สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 เผยจากสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมเกือบทุกจังหวัดในเขตภาคใต้ ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะยางพารา เส้นเลือดใหญ่เลี้ยงชีวิตเกษตรกร ซ้ำพบเชื้อราไฟทอปเทอร์ร่าตัวการทำลายยางปลูกใหม่เสียหายจำนวนมาก
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน — ปลายเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอุทกภัยเกือบทุกพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสงขลา, ตรัง, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส เป็นพื้นที่กว้างและได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจอย่างยางพารา ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของเกษตรกร นอกจากจะได้รับผลกระทบโดยตรงต่อรายได้อันเนื่องมาจากอุปสรรคของจำนวนวันกรีดน้ำยางที่ลดน้อยลง ซึ่งแทบจะกรีดไม่ได้เลยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ชาวสวนยางพารายังได้รับผลกระทบเสียหายเพิ่มขึ้นอีก คือ ยางพาราปลูกใหม่ที่อายุยังน้อย ในพื้นที่ลุ่มล้มตายจากน้ำท่วม ถึงแม้น้ำจะไม่ท่วมในพื้นที่ดอน ยางพาราขนาดเล็กก็ได้รับความเสียหายจากเชื้อราไฟทอปเทอร์ร่า เนื่องจากพื้นที่ชุ่มน้ำแสงแดดไม่เพียงพอ เชื้อราไฟทอปเทอร์ร่าจึงระบาดลุกลามเกือบทุกพื้นที่ ทำให้ยางพาราปลูกใหม่ตายเป็นจำนวนมาก
สำหรับยางพาราขนาดใหญ่รวมทั้งยางพาราที่เปิดกรีดแล้วก็ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน โดยเชื้อราดังกล่าวมีลักษณะของโรคสังเกตได้ คือ ใบของยางพาราร่วงหล่นและต้นแห้ง มีลักษณะคล้าย ๆ จะผลัดใบหรือยืนต้นตายกระจายทั่วทุกพื้นที่ จะสังเกตเห็นต้นยางพารามีแต่กิ่งก้านแต่ไม่มีใบร่วงหล่นหมดทั้งต้น โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงหรือพื้นที่ราบซึ่งเป็นพื้นที่ไม่สามารถระบายน้ำได้ ทำให้ต้นยางพาราเป็นเชื้อราทำให้ใบยางพาราร่วงหล่น 30 — 70 % ซึ่งทำให้ต้นยางพาราทรุดโทรม ผลผลิตลดลง 10 — 20 % ในพื้นที่ สศข.9 เช่น เขตอำเภอนาทวี/รัตภูมิ จังหวัดสงขลา, อำเภอกงหรา/ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง, อำเภอละงู/ควนกาหลง จังหวัดสตูล, อำเภอปะเหลียน/ย่านตาขาว/ห้วยยอด จังหวัดตรัง ฯลฯ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะยังไม่เห็นความแตกต่างของผลผลิตมากนัก เพราะช่วงเดือนธันวาคม — กุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่ยางพาราให้ผลผลิตสูงสุดในรอบปี
สำหรับวิธีลดความเสียหายจากเชื้อราไฟทอปเทอร์ร่า เกษตรกรควรหยุดกรีดในช่วงนี้ จนกว่าพื้นดินระบายน้ำจะแห้ง มีแสงแดดเพียงพอเชื้อราก็จะลดการระบาดลง หากเกษตรกรยังคงกรีดขณะที่หน้ายางเปียกชื้น จะทำให้เชื้อราลุกลามเข้าทำลายเปลือกยางจนถึงเนื้อไม้ยางพารา และทำให้หน้ายางตายแห้ง เมื่อกรีดจะไม่มีน้ำยาง ต้องปล่อยทิ้งเป็นปี ๆ เพื่อให้หน้ายางฟื้นตัวจึงจะสามารถกรีดใหม่ได้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน — ปลายเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอุทกภัยเกือบทุกพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสงขลา, ตรัง, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส เป็นพื้นที่กว้างและได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจอย่างยางพารา ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของเกษตรกร นอกจากจะได้รับผลกระทบโดยตรงต่อรายได้อันเนื่องมาจากอุปสรรคของจำนวนวันกรีดน้ำยางที่ลดน้อยลง ซึ่งแทบจะกรีดไม่ได้เลยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ชาวสวนยางพารายังได้รับผลกระทบเสียหายเพิ่มขึ้นอีก คือ ยางพาราปลูกใหม่ที่อายุยังน้อย ในพื้นที่ลุ่มล้มตายจากน้ำท่วม ถึงแม้น้ำจะไม่ท่วมในพื้นที่ดอน ยางพาราขนาดเล็กก็ได้รับความเสียหายจากเชื้อราไฟทอปเทอร์ร่า เนื่องจากพื้นที่ชุ่มน้ำแสงแดดไม่เพียงพอ เชื้อราไฟทอปเทอร์ร่าจึงระบาดลุกลามเกือบทุกพื้นที่ ทำให้ยางพาราปลูกใหม่ตายเป็นจำนวนมาก
สำหรับยางพาราขนาดใหญ่รวมทั้งยางพาราที่เปิดกรีดแล้วก็ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน โดยเชื้อราดังกล่าวมีลักษณะของโรคสังเกตได้ คือ ใบของยางพาราร่วงหล่นและต้นแห้ง มีลักษณะคล้าย ๆ จะผลัดใบหรือยืนต้นตายกระจายทั่วทุกพื้นที่ จะสังเกตเห็นต้นยางพารามีแต่กิ่งก้านแต่ไม่มีใบร่วงหล่นหมดทั้งต้น โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงหรือพื้นที่ราบซึ่งเป็นพื้นที่ไม่สามารถระบายน้ำได้ ทำให้ต้นยางพาราเป็นเชื้อราทำให้ใบยางพาราร่วงหล่น 30 — 70 % ซึ่งทำให้ต้นยางพาราทรุดโทรม ผลผลิตลดลง 10 — 20 % ในพื้นที่ สศข.9 เช่น เขตอำเภอนาทวี/รัตภูมิ จังหวัดสงขลา, อำเภอกงหรา/ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง, อำเภอละงู/ควนกาหลง จังหวัดสตูล, อำเภอปะเหลียน/ย่านตาขาว/ห้วยยอด จังหวัดตรัง ฯลฯ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะยังไม่เห็นความแตกต่างของผลผลิตมากนัก เพราะช่วงเดือนธันวาคม — กุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่ยางพาราให้ผลผลิตสูงสุดในรอบปี
สำหรับวิธีลดความเสียหายจากเชื้อราไฟทอปเทอร์ร่า เกษตรกรควรหยุดกรีดในช่วงนี้ จนกว่าพื้นดินระบายน้ำจะแห้ง มีแสงแดดเพียงพอเชื้อราก็จะลดการระบาดลง หากเกษตรกรยังคงกรีดขณะที่หน้ายางเปียกชื้น จะทำให้เชื้อราลุกลามเข้าทำลายเปลือกยางจนถึงเนื้อไม้ยางพารา และทำให้หน้ายางตายแห้ง เมื่อกรีดจะไม่มีน้ำยาง ต้องปล่อยทิ้งเป็นปี ๆ เพื่อให้หน้ายางฟื้นตัวจึงจะสามารถกรีดใหม่ได้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-