1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสที่
1 ปี 2549 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และผักผลไม้ลดลงร้อยละ 39.7 และ 4.4 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการขาดแคลน
วัตถุดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิต อุตสาหกรรมอาหาร เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงอย่างมาก ประมาณร้อยละ 56 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 พบว่า อัตราการผลิตหดตัวลง ร้อยละ 88.8 ตามการลดลงของผลผลิตอ้อยจากสภาวะแห้งแล้ง
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปร
รูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เป็นผลจากผลผลิตสับปะรดมีปริมาณเพิ่ม
ขึ้นจากระดับราคาที่สูงขึ้นในปีก่อน จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และ ธัญพืช แม้ว่าการผลิต
จะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.7 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากปัญหาไข้หวัดนก และสามารถส่งออกไก่ต้มสุกได้เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ประกอบกับได้
เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศแถบยุโรปและอาฟริกา ส่งผลให้ปริมาณส่งออกไก่ต้มสุกของไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาไก่เป็นหน้าฟาร์มขยับสูง
ขึ้น จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเลี้ยงไก่มากขึ้น ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน
ในส่วนสินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกกุ้งและ
ผลิตภัณฑ์แปรรูป และปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากการคืน GSP กุ้งไทยของสหภาพยุโรป และข่าวการยื่นฟ้องต่อสหรัฐฯ กรณีการเก็บเงิน
ค้ำประกันการนำเข้ากุ้งสู่ตลาดสหรัฐฯ ทำให้มีการเร่งนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจากความชัดเจนของอัตราภาษีการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งของ
สหรัฐฯ ไม่สูงมากนักโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งรายอื่นและมีการแก้ไขปัญหาการวางเงินค้ำประกันโดยกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ได้จัดตั้งบริษัทกระจาย
สินค้าที่สหรัฐฯ ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าแปรรูปประมงในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมัน
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 อัตราการ
ผลิตของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิต เพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ
22.3 เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนทำให้ความต้องการบริโภคนมเพิ่มขึ้น
ภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารครึ่งปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า (ไม่รวมน้ำตาล) ประมาณร้อยละ 14 เมื่อ
เทียบกับปีก่อน แต่หากรวมน้ำตาล การผลิตขยายตัวประมาณร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก เช่น
ประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากการได้คืนสิทธิ์ GSP ในสินค้าประมง และข่าวการระบาดของไข้หวัดนกในสหภาพยุโรปยังส่งผลต่อการส่งออกไก่แปรรูป
ที่ทำให้กลุ่มปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 นอกจากนี้ผลจากการทำ FTA กับจีน ทำให้ความต้องการในสินค้าผักผลไม้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการผลิตที่มี
การขยายตัวถึงร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากปัจจัยด้านความต้องการในกลุ่ม
สินค้าผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ และกลุ่มน้ำมันพืชขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ปลอดจากปัญหาโรคไข้หวัดนก ทำให้ผู้
บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคสินค้าไก่มากขึ้น และมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปพร้อมรับประทาน ส่งผลให้ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาขยับตัวสูงขึ้น
จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารสัตว์จึงเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มตึงตัวและมีการถ่ายทอดเทศกาล
ฟุตบอลโลกทำให้ยอดการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน
สำหรับสินค้าแปรรูปประมงมีความต้องการบริโภคสูงจากราคากุ้งขาวที่ปรับตัวลดลงจากปริมาณที่ออกสู่ตลาดมากของกุ้งขนาด
เล็กและกลาง เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งวิตกกับข่าวการระบาดของโรคจากเชื้อไวรัส จึงเร่งจับขายแทนที่จะเลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่ที่เสี่ยงสูงกว่า โดยทั้งกลุ่ม
ประมงมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มี
การจำหน่ายลดลง ตามปริมาณการผลิตที่ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และธัญพืช ลดลงร้อยละ 33.2 และน้ำตาล ลดลงร้อยละ 16.6
จากปัญหาความแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ
เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายในประเทศระหว่างครึ่งปี 48 และ 49 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ
กับปีก่อนเพียงร้อยละ 1.5 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวดสินค้าแม้ว่าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 13 ปศุสัตว์ร้อย
