นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนเมษายน 2549 ในวันที่ 26 เมษายน 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ในไตรมาสที่ 3 โดยเป็นผลจากการชะลอลงของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการปรับลดลงของการส่งออกสุทธิ ทั้งนี้ ทั้งปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5 ดังที่ประมาณการไว้ในรายงานฉบับก่อน สำหรับข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในไตรมาสแรกของปี 2549 ยังคงสะท้อนการชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อันเป็นผลจากการปรับตัวตอบสนองต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกโดยรวมที่มีทิศทางขยายตัวดีขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี และจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะต่อไป
เสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ลดลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 โดยสะท้อนอัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งสูงขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง กอปรกับการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่รวดเร็วขึ้น มีส่วนช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลงบ้าง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันจะผันผวนและสูงขึ้นยังคงมีอยู่ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อระดับราคาในระยะต่อไป ส่วนเสถียรภาพของระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งในส่วนของสถานะทางการเงินของภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน และภาคสถาบันการเงิน แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบเสถียรภาพของเศรษฐกิจอาจมีมากขึ้น ทั้งจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น รวมทั้งความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจโลกที่อาจก่อให้เกิดความผันผวนในการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศเมื่อต้องมีการปรับสมดุล ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของตลาดการเงิน
สำหรับเสถียรภาพต่างประเทศ ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในไตรมาสแรกของปี 2549 ชี้ว่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาก ในขณะที่การนำเข้าชะลอลงซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงผิดปกติในปีก่อนจากการที่มีการเร่งนำเข้าสินค้าหลายรายการ ส่งผลให้ดุลการค้าโดยรวมปรับตัวดีขึ้นเทียบกับในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ทั้งนี้ ฐานะดุลบริการ รายได้ และเงินโอนสุทธิปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ เครื่องชี้สภาพคล่องด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจเช่นกัน โดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังคงสูงกว่า 3 เท่า
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ข้อสมมติราคาน้ำมันดูไบปรับสูงขึ้นกว่ารายงานฉบับก่อนตลอดช่วงประมาณการ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยสำหรับปี 2549 และ 2550 อยู่ที่ 61.5 และ 63.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลตามลำดับ โดยเป็นผลทั้งจากอุปสงค์น้ำมันดิบโลกที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในขณะที่อุปทานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และจากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันบางราย
2. ข้อสมมติราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับเร่งขึ้นจากข้อสมมติที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนในช่วงแรกของช่วงประมาณการ ก่อนที่จะชะลอลงเข้าสู่แนวโน้มเดิมในช่วงหลัง
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มที่จะยุติการปรับขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 โดยคาดว่าจะไปยุติที่ร้อยละ 5.00 ต่อปี สูงกว่าข้อสมมติที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนร้อยละ 0.25 ต่อปี
4. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าปรับสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชีย โดยอัตราการขยายตัวของประเทศคู่ค้าเฉลี่ยรวมเร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับข้อสมมติในรายงานฉบับก่อนโดยเฉพาะในช่วงแรกของช่วงประมาณการ
5. ผลกระทบของการรอการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต่อการพิจารณางบประมาณ และต่อความไม่แน่นอนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่บางโครงการที่ต้องผ่านกระบวนการประมูลนานาชาติ ส่งผลให้ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐในปีงบประมาณ 2549 และ 2550 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับข้อสมมติเดิม สำหรับข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2549 ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนเนื่องจากอัตราการเบิกจ่ายมีแนวโน้มเป็นไปตามที่เคยคาดไว้ อย่างไรก็ดี รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงจากข้อสมมติที่ใช้ในรายงานฉบับก่อน
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ความเสี่ยงด้านบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาครัฐสามารถจัดทำงบประมาณได้เร็วกว่าในกรณีฐาน ส่วนความเสี่ยงด้านลบ ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นอีก ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อาจปรับลดลงต่อเนื่อง และค่าเงินภูมิภาคที่อาจแข็งขึ้นจากการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศเป็นจำนวนมากมายังประเทศ Emerging Markets
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 และ 2550 มีโอกาสมากที่สุดที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.25-5.25 และ 4.5-6.0 ตามลำดับ โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 87 และ 83 ตามลำดับ
ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ความเสี่ยงที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศเร่งตัวขึ้นจะมาจากราคาน้ำมันที่อาจปรับขึ้นต่อเนื่อง และจากแรงกดดันจากการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำหรับความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงจะมาจากภาวะอุปสงค์ในประเทศที่อาจชะลอตัว และจากค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2549 และ 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0-5.0 และ 2.0-3.5 ตามลำดับ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0-3.0 ทั้งในปี 2549 และ 2550
