บุรีรัมย์ จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติกว่า 163 ล้านบาท รวม 8 หมื่นกว่าราย ยังเหลือ 1,709 ราย เป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท กำหนดจ่ายให้เสร็จภายในปี 49 นี้
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากทางจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ว่า ทางจังหวัดได้จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2547 (ณ วันที่ 31 มกราคม 2549) ทั้งด้านพืชและสัตว์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 163 ล้านบาท โดยจ่ายเงินไปแล้ว 84,807 ราย คิดเป็นเงิน 160 กว่าล้านบาท หรือร้อยละ 98.02 และคงเหลือ 1,709 ราย คิดเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.98 โดยอำเภอที่ประสบภัยธรรมชาติมากที่สุดได้แก่ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมือง อำเภอนางรอง และอำเภอกระสัง ตามลำดับ ซึ่งการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2547 ที่คงเหลืออยู่ 1,709 ราย คิดเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท นั้น ทางจังหวัดจะได้ดำเนินการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปี 2549 นี้ ขณะเดียวกัน ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติในปี 2548 ทางจังหวัดจะเร่งดำเนินการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติให้เร็วที่สุด ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายๆ ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง หรือน้ำท่วม โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 - 6 มกราคม 2549 มีเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติทั้งสิ้น 35,585 ราย จากทั้งหมด 15 อำเภอ 82 ตำบล 719 หมู่บ้าน โดยด้านพืช มีพื้นที่ปลูกข้าวประสบภัย 554,110 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 323,704 ไร่, ยางฯ ประสบภัย 5,196 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 2,743 ไร่, อ้อยประสบภัย 22,522 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 14,214 ไร่, มันฯ ประสบภัย 2,746 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 1,561 ไร่, ไม้ผลพืชผัก ประสบภัย 1,629 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 934 ไร่, พืชอื่นๆ ประสบภัย 6,182 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 3,949 ไร่ ส่วนด้านการประมงพบกระชังปลาเสียหาย 425 กระชัง, บ่อปลาเสียหาย 2 บ่อ รวม 1.5 ไร่ และด้านปศุสัตว์ พบแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ประสบภัย 1,110 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 970 ไร่ ซึ่งรวมมูลค่าความเสียหายทั้ง 3 ด้านเป็นจำนวนถึง 86,047,925 บาท
สำหรับภัยธรรมชาติ นับปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบต้องอพยพแรงงานไปทำงานรับจ้างที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เพื่อที่จะหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก และเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกหลาน หรือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายๆ กัน สำหรับผู้ประสบภัยธรรมชาติในแต่ละปี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากทางจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ว่า ทางจังหวัดได้จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2547 (ณ วันที่ 31 มกราคม 2549) ทั้งด้านพืชและสัตว์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 163 ล้านบาท โดยจ่ายเงินไปแล้ว 84,807 ราย คิดเป็นเงิน 160 กว่าล้านบาท หรือร้อยละ 98.02 และคงเหลือ 1,709 ราย คิดเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.98 โดยอำเภอที่ประสบภัยธรรมชาติมากที่สุดได้แก่ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมือง อำเภอนางรอง และอำเภอกระสัง ตามลำดับ ซึ่งการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2547 ที่คงเหลืออยู่ 1,709 ราย คิดเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท นั้น ทางจังหวัดจะได้ดำเนินการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปี 2549 นี้ ขณะเดียวกัน ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติในปี 2548 ทางจังหวัดจะเร่งดำเนินการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติให้เร็วที่สุด ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายๆ ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง หรือน้ำท่วม โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 - 6 มกราคม 2549 มีเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติทั้งสิ้น 35,585 ราย จากทั้งหมด 15 อำเภอ 82 ตำบล 719 หมู่บ้าน โดยด้านพืช มีพื้นที่ปลูกข้าวประสบภัย 554,110 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 323,704 ไร่, ยางฯ ประสบภัย 5,196 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 2,743 ไร่, อ้อยประสบภัย 22,522 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 14,214 ไร่, มันฯ ประสบภัย 2,746 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 1,561 ไร่, ไม้ผลพืชผัก ประสบภัย 1,629 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 934 ไร่, พืชอื่นๆ ประสบภัย 6,182 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 3,949 ไร่ ส่วนด้านการประมงพบกระชังปลาเสียหาย 425 กระชัง, บ่อปลาเสียหาย 2 บ่อ รวม 1.5 ไร่ และด้านปศุสัตว์ พบแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ประสบภัย 1,110 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 970 ไร่ ซึ่งรวมมูลค่าความเสียหายทั้ง 3 ด้านเป็นจำนวนถึง 86,047,925 บาท
สำหรับภัยธรรมชาติ นับปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบต้องอพยพแรงงานไปทำงานรับจ้างที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เพื่อที่จะหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก และเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของลูกหลาน หรือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายๆ กัน สำหรับผู้ประสบภัยธรรมชาติในแต่ละปี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-