วันนี้ (12 ก.ค. 49 )ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทยถึง นายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่าการเขียนจดหมายจากผู้นำรัฐบาลคนหนึ่งไปสู่ผู้นำรัฐบาลอีกคนหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่เรื่องที่ทำต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ความมั่นคง หรือเรื่องที่มีความสำคัญต่อผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย จะไม่มีการเขียนจดหมายหรือทำหนังสือถึงอีกฝ่ายหนึ่งท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมือง หรือในขณะที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเลือกตั้ง ยังไม่เสร็จสิ้น หรืออยู่ในภาวะของความขัดแย้ง
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ทำหนังสือไปเหมือนกับเป็นการขอความเห็นใจ เป็นการเล่าความที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประสบอยู่ในทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องภายในของประเทศ และเป็นกระบวนการทางการเมืองภายใน เป็นการเล่าความจากทัศนะและความคิดเห็นของผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง และมีส่วนได้เสีย เพราะฉะนั้นการเขียนจดหมายถึงผู้นำของอีกประเทศหนึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การเขียนจดหมายในขณะที่ตนอยู่ในกระบวนการเลือกตั้ง อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง และมีส่วนได้เสียกับกระบวนการทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน
“ถ้าจะตั้งตัวเป็นผู้ปกป้องกระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการรัฐธรรมนูญ คำถามที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่นายกฯ เรียกว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายต่อต้าน อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะปัญหาที่ไม่สามารถอธิบายได้ ในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ สิทธิเสรีภาพของประชาชน และสื่อมวลชน เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน การตรวจสอบ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่อยู่กรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น การที่ไม่สามารถที่จะอธิบายหรือ ไม่สามารถให้โอกาส ในการตรวจสอบ หรือการมีส่วนร่วม และไม่สามารถสร้างความมั่นใจว่า ความขัดแย้ง ผลประโยชน์ คอรัปชั่น ได้รับการแก้ไขแล้ว หรือเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์จากอำนาจไม่เกิดขึ้น การสนับสนุนพวกพ้องให้หาประโยชน์จากอำนาจที่มีอยู่ไม่มีแล้ว ทั้งหมดต้องสามารถตอบคำถามได้ เพราะเป็นคำถามที่อยู่ในกรอบและในกระบวนของรัฐธรรมนูญทั้งสิน” ดร.สุรินทร์ กล่าว
ดร.สุรินทร์ กล่าวต่อว่า การตรวจสอบภายในระบอบรัฐธรรมนูญ การมีองค์ที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมไม่ให้การใช้อำนาจของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง เกินเลยจากกรอบของกฎหมาย ทั้งหมดอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้ได้ถูกทำลายไปจนสิ้น ข้อเท็จจริงตรงนี้ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือ ระบุเพียงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นผู้พิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยให้ถึงที่สุด และจะจัดให้มีการเลือกตั้งให้บริสุทธิ แต่ถ้าพิจารณาจดหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ได้ส่งไปถึงนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาตนมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นการต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจของตนเอง และเป็นการมองว่าคนอื่น ไม่ถูกต้อง และมองว่าคนอื่นอยู่นอกกระบวนการรัฐธรรมนูญ
“เชื่อว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดความรุนแรงขึ้นเหมือนที่ถูกกล่าวหาในหนังสือถึงประธานาธิบดีบุช ทุกคนดำเนินการภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ การรวมตัวกันอย่างสงบ และไม่ใช้อาวุธ และไม่ใช้ความรุนแรงถือเป็นสิทธิ ที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่กล่าวถึงอำนาจนอกกระบวนการรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มองปัญหาจากทัศนะคติของตนเอง ส่วนฝ่ายที่พยายามสร้างความถูกต้องให้เกิดขึ้น ก็ได้ดำเนินการในกรอบรัฐธรรมนูญ” ดร.สุรินทร์ กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จดหมายที่ตอบรับของประธานาธิบดีก็มีลักษณะกว้างๆ เหมือนมีเจตนาบอกว่ากระบวนการประชาธิปไตยไม่สามารถที่คาดการหรือทำนายได้ ว่าจะออกมาอย่างไร ตราบใดที่ผลออกมาตามกรอบรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นที่ยอมรับ ส่วนเรื่องตัวบุคคล ทักษิณหรือใครไม่ใช่สาระสำคัญจะเป็นใครก็ตามที่ผ่านกระบวนคัดสรรตามกรอบรัฐธรรมนูญ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐยังต้องคงอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาของผู้นำคนใดคนหนึ่ง หากผู้นำคนใดขึ้นมามีฐานะบทบาท และอำนาจ ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐกับรัฐก็จะดำเนินต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ค. 2549--จบ--
