การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรายงานผลความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลก
ด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและภาคธุรกิจ
(Workshop on Thailand Country Development Partnership: Financial and Corporate Competitiveness)
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรายงานผลความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลกในด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและภาคธุรกิจ ซึ่งธนาคารโลกเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนตัล กรุงเทพฯ ดังนี้
1. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้รับเกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และมีนาย Ian C. Porter, Country Director ของธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวถึงวัตถุประสงค์และความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการดังกล่าว
2. ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมการประกันภัย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ธนาคาร
แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศกับธนาคารโลกเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและภาคธุรกิจ (Country Development Partnership on Financial and Corporate Sector Competitiveness: CDP-FC) ซึ่งเริ่มต้นดำเนินการในเดือนเมษายน 2546 และสิ้นสุดในปี 2549 ซึ่งเป็นโครงการระยะปานกลางที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ในรูปแบบผู้ให้กู้และผู้กู้ไปเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง โดยในการดำเนินโครงการ CDP-FC นั้น ธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการเสนอนโยบาย การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรของหน่วยงานของประเทศไทย
โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทยและธนาคารโลกได้ดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (Country Development Partnership for Competitiveness: CDP-C) เสร็จไปแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544-กรกฎาคม 2545
4. ธนาคารโลกได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง CDP-FC เป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานผลความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการ ทบทวนและตรวจสอบความยั่งยืนและความคืบหน้าของโครงการ ทบทวนถึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ และหาทางที่จะนำเอาผลงานที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาในประเทศอื่นๆต่อไป โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อปิดโครงการดังกล่าว
5. สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลกภายใต้โครงการ CDP-FC ประกอบด้วย การพัฒนาใน 6 ด้านหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์และโครงสร้างภาคการเงิน (Financial Sector Strategy and Structure) กฎเกณฑ์การกำกับดูแล (Regulatory and Supervisory Regime) การปรับโครงสร้างหนี้และและโครงสร้างธุรกิจ (Corporate and Debt Restructuring) การปรับฐานความเสี่ยงการกู้ยืม (New Lending on Risk Adjusted Basis) การสร้างธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจและวินัยการตลาด (Market Discipline and Corporate Governance) และการพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development) ซึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ได้มีโอกาสรายงานผลความคืบหน้าในแต่ละด้าน ตลอดจนการทบทวนถึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยการประชุมประสบความสำเร็จไปด้วยดีและธนาคารโลกจะได้นำผลสรุปไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 55/2549 8 มิถุนายน 49--
ด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและภาคธุรกิจ
(Workshop on Thailand Country Development Partnership: Financial and Corporate Competitiveness)
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรายงานผลความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลกในด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและภาคธุรกิจ ซึ่งธนาคารโลกเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนตัล กรุงเทพฯ ดังนี้
1. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้รับเกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และมีนาย Ian C. Porter, Country Director ของธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวถึงวัตถุประสงค์และความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการดังกล่าว
2. ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมการประกันภัย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ธนาคาร
แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศกับธนาคารโลกเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและภาคธุรกิจ (Country Development Partnership on Financial and Corporate Sector Competitiveness: CDP-FC) ซึ่งเริ่มต้นดำเนินการในเดือนเมษายน 2546 และสิ้นสุดในปี 2549 ซึ่งเป็นโครงการระยะปานกลางที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ในรูปแบบผู้ให้กู้และผู้กู้ไปเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง โดยในการดำเนินโครงการ CDP-FC นั้น ธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการเสนอนโยบาย การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรของหน่วยงานของประเทศไทย
โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทยและธนาคารโลกได้ดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (Country Development Partnership for Competitiveness: CDP-C) เสร็จไปแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544-กรกฎาคม 2545
4. ธนาคารโลกได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง CDP-FC เป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานผลความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการ ทบทวนและตรวจสอบความยั่งยืนและความคืบหน้าของโครงการ ทบทวนถึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ และหาทางที่จะนำเอาผลงานที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาในประเทศอื่นๆต่อไป โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อปิดโครงการดังกล่าว
5. สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและธนาคารโลกภายใต้โครงการ CDP-FC ประกอบด้วย การพัฒนาใน 6 ด้านหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์และโครงสร้างภาคการเงิน (Financial Sector Strategy and Structure) กฎเกณฑ์การกำกับดูแล (Regulatory and Supervisory Regime) การปรับโครงสร้างหนี้และและโครงสร้างธุรกิจ (Corporate and Debt Restructuring) การปรับฐานความเสี่ยงการกู้ยืม (New Lending on Risk Adjusted Basis) การสร้างธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจและวินัยการตลาด (Market Discipline and Corporate Governance) และการพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development) ซึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ได้มีโอกาสรายงานผลความคืบหน้าในแต่ละด้าน ตลอดจนการทบทวนถึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยการประชุมประสบความสำเร็จไปด้วยดีและธนาคารโลกจะได้นำผลสรุปไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 55/2549 8 มิถุนายน 49--