ละ 6.6 และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 3.4 แต่ประชาชนก็มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจลดลง โดยมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและ
ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ขยับตัวสูงขึ้นในช่วงเวลานี้
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 106,302.7 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.5 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตร
มาสที่ 1 ของปี 2548 จะพบว่าภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขณะที่ปริมาณส่งออกกลับลดลง จึงสรุปได้ว่า
มูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เป็นต้นทุนการผลิตด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 สำหรับการส่งออก
ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
-กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 46,372.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0
จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 28.2 และอาหารทะเลกระป๋อง ร้อยละ 1.9 แต่เมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบครึ่งปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 87,781.3
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 14.2 เป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลประเภทกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋อง
ขยายตัวกว่าร้อยละ 20 โดยเป็นการสำรองวัตถุดิบไว้ตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงไตรมาสแรก และการสั่งสินค้าอาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 21.3 จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและยุโรป และจากความกังวลต่อการระบาดของไข้หวัดนก นอกจากนี้มีการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในทุกตลาด
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 21,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.4 จากไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสูงเทียบเท่า
มาตรฐานสากล ทำให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากผลผลิตใน
ตลาดโลกลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดที่ใช้ในการผลิตผลไม้กระป๋องมากที่สุด มีปริมาณผลผลิตมากขึ้น และมีมูลค่าส่ง
ออกเพิ่มขึ้นตลอดครึ่งปีกว่าร้อยละ 20 แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงก็ตาม และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 พบว่ามูลค่าส่งออกผักผลไม้
แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 8,175.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 จากไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการขยายตัว
สูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิด
โรคระบาดไก่ในทวีปอาฟริกาและยุโรป ทำให้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป สั่งซื้อไก่ต้มสุกจากไทยแทน นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่ง
ปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 โดยที่เป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่แปรรูปถึงร้อยละ 15.3
-กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 19,509.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.3 จาก
ไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็น
ตลาดหลักในการ ส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย โดยมีอินโดนีเซีย และ
เวียดนาม เป็นประเทศคู่แข่งสำคัญ และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 โดย
เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และแป้งข้าวเจ้า และหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่ง
ออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
-กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 7,339.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.7 จากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่ง
ออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48.7 เป็นผลจากอุปทานที่ลดลงเพราะประสบปัญหาภาวะภัยแล้ง ขณะที่เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 พบว่า มูลค่า
ส่งออกลดลงร้อยละ 32.7
-กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 3,500 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยเป็นผลจากการส่งออกลดลงในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ กว่าร้อยละ 90 ซุปและอาหารปรุงแต่ง ร้อยละ 45.2 และนมและผลิตภัณฑ์นมใน
อัตราร้อยละ 41.8 และหากเทียบกับไตรมาสก่อน จะพบว่า การส่งออกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.9 แต่เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548
มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มลดลงร้อยละ 18.3 โดยเป็นผลจากการส่งออกไขมันประเภทต่างๆ ลดลงร้อยละ 45.2 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 20
และซุปและอาหารปรุงแต่ง ร้อยละ 23.4
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 41,430.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7
จากไตรมาสก่อน (ตารางที่ 4) โดยเป็นการขยายตัวของกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 26.3 เป็นผลจากการเพิ่มปริมาณนำเข้าเพื่อทด
แทนผลผลิตวัตถุดิบในประเทศที่ลดลงจากภาวะภัยแล้งและภัยพิบัติตามธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ อย่างไรก็ดีแม้