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ทำหนังสือไปเหมือนกับเป็นการขอความเห็นใจ เป็นการเล่าความที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประสบอยู่ในทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องภายในของประเทศ และเป็นกระบวนการทางการเมืองภายใน เป็นการเล่าความจากทัศนะและความคิดเห็นของผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง และมีส่วนได้เสีย เพราะฉะนั้นการเขียนจดหมายถึงผู้นำของอีกประเทศหนึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การเขียนจดหมายในขณะที่ตนอยู่ในกระบวนการเลือกตั้ง อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง และมีส่วนได้เสียกับกระบวนการทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน
“ถ้าจะตั้งตัวเป็นผู้ปกป้องกระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการรัฐธรรมนูญ คำถามที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่นายกฯ เรียกว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายต่อต้าน อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะปัญหาที่ไม่สามารถอธิบายได้ ในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ สิทธิเสรีภาพของประชาชน และสื่อมวลชน เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน การตรวจสอบ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่อยู่กรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น การที่ไม่สามารถที่จะอธิบายหรือ ไม่สามารถให้โอกาส ในการตรวจสอบ หรือการมีส่วนร่วม และไม่สามารถสร้างความมั่นใจว่า ความขัดแย้ง ผลประโยชน์ คอรัปชั่น ได้รับการแก้ไขแล้ว หรือเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์จากอำนาจไม่เกิดขึ้น การสนับสนุนพวกพ้องให้หาประโยชน์จากอำนาจที่มีอยู่ไม่มีแล้ว ทั้งหมดต้องสามารถตอบคำถามได้ เพราะเป็นคำถามที่อยู่ในกรอบและในกระบวนของรัฐธรรมนูญทั้งสิน” ดร.สุรินทร์ กล่าว
ดร.สุรินทร์ กล่าวต่อว่า การตรวจสอบภายในระบอบรัฐธรรมนูญ การมีองค์ที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมไม่ให้การใช้อำนาจของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง เกินเลยจากกรอบของกฎหมาย ทั้งหมดอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้ได้ถูกทำลายไปจนสิ้น ข้อเท็จจริงตรงนี้ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือ ระบุเพียงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นผู้พิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยให้ถึงที่สุด และจะจัดให้มีการเลือกตั้งให้บริสุทธิ แต่ถ้าพิจารณาจดหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ได้ส่งไปถึงนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาตนมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นการต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจของตนเอง และเป็นการมองว่าคนอื่น ไม่ถูกต้อง และมองว่าคนอื่นอยู่นอกกระบวนการรัฐธรรมนูญ
“เชื่อว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดความรุนแรงขึ้นเหมือนที่ถูกกล่าวหาในหนังสือถึงประธานาธิบดีบุช ทุกคนดำเนินการภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ การรวมตัวกันอย่างสงบ และไม่ใช้อาวุธ และไม่ใช้ความรุนแรงถือเป็นสิทธิ ที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่กล่าวถึงอำนาจนอกกระบวนการรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มองปัญหาจากทัศนะคติของตนเอง ส่วนฝ่ายที่พยายามสร้างความถูกต้องให้เกิดขึ้น ก็ได้ดำเนินการในกรอบรัฐธรรมนูญ” ดร.สุรินทร์ กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จดหมายที่ตอบรับของประธานาธิบดีก็มีลักษณะกว้างๆ เหมือนมีเจตนาบอกว่ากระบวนการประชาธิปไตยไม่สามารถที่คาดการหรือทำนายได้ ว่าจะออกมาอย่างไร ตราบใดที่ผลออกมาตามกรอบรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นที่ยอมรับ ส่วนเรื่องตัวบุคคล ทักษิณหรือใครไม่ใช่สาระสำคัญจะเป็นใครก็ตามที่ผ่านกระบวนคัดสรรตามกรอบรัฐธรรมนูญ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐยังต้องคงอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาของผู้นำคนใดคนหนึ่ง หากผู้นำคนใดขึ้นมามีฐานะบทบาท และอำนาจ ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐกับรัฐก็จะดำเนินต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ค. 2549--จบ--