นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยต้องเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และ/หรือ กข.๑๕ โดยมีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๒ ไว้ตั้งแต่ในปี ๒๕๔๕ ซึ่งการส่งออกทุกครั้งจะต้องมีพนักงานเซอร์เวย์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทเซอร์เวย์ผู้รับตรวจสินค้าที่ได้รับอนุญาตแล้ว ไปตรวจสอบสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด แล้วผู้ส่งออกจะเอาผลการตรวจสอบนั้น ๆ ไปขอใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ใบรับรองมาตรฐานสินค้านี้ถือเป็นเอกสารสำคัญประกอบการตรวจปล่อยสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศ ณ ที่ด่านศุลกากรที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบและการกำกับดูแลคุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยทั้งหมดเป็นไป ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. ๒๕๐๓ และอยู่ในการดูแลของสำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ
สำนักงานมาตรฐานสินค้า ได้ติดตามตรวจคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องนับตั้งแต่มีมาตรฐานคุณภาพข้าว โดยส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานไปกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานเซอร์เวย์ ณ ที่โกดังของผู้ส่งออก อีกทั้งได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวที่ผ่านการตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว นำมาทำการตรวจทวนอีกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย เบื้องต้น ณ จุดตรวจปล่อยกระทำโดยให้สุ่มชักตัวอย่างข้าวจากกองข้าวทั้งหมดที่จะส่งออกแล้วนำตัวอย่าง จำนวน 100 เมล็ด ซึ่งถือเป็นตัวแทนมาต้มในน้ำเดือด ๑๗ นาที และบดทับเพื่อหาไตข้าว หากเป็นข้าวแข็งอื่น ๆ (อมิโลสเกิน ๑๘ ) จะเห็นเม็ดไตข้าวหรือไตแป้งปรากฎอยู่หากพบเกินกว่า ๘ เมล็ดในตัวอย่างที่เป็นตัวแทน ข้าวนั้นถือว่าความบริสุทธิ์ต่ำกว่ามาตรฐาน และจะไม่อนุญาตให้ส่งออก ต้องนำข้าวทั้งหมดมาปรับปรุงและต้องทำการตรวจสอบเบื้องต้นซ้ำจนกว่าคุณภาพจะผ่าน
การติดตามโดยการตรวจทวนคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยในขณะส่งออก ที่ให้ผลแน่นอน ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย คือ วิธีการวิเคราะห์ สายพันธุกรรม (DNA) ซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าได้เริ่มนำเข้ามาใช้ตรวจสอบ ในช่วงปลายปี ๒๕๔๖ เนื่องจากมีการปลอมปน โดยนำเอาข้าวปทุมธานี ซึ่งเป็นข้าวขาวที่เป็นข้าวนุ่มที่มีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และ กข ๑๕ ซึ่งการตรวจสอบทางกายภาพ และ เคมีภาพตามปกติ ไม่อาจจำแนกชี้บ่งความแตกต่างได้อย่างชัดเจน นอกจากวิธีการข้างต้น ผลการตรวจทวนที่ผ่านมาสามารถแยกสรุปได้เป็น ๓ ระยะดังนี้
๑) ระหว่างตุลาคม ๒๕๔๖ — มีนาคม ๒๕๔๗
