นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า หลังจากที่ The Canadian Trade Tribunal (CITT) ได้เปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการปกป้องการนำเข้า (Safeguard) กับสินค้าจักรยานจากทุกประเทศรวมทั้งไทยตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งผู้ส่งออกและภาครัฐของไทยได้ต่อสู้ร่วมกัน
โดยการแจ้งข้อมูลและชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม CITT ได้ประกาศผลพิจารณาขั้นสุดท้ายเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2548 ว่าการนำเข้าสินค้าจักรยานก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายใน และกำหนดว่าจะจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่ง CITTได้ส่งผลพิจารณาดังกล่าวให้รัฐบาลแคนาดาเห็นชอบในการบังคับใช้ตามขั้นตอนกฎหมายของแคนาดา ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 แคนาดาประกาศไม่บังคับใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการบังคับใช้มาตรการ Safeguard ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว และเห็นว่าการกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจะทำให้จักรยานในแคนาดามีราคาแพงขึ้นอันเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคสินค้า
ทั้งนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ำเตือนผู้ผลิต/ผู้ส่งออกจักรยานไทยให้ความสำคัญกับการกำหนดปริมาณและราคาส่งออกที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ Safeguard และ/หรือมาตรการใด ๆ ในอนาคตการส่งออกสินค้าจักรยานทุกประเภทของไทยในช่วงปี 2546-2548 มีปริมาณเฉลี่ยปีละ
1.6 ล้านคัน มูลค่าปีละประมาณ 1,160 ล้านบาท โดยแคนาดาเป็นตลาดส่งออกในอันดับที่ 5 รองจาก ลาว สหราชอาณาจักร กัมพูชา และเยอรมนี คาดว่าหากแคนาดาไม่บังคับใช้มาตรการดังกล่าวจะทำให้การส่งออกสินค้าจักรยานของไทยไปแคนาดามีแนวโน้มที่ดีขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
โดยการแจ้งข้อมูลและชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม CITT ได้ประกาศผลพิจารณาขั้นสุดท้ายเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2548 ว่าการนำเข้าสินค้าจักรยานก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายใน และกำหนดว่าจะจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่ง CITTได้ส่งผลพิจารณาดังกล่าวให้รัฐบาลแคนาดาเห็นชอบในการบังคับใช้ตามขั้นตอนกฎหมายของแคนาดา ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 แคนาดาประกาศไม่บังคับใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการบังคับใช้มาตรการ Safeguard ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว และเห็นว่าการกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจะทำให้จักรยานในแคนาดามีราคาแพงขึ้นอันเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคสินค้า
ทั้งนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ำเตือนผู้ผลิต/ผู้ส่งออกจักรยานไทยให้ความสำคัญกับการกำหนดปริมาณและราคาส่งออกที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนเพื่อใช้มาตรการ Safeguard และ/หรือมาตรการใด ๆ ในอนาคตการส่งออกสินค้าจักรยานทุกประเภทของไทยในช่วงปี 2546-2548 มีปริมาณเฉลี่ยปีละ
1.6 ล้านคัน มูลค่าปีละประมาณ 1,160 ล้านบาท โดยแคนาดาเป็นตลาดส่งออกในอันดับที่ 5 รองจาก ลาว สหราชอาณาจักร กัมพูชา และเยอรมนี คาดว่าหากแคนาดาไม่บังคับใช้มาตรการดังกล่าวจะทำให้การส่งออกสินค้าจักรยานของไทยไปแคนาดามีแนวโน้มที่ดีขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-