบคลุมใน 3 เรื่องหลักด้านเกษตรที่ยังตกลงกันไม่ได้ อาทิ เรื่องการเปิดตลาด ประกอบด้วย วิธีการลดภาษีสินค้าทั่วไป การกำหนดและข้อผูกพันสินค้าอ่อนไหว เรื่องการลดการอุดหนุนภายใน ประกอบด้วย ระดับของของการลดการอุดหนุนภายในประเทศสมาชิกและการกำหนดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเรื่องการเลิกการอุดหนุนส่งออก ประกอบด้วย การกำหนดกฎระเบียบในด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกและการช่วยเหลือด้านอาหาร (Food Aid) เป็นต้น
นางอัญชลีกล่าวต่ออีกว่า เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาสำหรับการเจรจา รูปแบบดังกล่าวคงต้องเป็นไปในลักษณะการถาม-ตอบในเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประธานคณะกรรมการฯ และประเทศสมาชิก เพื่อให้ได้ร่างรูปแบบข้อผูกพันทันตามเวลาที่กำหนด ดังนั้น การตอบคำถามของประเทศไทยจึงมีความสำคัญที่จะมีส่วนผลักดันให้ท่าทีปรากฏในรูปแบบข้อผูกพัน ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะหน่วยงานกลางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเจรจาเกษตรภายใต้ WTO จะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และคณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO พิจารณาจัดเตรียมท่าทีของไทยเพื่อตอบคำถามของประธานคณะกรรมการฯ เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ภาคเกษตรไทยให้มากที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากผลการประชุมรัฐมนตรีประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) จำนวน 149 ประเทศ ณ ประเทศฮ่องกง ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2548 ประเทศสมาชิกตกลงที่จะยกเลิกการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรทุกรูปแบบภายในปี พ.ศ.2556 นอกจากนี้ ยังให้มีการเจรจาเรื่องเกษตรในส่วนที่ยังหาข้อตกลงกันไม่ได้โดยคณะกรรมการการเกษตรสมัยพิเศษของ WTO ณ สำนักงานองค์การการค้าโลก กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเวทีสำหรับการเจรจาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสินค้าเกษตรของการเจรจาระบบพหุภาคีรอบโดฮา เมื่อวันที่ 23-27 มกราคม 2549 มีผลสรุปได้ว่า ประเทศสมาชิก WTO ยืนยันที่จะให้การเจรจารูปแบบข้อผูกพัน (Modallities) เรื่องสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงภายในเดือนเมษายน 2549 โดยกำหนดให้มีการเจรจาในเรื่องนี้อีก 3 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายนนี้
สำหรับเนื้อหาการเจรจารูปแบบข้อผูกพันจะครอบคลุมใน 3 เรื่องหลักด้านเกษตรที่ยังตกลงกันไม่ได้ อาทิ เรื่องการเปิดตลาด ประกอบด้วย วิธีการลดภาษีสินค้าทั่วไป การกำหนดและข้อผูกพันสินค้าอ่อนไหว เรื่องการลดการอุดหนุนภายใน ประกอบด้วย ระดับของของการลดการอุดหนุนภายในประเทศสมาชิกและการกำหนดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเรื่องการเลิกการอุดหนุนส่งออก ประกอบด้วย การกำหนดกฎระเบียบในด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกและการช่วยเหลือด้านอาหาร (Food Aid) เป็นต้น
นางอัญชลีกล่าวต่ออีกว่า เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาสำหรับการเจรจา รูปแบบดังกล่าวคงต้องเป็นไปในลักษณะการถาม-ตอบในเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประธานคณะกรรมการฯ และประเทศสมาชิก เพื่อให้ได้ร่างรูปแบบข้อผูกพันทันตามเวลาที่กำหนด ดังนั้น การตอบคำถามของประเทศไทยจึงมีความสำคัญที่จะมีส่วนผลักดันให้ท่าทีปรากฏในรูปแบบข้อผูกพัน ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะหน่วยงานกลางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเจรจาเกษตรภายใต้ WTO จะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และคณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO พิจารณาจัดเตรียมท่าทีของไทยเพื่อตอบคำถามของประธานคณะกรรมการฯ เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ภาคเกษตรไทยให้มากที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-