กรุงเทพ--14 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดติดตามพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ครั้งที่ 1/2549 โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย กรมการจัดหางาน กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการกงสุล
กรมเอเชียตะวันออก และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา และผลการนำเข้าแรงงานสัญชาติลาวเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย ซึ่งในส่วนของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติลาว และกัมพูชา มีความคืบหน้าในระดับที่น่าพอใจ
โดยแรงงานสัญชาติลาวได้รับการรับรองสัญชาติแล้ว 43,440 ราย (เท่ากับร้อยละ 48.22 ของแรงงานที่ขออนุญาตทำงาน) และแรงงานสัญชาติกัมพูชาได้รับการรับรองสัญชาติและเอกสารรับรองบุคคลแล้วจำนวน 24,310 ราย (เท่ากับร้อยละ 32.07 ของแรงงานที่ขออนุญาตทำงาน)
สำหรับวิธีการและขั้นตอนของการดำเนินการภายหลังการพิสูจน์สัญชาตินั้น ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของกรมการจัดหางาน ซึ่งโดยสรุปแล้ว ภายหลังจากที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวได้รับหนังสือเดินทางชั่คราว (Temporary Passport) และแรงงานกัมพูชาได้รับเอกสารรับรองสถานะ (Certificate of Identity : C.I.) แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการ ดังนี้ กรมการกงสุลจะทำการตรวจลงตรา โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา500 บาทต่อราย สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะประทับตราเข้าเมืองเพื่อให้อยู่ในราชอาณาจักรคราวละ 2 ปี กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและรับประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวที่ไม่อยู่ในข่ายเข้าสู่ระบบประกันสังคม กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมจัดทำบัตรประกันสังคม และเรียกเก็บเงินสมทบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และกระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานจะออกใบอนุญาตทำงานให้คราวละไม่เกิน 1 ปี ในอาชีพกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน ทั้งนี้ การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 17 เมษายน 2549 ในรูปแบบของหน่วยบริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และหน่วยบริการเคลื่อนที่ (Mobile Unit)
ในส่วนของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในประเทศไทยนั้น ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องนี้เพื่อที่จะให้สามารถดำเนินการได้โดยเร็วโดยอาจใช้แนวทางที่ดำเนินการในกรณีของแรงงานลาว และกัมพูชาเป็นแบบแผน ทั้งนี้โดยจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่าต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดติดตามพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ครั้งที่ 1/2549 โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย กรมการจัดหางาน กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการกงสุล
กรมเอเชียตะวันออก และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา และผลการนำเข้าแรงงานสัญชาติลาวเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย ซึ่งในส่วนของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติลาว และกัมพูชา มีความคืบหน้าในระดับที่น่าพอใจ
โดยแรงงานสัญชาติลาวได้รับการรับรองสัญชาติแล้ว 43,440 ราย (เท่ากับร้อยละ 48.22 ของแรงงานที่ขออนุญาตทำงาน) และแรงงานสัญชาติกัมพูชาได้รับการรับรองสัญชาติและเอกสารรับรองบุคคลแล้วจำนวน 24,310 ราย (เท่ากับร้อยละ 32.07 ของแรงงานที่ขออนุญาตทำงาน)
สำหรับวิธีการและขั้นตอนของการดำเนินการภายหลังการพิสูจน์สัญชาตินั้น ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของกรมการจัดหางาน ซึ่งโดยสรุปแล้ว ภายหลังจากที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวได้รับหนังสือเดินทางชั่คราว (Temporary Passport) และแรงงานกัมพูชาได้รับเอกสารรับรองสถานะ (Certificate of Identity : C.I.) แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการ ดังนี้ กรมการกงสุลจะทำการตรวจลงตรา โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา500 บาทต่อราย สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะประทับตราเข้าเมืองเพื่อให้อยู่ในราชอาณาจักรคราวละ 2 ปี กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและรับประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวที่ไม่อยู่ในข่ายเข้าสู่ระบบประกันสังคม กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมจัดทำบัตรประกันสังคม และเรียกเก็บเงินสมทบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และกระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานจะออกใบอนุญาตทำงานให้คราวละไม่เกิน 1 ปี ในอาชีพกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน ทั้งนี้ การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 17 เมษายน 2549 ในรูปแบบของหน่วยบริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และหน่วยบริการเคลื่อนที่ (Mobile Unit)
ในส่วนของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในประเทศไทยนั้น ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องนี้เพื่อที่จะให้สามารถดำเนินการได้โดยเร็วโดยอาจใช้แนวทางที่ดำเนินการในกรณีของแรงงานลาว และกัมพูชาเป็นแบบแผน ทั้งนี้โดยจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่าต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-