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินด้านนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงมีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกที่ยังดีอยู่ตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะสูงเกินเป้าหมายในระยะต่อไป กอปรกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันจากร้อยละ 4.25 เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างทรงตัวและมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงติดลบ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน จากร้อยละ 4.50 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : สุรัช แทนบุญ โทร. 0 2283 6185 E-mail: suracht@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ในไตรมาสที่ 3 โดยเป็นผลจากการชะลอลงของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการปรับลดลงของการส่งออกสุทธิ ทั้งนี้ ทั้งปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5 ดังที่ประมาณการไว้ในรายงานฉบับก่อน สำหรับข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในไตรมาสแรกของปี 2549 ยังคงสะท้อนการชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อันเป็นผลจากการปรับตัวตอบสนองต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกโดยรวมที่มีทิศทางขยายตัวดีขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี และจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะต่อไป
เสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ลดลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 โดยสะท้อนอัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งสูงขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง กอปรกับการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่รวดเร็วขึ้น มีส่วนช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลงบ้าง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันจะผันผวนและสูงขึ้นยังคงมีอยู่ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อระดับราคาในระยะต่อไป ส่วนเสถียรภาพของระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งในส่วนของสถานะทางการเงินของภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน และภาคสถาบันการเงิน แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบเสถียรภาพของเศรษฐกิจอาจมีมากขึ้น ทั้งจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น รวมทั้งความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจโลกที่อาจก่อให้เกิดความผันผวนในการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศเมื่อต้องมีการปรับสมดุล ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของตลาดการเงิน
สำหรับเสถียรภาพต่างประเทศ ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในไตรมาสแรกของปี 2549 ชี้ว่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาก ในขณะที่การนำเข้าชะลอลงซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงผิดปกติในปีก่อนจากการที่มีการเร่งนำเข้าสินค้าหลายรายการ ส่งผลให้ดุลการค้าโดยรวมปรับตัวดีขึ้นเทียบกับในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ทั้งนี้ ฐานะดุลบริการ รายได้ และเงินโอนสุทธิปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ เครื่องชี้สภาพคล่องด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจเช่นกัน โดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังคงสูงกว่า 3 เท่า
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ข้อสมมติราคาน้ำมันดูไบปรับสูงขึ้นกว่ารายงานฉบับก่อนตลอดช่วงประมาณการ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยสำหรับปี 2549 และ 2550 อยู่ที่ 61.5 และ 63.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลตามลำดับ โดยเป็นผลทั้งจากอุปสงค์น้ำมันดิบโลกที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในขณะที่อุปทานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และจากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันบางราย
2. ข้อสมมติราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับเร่งขึ้นจากข้อสมมติที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนในช่วงแรกของช่วงประมาณการ ก่อนที่จะชะลอลงเข้าสู่แนวโน้มเดิมในช่วงหลัง
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มที่จะยุติการปรับขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 โดยคาดว่าจะไปยุติที่ร้อยละ 5.00 ต่อปี สูงกว่าข้อสมมติที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนร้อยละ 0.25 ต่อปี
4. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าปรับสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชีย โดยอัตราการขยายตัวของประเทศคู่ค้าเฉลี่ยรวมเร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับข้อสมมติในรายงานฉบับก่อนโดยเฉพาะในช่วงแรกของช่วงประมาณการ
5. ผลกระทบของการรอการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต่อการพิจารณางบประมาณ และต่อความไม่แน่นอนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่บางโครงการที่ต้องผ่านกระบวนการประมูลนานาชาติ ส่งผลให้ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐในปีงบประมาณ 2549 และ 2550 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับข้อสมมติเดิม สำหรับข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2549 ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนเนื่องจากอัตราการเบิกจ่ายมีแนวโน้มเป็นไปตามที่เคยคาดไว้ อย่างไรก็ดี รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงจากข้อสมมติที่ใช้ในรายงานฉบับก่อน
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ความเสี่ยงด้านบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาครัฐสามารถจัดทำงบประมาณได้เร็วกว่าในกรณีฐาน ส่วนความเสี่ยงด้านลบ ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นอีก ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อาจปรับลดลงต่อเนื่อง และค่าเงินภูมิภาคที่อาจแข็งขึ้นจากการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศเป็นจำนวนมากมายังประเทศ Emerging Markets
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 และ 2550 มีโอกาสมากที่สุดที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.25-5.25 และ 4.5-6.0 ตามลำดับ โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 87 และ 83 ตามลำดับ
ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ความเสี่ยงที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศเร่งตัวขึ้นจะมาจากราคาน้ำมันที่อาจปรับขึ้นต่อเนื่อง และจากแรงกดดันจากการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำหรับความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงจะมาจากภาวะอุปสงค์ในประเทศที่อาจชะลอตัว และจากค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2549 และ 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0-5.0 และ 2.0-3.5 ตามลำดับ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0-3.0 ทั้งในปี 2549 และ 2550
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินด้านนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงมีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกที่ยังดีอยู่ตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะสูงเกินเป้าหมายในระยะต่อไป กอปรกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันจากร้อยละ 4.25 เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างทรงตัวและมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงติดลบ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน จากร้อยละ 4.50 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : สุรัช แทนบุญ โทร. 0 2283 6185 E-mail: suracht@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--