นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เปิดเผยถึงการประชุมหารือระหว่างผู้แทนฝ่ายลาว และฝ่ายไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยการประชุมหารือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือการแจ้งเรื่องการจัดประชุม 1st Asian Cooperation Dialogue Finance Ministers Meeting (ACD FMM) ในประเทศไทยปีนี้ รวมทั้งการเรียนเชิญนายจันสี โพสีคำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สปป. ลาว เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และหารือในแนวทางความร่วมมือลาว-ไทยในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย โดยคณะผู้แทนฝ่ายสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประกอบด้วย ท่านทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรี ท่านจันสี โพสีคำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านสมดี ดวงดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ท่านพูเพ็ด คำพูนวง รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป.ลาว และฝ่ายไทยประกอบด้วย นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประจวบ ไชยสาส์น ผู้แทนการค้าไทย นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) นายกฤษฎา อุทยานิน รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำหรับสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม 1st ACD FMM ในปีนี้ โดยการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์หลักคือ (1) ช่วยเสริมสร้างความยอมรับทางการเมืองสำหรับ มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative) (2) ขยายขอบเขตการดำเนินมาตรการไปสู่ประเทศในเอเชียที่มิได้เป็นสมาชิกของกรอบการประชุมระหว่างประเทศอื่นๆ ได้ดำเนินมาตรการนี้อยู่แล้ว เช่น กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers Meeting:AFMM+3) และ กรอบการประชุมธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค (Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks and Monetary Authorities: EMEAP) เป็นต้น และ (3) ส่งเสริมการดำเนินการด้านเทคนิคของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และสำหรับเรื่องการจัดประชุม ACD FMM ในประเทศไทย นายจันสี โพสีคำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สปป. ได้แสดงความยินดีที่จะเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
สำหรับแนวทางความร่วมมือ ลาว-ไทยในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย นั้น ได้มีการร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ของ สปป.ลาว ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำและสร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งก็จะทำการส่งออกไปประเทศไทย และโครงการนี้ ธสน. กำลังทำการศึกษาการจัดโครงสร้างการลงทุนและการจัดหาแหล่งทุนให้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถให้ รัฐวิสาหกิจของ สปป. ลาว ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโครงการจะทำการออกพันธบัตรในรูปเงินบาทในประเทศไทย เพื่อใช้ในการหาทุนสำหรับโครงการนี้
การออกพันธบัตรในประเทศไทยของ รัฐวิสาหกิจ สปป. ลาว โดยการสนับสนุนของ ธสน. นี้ จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศ โดย สปป.ลาว จะได้ประโยชน์ที่สำคัญเช่น 1) มีเงินทุนที่ต้นทุนไม่สูงในการพัฒนาโครงการที่ช่วยในการพัฒนาประเทศ 2) พัฒนาตลาดเงินตลาดทุน และเตรียมการสำหรับการระดมทุนในอนาคต และสร้างประสบการณ์ในการออกพันธบัตรในประเทศเพื่อนบ้าน และ 3) เริ่มมีการทำการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ให้แก่รัฐบาลลาวหรือหน่วยงานของรัฐบาลลาว ในฐานะผู้ออกพันธบัตร เพื่อส่งเสริมในการออกพันธบัตรของ สปป.ลาว ให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศในระยะยาว
สำหรับประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ได้สร้างพันธบัตรรูปแบบใหม่ สร้างความหลากหลายให้ตลาดพันธบัตรไทย ช่วยพัฒนาตลาดบัตรเอเชีย รวมทั้งช่วยเหลือและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ท้ายที่สุด เรื่องแนวทางความร่วมมือลาว-ไทยในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ในกรณี การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ นั้น ทั้งฝ่ายลาวและไทยมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆในภูมิภาค และจะมีคณะทำงานเพื่อร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาการดำเนินการในขั้นรายละเอียดโดยใกล้ชิด โดยจะเริ่มศึกษาโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 เป็นลำดับแรก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2549 3 กุมภาพันธ์ 49--
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม 1st ACD FMM ในปีนี้ โดยการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์หลักคือ (1) ช่วยเสริมสร้างความยอมรับทางการเมืองสำหรับ มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative) (2) ขยายขอบเขตการดำเนินมาตรการไปสู่ประเทศในเอเชียที่มิได้เป็นสมาชิกของกรอบการประชุมระหว่างประเทศอื่นๆ ได้ดำเนินมาตรการนี้อยู่แล้ว เช่น กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers Meeting:AFMM+3) และ กรอบการประชุมธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค (Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks and Monetary Authorities: EMEAP) เป็นต้น และ (3) ส่งเสริมการดำเนินการด้านเทคนิคของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และสำหรับเรื่องการจัดประชุม ACD FMM ในประเทศไทย นายจันสี โพสีคำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สปป. ได้แสดงความยินดีที่จะเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
สำหรับแนวทางความร่วมมือ ลาว-ไทยในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย นั้น ได้มีการร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ของ สปป.ลาว ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำและสร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งก็จะทำการส่งออกไปประเทศไทย และโครงการนี้ ธสน. กำลังทำการศึกษาการจัดโครงสร้างการลงทุนและการจัดหาแหล่งทุนให้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถให้ รัฐวิสาหกิจของ สปป. ลาว ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโครงการจะทำการออกพันธบัตรในรูปเงินบาทในประเทศไทย เพื่อใช้ในการหาทุนสำหรับโครงการนี้
การออกพันธบัตรในประเทศไทยของ รัฐวิสาหกิจ สปป. ลาว โดยการสนับสนุนของ ธสน. นี้ จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศ โดย สปป.ลาว จะได้ประโยชน์ที่สำคัญเช่น 1) มีเงินทุนที่ต้นทุนไม่สูงในการพัฒนาโครงการที่ช่วยในการพัฒนาประเทศ 2) พัฒนาตลาดเงินตลาดทุน และเตรียมการสำหรับการระดมทุนในอนาคต และสร้างประสบการณ์ในการออกพันธบัตรในประเทศเพื่อนบ้าน และ 3) เริ่มมีการทำการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ให้แก่รัฐบาลลาวหรือหน่วยงานของรัฐบาลลาว ในฐานะผู้ออกพันธบัตร เพื่อส่งเสริมในการออกพันธบัตรของ สปป.ลาว ให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศในระยะยาว
สำหรับประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ได้สร้างพันธบัตรรูปแบบใหม่ สร้างความหลากหลายให้ตลาดพันธบัตรไทย ช่วยพัฒนาตลาดบัตรเอเชีย รวมทั้งช่วยเหลือและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ท้ายที่สุด เรื่องแนวทางความร่วมมือลาว-ไทยในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ในกรณี การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ นั้น ทั้งฝ่ายลาวและไทยมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆในภูมิภาค และจะมีคณะทำงานเพื่อร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาการดำเนินการในขั้นรายละเอียดโดยใกล้ชิด โดยจะเริ่มศึกษาโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 เป็นลำดับแรก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2549 3 กุมภาพันธ์ 49--