สุ่มเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทย จำนวน ๑๐๐ ตัวอย่าง (ข้าวขาว ๘๙ ตัวอย่าง ข้าวผสม ๘๐:๒๐ ๑๑ ตัวอย่าง) จากผู้ส่งออก ๖๔ ราย ได้ตรวจพบว่า มี ข้าว ๔๗ ตัวอย่างหรือ ร้อยละ ๔๗ (ข้าวขาว ๔๓ ตัวอย่าง ข้าวผสม ๔ ตัวอย่าง ) จากผู้ส่งออกข้าว ๓๙ ราย หรือร้อยละ ๖๑ ไม่ได้หรือต่ำกว่า มาตรฐานส่งออกตามกำหนด โดยข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานมีข้าวปทุมธานี และข้าวขาวอื่นปลอมปนลงไป และในจำนวนนี้มี ๔ ตัวอย่างที่แสดงค่า DNA เป็นข้าวปทุมธานีทั้งหมด แต่ส่งออกใช้ชื่อข้าวหอมมะลิ
๒) ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๔๗ — กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ สุ่มเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยจำนวน ๘๙ ตัวอย่าง จากผู้ส่งออก ๗๕ ราย ได้ตรวจพบว่ามีข้าว ๑๓ ตัวอย่างหรือร้อยละ ๑๕ จากผู้ส่งออกข้าว ๑๓ รายหรือร้อยละ ๑๗ ไม่ได้หรือต่ำกว่ามาตรฐานส่งออกตามกำหนด โดยมีข้อสังเกตว่า การปลอมปนลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากใช้การตรวจทวนด้วยวิธีตรวจสอบทางพันธุ์กรรม (DNA) โดยสามารถจำแนกเป็น
ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิระดับร้อยละ ๙๖ - ๙๙ จำนวน ๔๘ ตัวอย่าง (๕๔%)
ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิระดับร้อยละ ๙๒ — ๙๕ จำนวน ๒๘ ตัวอย่าง (๓๑%)
ตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของข้าว ๔๕ - ๙๑ จำนวน ๑๓ ตัวอย่าง (๑๕%)
๓) ระหว่างเมษายน — ธันวาคม ๒๕๔๘
สุ่มเก็บรวมรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทย จำนวน ๒๙๕ ตัวอย่าง จากผู้ส่งออก ๑๑๖ ราย ได้ตรวจพบว่ามีข้าว ๑๗ ตัวอย่างหรือร้อยละ ๖ จากผู้ส่งออก ๑๕ ราย หรือร้อยละ ๑๓ ไม่ได้หรือต่ำกว่ามาตรฐานส่งออกกำหนด โดยจำแนกผลการตรวจสอบทางพันธุ์กรรม (DNA) ดังนี้
ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิ ระดับร้อยละ ๙๖ - ๙๙ จำนวน ๒๑๗ ตัวอย่าง ( ๗๕%) ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิระดับร้อยละ ๙๒ - ๙๕ จำนวน ๕๗ ตัวอย่าง (๑๙%)
ตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของข้าว ๔๕- ๙๑ จำนวน ๑๗ ตัวอย่าง(๖%)
สำนักงานมาตรฐานสินค้า มีภารกิจที่จะต้องสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยในขณะตรวจปล่อย ณ โกดังของผู้ส่งออก เพื่อนำมาตรวจทวน โดยวิธีการตรวจสอบทางพันธุกรรม (DNA) ก่อนที่ข้าวจำนวนนั้น ๆ จะถูกขนถ่ายลงเรือ เพื่อนำไปสู่ตลาดปลายทางตามการซื้อขาย และส่งมอบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการส่งออก ทั้งนี้กระบวนการตรวจทวนจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก โดยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการตรวจทวนเป็นภาระของสำนักงานฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ป้องกันไม่ให้มีการปลอมปนข้าวขาวอื่น ๆ ในข้าวหอมมะลิไทย (๒) กระตุ้นเตือนผู้ส่งออกมิให้ทำการหลอกลวงผู้ซื้อ ผู้บริโภค (๓) สร้างความเชื่อมั่นคุณภาพและแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลกอย่างยังยืน (๔) กระตุ้นการผลิตและการจำหน่ายข้าวหอมมะลิให้เป็นข้าวชั้นดีกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และ (๕) เผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สังคม อาทิ เกษตรกร ผู้บริโภค ตลอดจนองค์กร หน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไป
