สรุปภาวะการค้าไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- มี.ค.2549

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 10, 2006 15:55 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก  ปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวม  1,670,940.374 
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2598 (ม.ค.-ก.พ.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 18.16 มูลค่า 51,067.599 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.07
- จีน ร้อยละ 13.99 มูลค่า 39,331.463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.97
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.69 มูลค่า 30,071.595 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.50
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.00 มูลค่า 22,506.711 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 18 สัดส่วนร้อยละ 1.15 มูลค่า 3,229.434 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.71
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเหลือประมาณร้อยละ 3% ในปี 2549 เมื่อเทียบกับระดับ 3.4%
ของปี 2548 อย่างไรก็ตามการขยายตัวร้อยละ 3 ดังกล่าวนับเป็นระดับทีดีที่เป็นแนวโน้มปกติ
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ ม.ค.-มี.ค. 2549)
มูลค่า 4,495.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 15.21 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.74 หรือคิดเป็นร้อยละ 22.90
ของเป้าหมายการส่งออกปี 2549 ที่ 19,624 ล้านเหรียญสหรัฐ
5.การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2547 2548 2548 2549 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
(ม.ค-มี.ค) (ม.ค-มี.ค) 2547 2548 2549
(ม.ค-มี.ค)
มูลค่าการค้า 22,714.93 25,748.34 5,909.30 6,533.10 9.79 13.35 10.56
สินค้าออก 15,508.51 17,064.43 3,818.26 4,495.66 14.07 10.03 17.74
สินค้าเข้า 7,206.42 8,683.91 2,091.04 2,037.43 1.60 20.50 -2.56
ดุลการค้า 8,302.09 8,380.53 1,727.22 2,458.23 27.65 0.94 42.32
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-มี.ค. 2549) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 77.73
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มี 4 รายการและสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 15 มี 1 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ 2549
ตลาด ม.ค.-มี.ค48 ม.ค.-มี.ค49 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-มี.ค 2548 ม.ค.-มี.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่า
ร้อยละ 100 มี 1 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 15 31.89 84.15 52.26 163.90 1.49 1.87
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่า
ร้อยละ 50 มี 4 รายการ
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 1 408.97 665.72 256.75 62.78 11.69 14.81
(2) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 14 44.13 87.00 42.87 97.15 1.47 1.94
(3) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 18 43.28 73.21 29.93 69.14 0.58 1.63
(4) เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ 25 25.70 42.31 16.61 64.62 0.58 0.94
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงมากกว่า
ร้อยละ 15 มี 1 รายการ
(1) อัญมณีและเครื่องประดับ 4 262.99 212.77 189.78 -19.10 5.61 4.73
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
เม็ดพลาสติก (HS.3901 ) ETHYLENE, PRIMARY FORM
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 19.386 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.98
เพิ่มขึ้นร้อยละ 192.77 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 651.177 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 32.75 นำเข้าจาก แคนาดา ไทย บราซิล เป็นหลัก (ม.ค.-ก.พ. 2549)
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (HS. 8471) COMPUTER & COMPONENTS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 5 มูลค่า 403.889 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.23 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30.91 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 9,552.256 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.80
นำเข้าจาก จีน มาเลเซีย เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-ก.พ. 2549)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS.84 ) MACHINERY
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 13 มูลค่า 579.967 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.60
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.06 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 36,195.374 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.14 นำเข้าจาก จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-ก.พ. 2549)
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) AIR CONDITIONING
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 5 มูลค่า 28.852 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.78 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 66.17 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 603.676 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.52
นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก แคนาดา เป็นหลัก (ม.ค.-ก.พ. 2549)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
7.1 เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปี 2549 มีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลงเหลือประมาณ 3% โดยมีปัจจัย
สำคัญผลกระทบต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ คือ การชะลอตัวลงของการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนชาวอเมริกัน
อันเนื่องมาจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคาร
กลางอย่างต่อเนื่องกัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลาง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กำลังซื้อลดลง อีกทั้งขณะนี้สหรัฐฯ อยู่ในภาวะการขาดดุลการคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และยัง ไม่มีแนวโน้มจะลดลง
7.2 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เหวี่ยงแหประกาศทบทวนภาษีทุ่มตลาด (AD) กุ้งกับผู้ส่งออกไทยถึง
145 บริษัทภายหลังจากที่พบว่ายอดขายกุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ ยังคงพุ่งสูงขึ้นในปีที่ผ่านมาแม้จะเรียกเก็บภาษีทุ่ม
ตลาด AD จากไทย และต้องวางเงินค้ำประกัน (C-bond) ก็ตาม ทั้งนี้ผู้ส่งออกไทยหลายรายที่มิได้ทำการส่งออกกุ้ง
โดยตรงแต่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น โรงงานน้ำพริกเผาโรงงานพลาสติก หรือแม้กระทั้งตัวแทนเรือสหรัฐฯ ก็เรียก
เก็บภาษีด้วย ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลไทย อยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการยื่นหนังสือขอหารือ
กับสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ องค์การค้าโลก (WTO) ในเรื่องการใช้มาตรการตอบโต้การ
ทุ่มตลาดและการวางพันธบัตรค้ำประกันอากร (AD) ในการนำเข้ากุ้งแช่แข็งจากประเทศไทยโดยฝ่ายไทยเห็น
ว่าสองมาตรการดังกล่าวขัดต่อความตกลงใน WTO
7.3 ขณะนี้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ มีแนวโน้มสูงที่สหรัฐฯ จะ
คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอิหร่าน(แซงก์ชั่น) ส่งผลให้อิหร่านหันมาซื้อข้าวจากไทยในปริมาณที่สูงกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา
แม้ว่าค่าเงินบาทไทยในขณะนี้แข็งตัวขึ้นไปมาก แต่อิหร่านก็ยังคงสั่งซื้อข้าวไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอิหร่าน
กลัวถูกการแซงก์ชั่นทางเศรษฐกิจจากคณะมนตรีความ-มั่นคง สหประชาชาติ จึงชิงซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่
จำเป็นก่อน และข้าวก็เป็นสินค้านำเข้าที่อิหร่านต้องการมากที่สุด
7.4 รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ยกประเด็นการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศไทยที่
ยังไม่คืบหน้าขึ้นมาพิจารณา ซึ่งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ได้แสดงความไม่พอใจที่รัฐบาลไทยยังไม่สามารถสรุปผลการ
เจรจาให้เป็นรูปธรรมภายในปีนี้ และที่ประชุมได้เสนอให้มีการยุติการให้พิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) แก่
ประเทศไทยพร้อมทั้งเสนอให้สหรัฐฯ หันไปเพิ่มสิทธิจีเอสพีแก่ประเทศกำลังพัฒนาจริงๆ เช่น เวียดนามหรือกลุ่ม
ประเทศในแอฟริกา แต่ทั้งนี้ในเบื้องต้นสหรัฐฯ จะทบทวนการให้สิทธิจีเอสพีแก่ไทยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549
โดยสินค้าที่จะถูกตัดจีเอสพี ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกเนื่องจากในปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้าสหรัฐฯ
เกินกว่าเพดานที่สหรัฐฯ กำหนด
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