ว่ามูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มขึ้น แต่จากราคาในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ปริมาณนำเข้าสินค้าบางรายการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง เช่น ข้าว
และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ผักผลไม้และของปรุงแต่งฯ และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ส่งผลให้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 9
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากการเพิ่ม
ขึ้นของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในอัตราร้อยละ 26.9 โดยมีการนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื่องจากเป็นการขยายตลาดแฟรนไชส์ในสินค้า
ประเภทขนมปังจากประเทศในอาเซียน เช่น โรตีบอย โรตีมัม เดอะบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.1 และเนื้อสัตว์สำหรับบริโภคจากการเปิดเสรีการค้ากับ
ออสเตรเลีย ในขณะที่กลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4
เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2548 และ 2549 จะพบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 โดยเป็นการ
นำเข้ากลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 2.3 จากการนำเข้าสัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็งและกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 20.2 และกลุ่มสินค้าอุปโภค
บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากการนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้และของปรุงแต่งฯ ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง และนมและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 19.1 8.6 และ
3.5 ตามลำดับ
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการประชุมการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาโรคไข้
หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อวันที่ 24เมษายน 2549 โดยได้มีการหารือถึงสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและความเสี่ยงของการ
ระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้มีการการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ตาม
แผนยุทธศาสตร์ชาติใน ๖ ด้าน คือ การเฝ้าระวังควบคุมโรค การบริการทางการแพทย์ การช่วยเหลือชุมชน การจัดหาเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ การ
ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ การบูรณาการด้านบริหารจัดการ และการเตรียมซ้อมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในระดับจังหวัด
ระดับส่วนกลาง และระดับชาติ ทั้งนี้ ให้กรมควบคุมโรคพิจารณามาตรการที่ด่านกรมควบคุมโรคตามท่าอากาศยานนานาชาติ สำหรับผู้เดินทางที่มาจาก
เขตการระบาดของโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ให้องค์การเภสัชกรรม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามการดื้อยาต้านไวรัส และให้สำนักงาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์รับผิดชอบการจัดสร้างห้องแยกโรค รวมถึงให้กระทรวงศึกษาธิการ เฝ้าระวังโรคและการให้สุขศึกษาใน
โรงเรียน เป็นต้น
3.2 โครงการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพลังงาน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการดำเนินงานตามโครงการปลูกปาล์มน้ำมันทด
แทนพลังงาน และให้บรรจุเป็นแผนงานประจำปีของแต่ละหน่วยงานเพื่อจัดตั้งคำของบประมาณในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552 และให้เลขาธิการ
นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานและหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวง
พลังงาน เพื่อซักซ้อมหลักการดำเนินการของ SPV ในการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและใช้ไบโอดีเซลเพื่อให้สามารถดูแลเชื่อมโยงได้ครอบคลุมทั้ง
ระบบครบวงจรและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเจตนารมณ์ของนโยบาย รวมทั้งสามารถรองรับและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาด
แคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการที่รัฐประกาศลอยตัวราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นๆ แต่ในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการชดเชยจากระดับราคาส่งออกที่ปรับตัว
สูงขึ้นของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป เป็นต้น เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศ
ผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้มูลค่าการส่ง
ออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2549 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิตและส่ง
ออกที่ชะลอตัวลงตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมงราย
ย่อย การขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งจากการเร่งจับในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก
ที่ไม่แน่นอนจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะสงครามในตะวันออกกลาง การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจ
คาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าไก่แปรรูปของ
ยุโรปให้เท่ากับที่ผูกพันกับ WTO เพื่อชดเชยให้กับเกษตรกรในกลุ่มจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก และการประกาศมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์ของ
ยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน
ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส2/48 ไตรมาส1/49 ไตรมาส2/49 ครึ่งปี 2548 ครึ่งปี 2549 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 209,082.80 227,386.10 231,212.10 397,955.40 458,598.20 1.7 10.6 15.2
ประมง 209,024.10 222,479.70 235,819.60 423,617.10 458,299.30 6 12.8 8.2
ผักผลไม้ 228,119.30 294,996.30 282,091.50 444,565.80 577,087.80 -4.4 23.7 29.8
น้ำมันพืช 327,483.20 325,016.90 406,689.10 657,396.10 731,706.00 25.1 24.2 11.3
ผลิตภัณฑ์นม 230,509.10 226,335.00 281,830.60 478,673.40 508,165.60 24.5 22.3 6.2
ธัญพืชและแป้ง 351,997.40 642,951.80 387,445.90 888,991.70 1,030,397.70 -39.7 10.1 15.9
อาหารสัตว์ 1,411,773.30 1,487,397.50 1,568,015.00 2,683,515.70 3,055,412.50 5.4 11.1 13.9
น้ำตาล 437,918.80 5,910,626.20 662,191.80 6,093,521.30 6,572,818.00 -88.8 51.2 7.9
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 42,923.60 39,966.00 39,425.70 84,125.40 79,391.70 -1.4 -8.1 -5.6
รวม 3,448,831.80 9,377,155.50 4,094,721.30 12,152,361.90 13,471,876.80 -56.3 18.7 10.9
รวม 3,010,912.90 3,466,529.30 3,432,529.50 6,058,840.60 6,899,058.80 -1 14 13.9
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส2/48 ไตรมาส1/49 ไตรมาส2/49 ครึ่งปี 2548 ครึ่งปี 2549 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 182,011.10 191,953.00 191,153.10 359,227.20 383,106.10 -0.4 5 6.6
ประมง 29,753.50 28,588.70 31,375.70 59,372.20 59,964.40 9.7 5.5 1
ผักผลไม้ 39,288.20 33,215.50 35,622.20 75,678.10 68,837.70 7.2 -9.3 -9
น้ำมันพืช 249,453.70 244,685.60 281,590.30 510,757.00 526,275.90 15.1 12.9 3
ผลิตภัณฑ์นม 172,559.60 142,215.20 231,632.80 361,446.10 373,847.90 62.9 34.2 3.4
ธัญพืชและแป้ง 246,012.00 358,694.60 239,533.80 545,331.50 598,228.40 -33.2 -2.6 9.7
อาหารสัตว์ 1,293,595.00 1,360,078.60 1,445,897.10 2,482,958.40 2,805,975.80 6.3 11.8 13
น้ำตาล 1,086,643.40 1,277,116.90 1,065,397.30 2,687,278.60 2,342,514.10 -16.6 -2 -13
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 32,313.00 31,942.80 33,741.60 62,919.80 65,684.50 5.6 4.4 4.4
รวม 3,331,494.90 3,669,655.70 3,553,156.90 7,116,972.40 7,223,842.70 -3.2 6.7 1.5
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 2,244,851.50 2,392,538.80 2,487,759.70 4,429,693.80 4,881,328.50 4 10.8 10.2
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสที่
1 ปี 2549 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และผักผลไม้ลดลงร้อยละ 39.7 และ 4.4 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการขาดแคลน
วัตถุดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิต อุตสาหกรรมอาหาร เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงอย่างมาก ประมาณร้อยละ 56 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 พบว่า อัตราการผลิตหดตัวลง ร้อยละ 88.8 ตามการลดลงของผลผลิตอ้อยจากสภาวะแห้งแล้ง
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปร
รูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 เป็นผลจากผลผลิตสับปะรดมีปริมาณเพิ่ม
ขึ้นจากระดับราคาที่สูงขึ้นในปีก่อน จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และ ธัญพืช แม้ว่าการผลิต
จะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.7 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากปัญหาไข้หวัดนก และสามารถส่งออกไก่ต้มสุกได้เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ประกอบกับได้
เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศแถบยุโรปและอาฟริกา ส่งผลให้ปริมาณส่งออกไก่ต้มสุกของไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาไก่เป็นหน้าฟาร์มขยับสูง
ขึ้น จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเลี้ยงไก่มากขึ้น ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน
ในส่วนสินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกกุ้งและ
ผลิตภัณฑ์แปรรูป และปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากการคืน GSP กุ้งไทยของสหภาพยุโรป และข่าวการยื่นฟ้องต่อสหรัฐฯ กรณีการเก็บเงิน
ค้ำประกันการนำเข้ากุ้งสู่ตลาดสหรัฐฯ ทำให้มีการเร่งนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจากความชัดเจนของอัตราภาษีการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งของ
สหรัฐฯ ไม่สูงมากนักโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งรายอื่นและมีการแก้ไขปัญหาการวางเงินค้ำประกันโดยกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ได้จัดตั้งบริษัทกระจาย
สินค้าที่สหรัฐฯ ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าแปรรูปประมงในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมัน
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 อัตราการ
ผลิตของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิต เพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ
22.3 เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนทำให้ความต้องการบริโภคนมเพิ่มขึ้น
ภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารครึ่งปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า (ไม่รวมน้ำตาล) ประมาณร้อยละ 14 เมื่อ
เทียบกับปีก่อน แต่หากรวมน้ำตาล การผลิตขยายตัวประมาณร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก เช่น
ประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากการได้คืนสิทธิ์ GSP ในสินค้าประมง และข่าวการระบาดของไข้หวัดนกในสหภาพยุโรปยังส่งผลต่อการส่งออกไก่แปรรูป
ที่ทำให้กลุ่มปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 นอกจากนี้ผลจากการทำ FTA กับจีน ทำให้ความต้องการในสินค้าผักผลไม้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการผลิตที่มี
การขยายตัวถึงร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากปัจจัยด้านความต้องการในกลุ่ม
สินค้าผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ และกลุ่มน้ำมันพืชขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ปลอดจากปัญหาโรคไข้หวัดนก ทำให้ผู้
บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคสินค้าไก่มากขึ้น และมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปพร้อมรับประทาน ส่งผลให้ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาขยับตัวสูงขึ้น
จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารสัตว์จึงเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มตึงตัวและมีการถ่ายทอดเทศกาล
ฟุตบอลโลกทำให้ยอดการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน
สำหรับสินค้าแปรรูปประมงมีความต้องการบริโภคสูงจากราคากุ้งขาวที่ปรับตัวลดลงจากปริมาณที่ออกสู่ตลาดมากของกุ้งขนาด
เล็กและกลาง เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งวิตกกับข่าวการระบาดของโรคจากเชื้อไวรัส จึงเร่งจับขายแทนที่จะเลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่ที่เสี่ยงสูงกว่า โดยทั้งกลุ่ม
ประมงมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มี
การจำหน่ายลดลง ตามปริมาณการผลิตที่ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และธัญพืช ลดลงร้อยละ 33.2 และน้ำตาล ลดลงร้อยละ 16.6
จากปัญหาความแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ
เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายในประเทศระหว่างครึ่งปี 48 และ 49 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ
กับปีก่อนเพียงร้อยละ 1.5 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวดสินค้าแม้ว่าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 13 ปศุสัตว์ร้อย
ละ 6.6 และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 3.4 แต่ประชาชนก็มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจลดลง โดยมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและ
ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ขยับตัวสูงขึ้นในช่วงเวลานี้
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 106,302.7 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.5 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตร
มาสที่ 1 ของปี 2548 จะพบว่าภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขณะที่ปริมาณส่งออกกลับลดลง จึงสรุปได้ว่า
มูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เป็นต้นทุนการผลิตด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 สำหรับการส่งออก
ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
-กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 46,372.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0
จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 28.2 และอาหารทะเลกระป๋อง ร้อยละ 1.9 แต่เมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบครึ่งปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 87,781.3
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 14.2 เป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลประเภทกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋อง
ขยายตัวกว่าร้อยละ 20 โดยเป็นการสำรองวัตถุดิบไว้ตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงไตรมาสแรก และการสั่งสินค้าอาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 21.3 จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นและยุโรป และจากความกังวลต่อการระบาดของไข้หวัดนก นอกจากนี้มีการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในทุกตลาด
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 21,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.4 จากไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสูงเทียบเท่า
มาตรฐานสากล ทำให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากผลผลิตใน
ตลาดโลกลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดที่ใช้ในการผลิตผลไม้กระป๋องมากที่สุด มีปริมาณผลผลิตมากขึ้น และมีมูลค่าส่ง
ออกเพิ่มขึ้นตลอดครึ่งปีกว่าร้อยละ 20 แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงก็ตาม และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 พบว่ามูลค่าส่งออกผักผลไม้
แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 8,175.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 จากไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการขยายตัว
สูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิด
โรคระบาดไก่ในทวีปอาฟริกาและยุโรป ทำให้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป สั่งซื้อไก่ต้มสุกจากไทยแทน นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่ง
ปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 โดยที่เป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่แปรรูปถึงร้อยละ 15.3
-กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 19,509.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.3 จาก
ไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็น
ตลาดหลักในการ ส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย โดยมีอินโดนีเซีย และ
เวียดนาม เป็นประเทศคู่แข่งสำคัญ และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 โดย
เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และแป้งข้าวเจ้า และหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่ง
ออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
-กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 7,339.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.7 จากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่ง
ออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48.7 เป็นผลจากอุปทานที่ลดลงเพราะประสบปัญหาภาวะภัยแล้ง ขณะที่เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548 พบว่า มูลค่า
ส่งออกลดลงร้อยละ 32.7
-กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 3,500 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยเป็นผลจากการส่งออกลดลงในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ กว่าร้อยละ 90 ซุปและอาหารปรุงแต่ง ร้อยละ 45.2 และนมและผลิตภัณฑ์นมใน
อัตราร้อยละ 41.8 และหากเทียบกับไตรมาสก่อน จะพบว่า การส่งออกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.9 แต่เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2549 และ 2548
มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มลดลงร้อยละ 18.3 โดยเป็นผลจากการส่งออกไขมันประเภทต่างๆ ลดลงร้อยละ 45.2 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 20
และซุปและอาหารปรุงแต่ง ร้อยละ 23.4
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 41,430.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7
จากไตรมาสก่อน (ตารางที่ 4) โดยเป็นการขยายตัวของกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 26.3 เป็นผลจากการเพิ่มปริมาณนำเข้าเพื่อทด
แทนผลผลิตวัตถุดิบในประเทศที่ลดลงจากภาวะภัยแล้งและภัยพิบัติตามธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ อย่างไรก็ดีแม้
ว่ามูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มขึ้น แต่จากราคาในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ปริมาณนำเข้าสินค้าบางรายการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง เช่น ข้าว
และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ผักผลไม้และของปรุงแต่งฯ และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ส่งผลให้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 9
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากการเพิ่ม
ขึ้นของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในอัตราร้อยละ 26.9 โดยมีการนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื่องจากเป็นการขยายตลาดแฟรนไชส์ในสินค้า
ประเภทขนมปังจากประเทศในอาเซียน เช่น โรตีบอย โรตีมัม เดอะบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.1 และเนื้อสัตว์สำหรับบริโภคจากการเปิดเสรีการค้ากับ
ออสเตรเลีย ในขณะที่กลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4
เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2548 และ 2549 จะพบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 โดยเป็นการ
นำเข้ากลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 2.3 จากการนำเข้าสัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็งและกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 20.2 และกลุ่มสินค้าอุปโภค
บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากการนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้และของปรุงแต่งฯ ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง และนมและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 19.1 8.6 และ
3.5 ตามลำดับ
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการประชุมการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาโรคไข้
หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อวันที่ 24เมษายน 2549 โดยได้มีการหารือถึงสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและความเสี่ยงของการ
ระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้มีการการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ตาม
แผนยุทธศาสตร์ชาติใน ๖ ด้าน คือ การเฝ้าระวังควบคุมโรค การบริการทางการแพทย์ การช่วยเหลือชุมชน การจัดหาเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ การ
ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ การบูรณาการด้านบริหารจัดการ และการเตรียมซ้อมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในระดับจังหวัด
