กระทรวงการคลัง โดยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอเรียนว่า Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR) ได้แถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลาประมาณ 13.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดย JCR ได้ยกเลิกมุมมองระดับเครดิตของประเทศที่มีการเฝ้าระวังระดับเครดิตที่เป็นลบออก (Credit Monitor (Negative)) โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) พร้อมกับยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Long Term Senior Debts) ที่ระดับ A- และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Domestic Currency Long Term Senior Debts) ที่ระดับ A+ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หมดไปภายหลังจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ประกาศว่าจะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็วและแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวพร้อมทั้งจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามตารางเวลาที่สัญญาไว้ นอกจากนี้การปฏิวัติรัฐประหารดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินมากนัก ไม่มีการไหลออกของเงินทุนซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อค่าของเงินบาทและการขยับตัวของอัตราดอกเบี้ย
2. ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวนำโดยองคมนตรีซึ่งเป็นนายพลที่เกษียณราชการแล้ว เป็นผู้ที่มีความยอมรับนับถือรวมทั้งมีการแต่งตั้งอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและนายธนาคารที่ได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามลำดับนั้น สร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่าจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้การแต่งตั้งอดีตข้าราชการและนักวิชาการที่มีแนวคิดในการปฏิรูป อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะช่วยคลายความกังวลให้แก่นักลงทุนว่าจะไม่กลับลำการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เริ่มในรัฐบาลชุดก่อน ได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
รัฐบาลชุดปัจจุบันมีความเข้าใจในการดำเนินนโยบายและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล จะเห็นได้จากการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินงบประมาณปี 2550 โดยจะสามารถจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 เป็นต้นไป และโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) ที่เคยวางแผนไว้ครั้งรัฐบาลชุดก่อนบางส่วน เช่น โครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ก็จะมีการสานต่อ
3. แม้ว่าจะมีปัจจัยทางด้านบวกดังกล่าว แต่ความไม่แน่นอนยังคงอยู่บ้าง ได้แก่ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รวมทั้งการเลือกตั้งว่าจะเป็นไปตามกำหนดหรือไม่ (แต่เดิมคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2550) และจะนำมาซึ่งประชาธิปไตยที่มั่นคงหรือไม่ อีกทั้งการกลับมาของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังคงมีฐานเสียงค่อนข้างมากในประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทก็เป็นปัจจัยความไม่แน่นอนอีกประการหนึ่ง รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และดำเนินการสมานฉันท์ซึ่งแม้จะมีสัญญาณที่เพิ่มความหวังบ้างก็ตาม
4. แม้ว่ายังคงมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างสูง เนื่องจากสถานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 อยู่ที่ 68 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.8 เท่า และ 1.2 เท่าของหนี้ระยะสั้นและหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
หนี้ของรัฐบาลกลางรวมหนี้ FIDF ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549 จำนวนทั้งสิ้น 2.2 ล้านล้านบาท แม้รวมการอาวัลตั๋วของ FIDF ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 จะทำให้หนี้รัฐบาลกลาง (+FIDF) คิดเป็น 2.4 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 32 ของ GDP ก็ตาม ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 42 ณ สิ้นปี 2547 อย่างมาก
จากสถานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งและสถานะทางการคลังที่มีเสถียรภาพจึงทำให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบต่างๆ อันเนื่องจากปัจจัยทางสังคมและทางการเมือง
5. การปรับมุมมองแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยให้อยู่ระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจาก JCR เห็นว่าสถานการณ์การเมืองจะค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าจะยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่บ้างก็ตาม
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2549 20 พฤศจิกายน 49--
1. ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หมดไปภายหลังจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ประกาศว่าจะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็วและแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวพร้อมทั้งจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามตารางเวลาที่สัญญาไว้ นอกจากนี้การปฏิวัติรัฐประหารดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินมากนัก ไม่มีการไหลออกของเงินทุนซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อค่าของเงินบาทและการขยับตัวของอัตราดอกเบี้ย
2. ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวนำโดยองคมนตรีซึ่งเป็นนายพลที่เกษียณราชการแล้ว เป็นผู้ที่มีความยอมรับนับถือรวมทั้งมีการแต่งตั้งอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและนายธนาคารที่ได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามลำดับนั้น สร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่าจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้การแต่งตั้งอดีตข้าราชการและนักวิชาการที่มีแนวคิดในการปฏิรูป อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะช่วยคลายความกังวลให้แก่นักลงทุนว่าจะไม่กลับลำการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เริ่มในรัฐบาลชุดก่อน ได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
รัฐบาลชุดปัจจุบันมีความเข้าใจในการดำเนินนโยบายและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล จะเห็นได้จากการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินงบประมาณปี 2550 โดยจะสามารถจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 เป็นต้นไป และโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) ที่เคยวางแผนไว้ครั้งรัฐบาลชุดก่อนบางส่วน เช่น โครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ก็จะมีการสานต่อ
3. แม้ว่าจะมีปัจจัยทางด้านบวกดังกล่าว แต่ความไม่แน่นอนยังคงอยู่บ้าง ได้แก่ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รวมทั้งการเลือกตั้งว่าจะเป็นไปตามกำหนดหรือไม่ (แต่เดิมคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2550) และจะนำมาซึ่งประชาธิปไตยที่มั่นคงหรือไม่ อีกทั้งการกลับมาของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังคงมีฐานเสียงค่อนข้างมากในประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทก็เป็นปัจจัยความไม่แน่นอนอีกประการหนึ่ง รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และดำเนินการสมานฉันท์ซึ่งแม้จะมีสัญญาณที่เพิ่มความหวังบ้างก็ตาม
4. แม้ว่ายังคงมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างสูง เนื่องจากสถานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 อยู่ที่ 68 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.8 เท่า และ 1.2 เท่าของหนี้ระยะสั้นและหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
หนี้ของรัฐบาลกลางรวมหนี้ FIDF ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549 จำนวนทั้งสิ้น 2.2 ล้านล้านบาท แม้รวมการอาวัลตั๋วของ FIDF ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 จะทำให้หนี้รัฐบาลกลาง (+FIDF) คิดเป็น 2.4 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 32 ของ GDP ก็ตาม ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 42 ณ สิ้นปี 2547 อย่างมาก
จากสถานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งและสถานะทางการคลังที่มีเสถียรภาพจึงทำให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบต่างๆ อันเนื่องจากปัจจัยทางสังคมและทางการเมือง
5. การปรับมุมมองแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยให้อยู่ระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจาก JCR เห็นว่าสถานการณ์การเมืองจะค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าจะยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่บ้างก็ตาม
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 99/2549 20 พฤศจิกายน 49--