เมื่อตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าล็อตนั้น ๆ จะถูกอายัดทันทีและจะมีการลงโทษผู้ส่งออกเป็นลำดับไปโดยการตักเตือน ภาคทัณฑ์ และ หากพบกระทำความผิดซ้ำซากก็จะถูกระงับการอนุญาตให้เป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิได้ การรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งทุกส่วนงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องรีบเร่งแก้ไขดำเนินการ เพื่อให้ข้าวหอมมะลิไทยหอมหวลอย่างยาวนาน นายราเชนทร์ฯ กล่าวในที่สุด
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
สำนักงานมาตรฐานสินค้า ได้ติดตามตรวจคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องนับตั้งแต่มีมาตรฐานคุณภาพข้าว โดยส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานไปกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานเซอร์เวย์ ณ ที่โกดังของผู้ส่งออก อีกทั้งได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวที่ผ่านการตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว นำมาทำการตรวจทวนอีกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย เบื้องต้น ณ จุดตรวจปล่อยกระทำโดยให้สุ่มชักตัวอย่างข้าวจากกองข้าวทั้งหมดที่จะส่งออกแล้วนำตัวอย่าง จำนวน 100 เมล็ด ซึ่งถือเป็นตัวแทนมาต้มในน้ำเดือด ๑๗ นาที และบดทับเพื่อหาไตข้าว หากเป็นข้าวแข็งอื่น ๆ (อมิโลสเกิน ๑๘ ) จะเห็นเม็ดไตข้าวหรือไตแป้งปรากฎอยู่หากพบเกินกว่า ๘ เมล็ดในตัวอย่างที่เป็นตัวแทน ข้าวนั้นถือว่าความบริสุทธิ์ต่ำกว่ามาตรฐาน และจะไม่อนุญาตให้ส่งออก ต้องนำข้าวทั้งหมดมาปรับปรุงและต้องทำการตรวจสอบเบื้องต้นซ้ำจนกว่าคุณภาพจะผ่าน
การติดตามโดยการตรวจทวนคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยในขณะส่งออก ที่ให้ผลแน่นอน ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย คือ วิธีการวิเคราะห์ สายพันธุกรรม (DNA) ซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าได้เริ่มนำเข้ามาใช้ตรวจสอบ ในช่วงปลายปี ๒๕๔๖ เนื่องจากมีการปลอมปน โดยนำเอาข้าวปทุมธานี ซึ่งเป็นข้าวขาวที่เป็นข้าวนุ่มที่มีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และ กข ๑๕ ซึ่งการตรวจสอบทางกายภาพ และ เคมีภาพตามปกติ ไม่อาจจำแนกชี้บ่งความแตกต่างได้อย่างชัดเจน นอกจากวิธีการข้างต้น ผลการตรวจทวนที่ผ่านมาสามารถแยกสรุปได้เป็น ๓ ระยะดังนี้
๑) ระหว่างตุลาคม ๒๕๔๖ — มีนาคม ๒๕๔๗
สุ่มเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทย จำนวน ๑๐๐ ตัวอย่าง (ข้าวขาว ๘๙ ตัวอย่าง ข้าวผสม ๘๐:๒๐ ๑๑ ตัวอย่าง) จากผู้ส่งออก ๖๔ ราย ได้ตรวจพบว่า มี ข้าว ๔๗ ตัวอย่างหรือ ร้อยละ ๔๗ (ข้าวขาว ๔๓ ตัวอย่าง ข้าวผสม ๔ ตัวอย่าง ) จากผู้ส่งออกข้าว ๓๙ ราย หรือร้อยละ ๖๑ ไม่ได้หรือต่ำกว่า มาตรฐานส่งออกตามกำหนด โดยข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานมีข้าวปทุมธานี และข้าวขาวอื่นปลอมปนลงไป และในจำนวนนี้มี ๔ ตัวอย่างที่แสดงค่า DNA เป็นข้าวปทุมธานีทั้งหมด แต่ส่งออกใช้ชื่อข้าวหอมมะลิ