ระดับส่วนกลาง และระดับชาติ ทั้งนี้ ให้กรมควบคุมโรคพิจารณามาตรการที่ด่านกรมควบคุมโรคตามท่าอากาศยานนานาชาติ สำหรับผู้เดินทางที่มาจาก
เขตการระบาดของโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ให้องค์การเภสัชกรรม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามการดื้อยาต้านไวรัส และให้สำนักงาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์รับผิดชอบการจัดสร้างห้องแยกโรค รวมถึงให้กระทรวงศึกษาธิการ เฝ้าระวังโรคและการให้สุขศึกษาใน
โรงเรียน เป็นต้น
3.2 โครงการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพลังงาน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการดำเนินงานตามโครงการปลูกปาล์มน้ำมันทด
แทนพลังงาน และให้บรรจุเป็นแผนงานประจำปีของแต่ละหน่วยงานเพื่อจัดตั้งคำของบประมาณในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552 และให้เลขาธิการ
นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานและหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวง
พลังงาน เพื่อซักซ้อมหลักการดำเนินการของ SPV ในการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและใช้ไบโอดีเซลเพื่อให้สามารถดูแลเชื่อมโยงได้ครอบคลุมทั้ง
ระบบครบวงจรและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเจตนารมณ์ของนโยบาย รวมทั้งสามารถรองรับและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาด
แคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการที่รัฐประกาศลอยตัวราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นๆ แต่ในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการชดเชยจากระดับราคาส่งออกที่ปรับตัว
สูงขึ้นของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป เป็นต้น เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศ
ผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้มูลค่าการส่ง
ออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2549 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิตและส่ง
ออกที่ชะลอตัวลงตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมงราย
ย่อย การขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งจากการเร่งจับในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก
ที่ไม่แน่นอนจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะสงครามในตะวันออกกลาง การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจ
คาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าไก่แปรรูปของ
ยุโรปให้เท่ากับที่ผูกพันกับ WTO เพื่อชดเชยให้กับเกษตรกรในกลุ่มจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก และการประกาศมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์ของ
ยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน
ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส2/48 ไตรมาส1/49 ไตรมาส2/49 ครึ่งปี 2548 ครึ่งปี 2549 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 209,082.80 227,386.10 231,212.10 397,955.40 458,598.20 1.7 10.6 15.2
ประมง 209,024.10 222,479.70 235,819.60 423,617.10 458,299.30 6 12.8 8.2
ผักผลไม้ 228,119.30 294,996.30 282,091.50 444,565.80 577,087.80 -4.4 23.7 29.8
น้ำมันพืช 327,483.20 325,016.90 406,689.10 657,396.10 731,706.00 25.1 24.2 11.3
ผลิตภัณฑ์นม 230,509.10 226,335.00 281,830.60 478,673.40 508,165.60 24.5 22.3 6.2
ธัญพืชและแป้ง 351,997.40 642,951.80 387,445.90 888,991.70 1,030,397.70 -39.7 10.1 15.9
อาหารสัตว์ 1,411,773.30 1,487,397.50 1,568,015.00 2,683,515.70 3,055,412.50 5.4 11.1 13.9
น้ำตาล 437,918.80 5,910,626.20 662,191.80 6,093,521.30 6,572,818.00 -88.8 51.2 7.9
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 42,923.60 39,966.00 39,425.70 84,125.40 79,391.70 -1.4 -8.1 -5.6
รวม 3,448,831.80 9,377,155.50 4,094,721.30 12,152,361.90 13,471,876.80 -56.3 18.7 10.9
รวม 3,010,912.90 3,466,529.30 3,432,529.50 6,058,840.60 6,899,058.80 -1 14 13.9
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส2/48 ไตรมาส1/49 ไตรมาส2/49 ครึ่งปี 2548 ครึ่งปี 2549 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 182,011.10 191,953.00 191,153.10 359,227.20 383,106.10 -0.4 5 6.6
ประมง 29,753.50 28,588.70 31,375.70 59,372.20 59,964.40 9.7 5.5 1
ผักผลไม้ 39,288.20 33,215.50 35,622.20 75,678.10 68,837.70 7.2 -9.3 -9
น้ำมันพืช 249,453.70 244,685.60 281,590.30 510,757.00 526,275.90 15.1 12.9 3
ผลิตภัณฑ์นม 172,559.60 142,215.20 231,632.80 361,446.10 373,847.90 62.9 34.2 3.4
ธัญพืชและแป้ง 246,012.00 358,694.60 239,533.80 545,331.50 598,228.40 -33.2 -2.6 9.7
อาหารสัตว์ 1,293,595.00 1,360,078.60 1,445,897.10 2,482,958.40 2,805,975.80 6.3 11.8 13
น้ำตาล 1,086,643.40 1,277,116.90 1,065,397.30 2,687,278.60 2,342,514.10 -16.6 -2 -13
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 32,313.00 31,942.80 33,741.60 62,919.80 65,684.50 5.6 4.4 4.4
รวม 3,331,494.90 3,669,655.70 3,553,156.90 7,116,972.40 7,223,842.70 -3.2 6.7 1.5
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 2,244,851.50 2,392,538.80 2,487,759.70 4,429,693.80 4,881,328.50 4 10.8 10.2
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-