๒) ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๔๗ — กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ สุ่มเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยจำนวน ๘๙ ตัวอย่าง จากผู้ส่งออก ๗๕ ราย ได้ตรวจพบว่ามีข้าว ๑๓ ตัวอย่างหรือร้อยละ ๑๕ จากผู้ส่งออกข้าว ๑๓ รายหรือร้อยละ ๑๗ ไม่ได้หรือต่ำกว่ามาตรฐานส่งออกตามกำหนด โดยมีข้อสังเกตว่า การปลอมปนลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากใช้การตรวจทวนด้วยวิธีตรวจสอบทางพันธุ์กรรม (DNA) โดยสามารถจำแนกเป็น
ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิระดับร้อยละ ๙๖ - ๙๙ จำนวน ๔๘ ตัวอย่าง (๕๔%)
ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิระดับร้อยละ ๙๒ — ๙๕ จำนวน ๒๘ ตัวอย่าง (๓๑%)
ตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของข้าว ๔๕ - ๙๑ จำนวน ๑๓ ตัวอย่าง (๑๕%)
๓) ระหว่างเมษายน — ธันวาคม ๒๕๔๘
สุ่มเก็บรวมรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทย จำนวน ๒๙๕ ตัวอย่าง จากผู้ส่งออก ๑๑๖ ราย ได้ตรวจพบว่ามีข้าว ๑๗ ตัวอย่างหรือร้อยละ ๖ จากผู้ส่งออก ๑๕ ราย หรือร้อยละ ๑๓ ไม่ได้หรือต่ำกว่ามาตรฐานส่งออกกำหนด โดยจำแนกผลการตรวจสอบทางพันธุ์กรรม (DNA) ดังนี้
ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิ ระดับร้อยละ ๙๖ - ๙๙ จำนวน ๒๑๗ ตัวอย่าง ( ๗๕%) ความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิระดับร้อยละ ๙๒ - ๙๕ จำนวน ๕๗ ตัวอย่าง (๑๙%)
ตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของข้าว ๔๕- ๙๑ จำนวน ๑๗ ตัวอย่าง(๖%)
สำนักงานมาตรฐานสินค้า มีภารกิจที่จะต้องสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยในขณะตรวจปล่อย ณ โกดังของผู้ส่งออก เพื่อนำมาตรวจทวน โดยวิธีการตรวจสอบทางพันธุกรรม (DNA) ก่อนที่ข้าวจำนวนนั้น ๆ จะถูกขนถ่ายลงเรือ เพื่อนำไปสู่ตลาดปลายทางตามการซื้อขาย และส่งมอบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการส่งออก ทั้งนี้กระบวนการตรวจทวนจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก โดยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการตรวจทวนเป็นภาระของสำนักงานฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ป้องกันไม่ให้มีการปลอมปนข้าวขาวอื่น ๆ ในข้าวหอมมะลิไทย (๒) กระตุ้นเตือนผู้ส่งออกมิให้ทำการหลอกลวงผู้ซื้อ ผู้บริโภค (๓) สร้างความเชื่อมั่นคุณภาพและแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลกอย่างยังยืน (๔) กระตุ้นการผลิตและการจำหน่ายข้าวหอมมะลิให้เป็นข้าวชั้นดีกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และ (๕) เผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สังคม อาทิ เกษตรกร ผู้บริโภค ตลอดจนองค์กร หน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไป
เมื่อตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าล็อตนั้น ๆ จะถูกอายัดทันทีและจะมีการลงโทษผู้ส่งออกเป็นลำดับไปโดยการตักเตือน ภาคทัณฑ์ และ หากพบกระทำความผิดซ้ำซากก็จะถูกระงับการอนุญาตให้เป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิได้ การรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งทุกส่วนงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องรีบเร่งแก้ไขดำเนินการ เพื่อให้ข้าวหอมมะลิไทยหอมหวลอย่างยาวนาน นายราเชนทร์ฯ กล่าวในที่สุด
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-