ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. นักธุรกิจประเมินเศรษฐกิจไทยปี 48 ขยายตัวลดลง ธปท. รายงานแนวโน้มธุรกิจเดือน มี.ค.48
จากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจ ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ 126 ราย
ในช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค.48 ส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะยังขยายตัว แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่อง
จากปัจจัยเสี่ยงทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะเพิ่มขึ้น วัตถุดิบพื้นฐานราคาเพิ่มขึ้น
ภัยจากการก่อการร้าย และการเกิดธรณีพิบัติที่คาดไม่ถึง ผู้ประกอบการยังให้ความคิดเห็นว่า ตอนนี้ภาคการบริโภค
จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนภาคการลงทุนยังมีแนว
โน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ ทำให้การ
ลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัยและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ
มากขึ้น แต่การลงทุนเพื่อขยายโรงงานชะลอลง เพราะลงทุนไปแล้วและวิตกในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการคาดว่าในช่วงปลายปี 48 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะพิ่มขึ้นจากต้นปีประมาณร้อยละ 1 และเนื่อง
จากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจย้ายเงินฝากไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่ผลตอบแทนสูงกว่า
มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าสภาพคล่องส่วนเกินคงจะไม่ลดลงเร็วนัก ด้านภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสแรกของปี 48
นักท่องเที่ยวจะลดลงมากกว่าร้อยละ 80 ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่คาดว่า
สถานการณ์ในปีนี้จะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ในขณะที่ภาคการส่งออกยังขยายตัวดีตามเกณฑ์การขยายตัวของ
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ
คือ การแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาท และเรื่องที่ประเทศคู่แข่งสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่ามาก
ด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต ในภาคการเกษตรเกิดภาวะภัยแล้งตั้งแต่ปลายปี 47 ทำให้ผลผลิตลดลงจากปีก่อน
ส่วนภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมีสาเหตุจากอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศชะลอลง
การขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งและธรณีพิบัติ แต่มีบางอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี เช่น อัญมณี การผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในกลุ่มไฮเอนด์ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. หนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นปี 47 มีจำนวน 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ.ธปท.
รายงานผลการสำรวจภาวะหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นปี 47 มีจำนวน 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือน ก.ย.47 จำนวน 700 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากอัตรา
แลกเปลี่ยนที่เงินสกุลหลักแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นแยกเป็น หนี้ที่กู้ยืมตามรายงาน
ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงิน 310 ล้านดอลลาร์ สรอ. หนี้ที่เปลี่ยนแปลงจากอัตราแลกเปลี่ยน 730 ล้านดอลลาร์
สรอ. และหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากเงินกู้ที่ไม่นำเข้า 30 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ในส่วนหนี้ที่ลดลงจากการปรับโครงสร้าง
หนี้และหนี้อื่น ๆ มีจำนวน 370 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ หนี้จำนวน 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นหนี้
ประเภท
เงินกู้เงินตราต่างประเทศจากเจ้าหนี้ในต่างประเทศ จำนวน 1.64 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ตราสารหนี้สกุล
เงินตราต่างประเทศ 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้เงินกู้และตราสารหนี้สกุลเงินบาท 6.3 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ระยะยาว 16.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 66.9 ของหนี้ทั้งหมด หนี้ระยะสั้น
1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 6 ของหนี้ทั้งหมด และหนี้ที่ไม่กำหนดระยะเวลาชำระคืน หนี้ที่ชำระคืน
เมื่อทวงถาม จำนวน 6.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 27.1 (มติชน)
3. ก.คลังเตรียมออกซามูไรบอนด์ วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า
ขณะนี้ รมว.คลังได้เห็นชอบในหลักการให้ ก.คลังออกพันธบัตรรัฐบาลเสนอขายในตลาดต่างประเทศในรูปเงินเยน
(ซามูไรบอนด์) วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท อายุ 3 ปี และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับเยนสวอป 3 ปี บวก
ไม่เกินร้อยละ 0.10 ส่วนช่วงเวลาที่จะระดมทุนประมาณต้นเดือน มิ.ย.นี้ โดยได้คัดเลือก บล.โนมูระ เป็นตัวแทน
จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายพันธบัตรดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยเงินที่ระดมได้จะนำไปใช้ในการปรับ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล เพื่อลดภาระดอกเบี้ย คาดว่าเงินก้อนแรกจะนำไปชำระหนี้ ธ.เพื่อความร่วม
มือระหว่างประเทศ (เจบิก) ก่อนกำหนดในวงเงินกู้ส่วนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง (มติชน)
4. บรรษัทและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐร่วมมือกันแก้ปัญหาเอ็นพีแอล นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัด ก.คลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างบรรษัทและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของ
รัฐทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.)
บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด และ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด ว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหา
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อความคล่องตัว รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐ
สำหรับสาระสำคัญที่จะร่วมมือปฏิบัติใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) การประนอมหนี้ 2) การใช้สถานที่เพื่อเจรจาหนี้กับ
ลูกหนี้ 3) งานประเมินราคาและงานสืบทรัพย์ 4) งานพิธีการสินเชื่อ 5) งานสำรวจดูแลทรัพย์ และ 6)
การร่วมกันจัดมหกรรมขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกัน ถือเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อเร่งดำเนินการลดสินทรัพย์ที่
ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบปีที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 17 พ.ค.48 เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบปี เทียบกับ สรอ.ซึ่งเศรษฐกิจ
ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า
ยอดส่งออกที่ลดลง โดยการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
อันเป็นผลจากการจ้างงานและค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราการว่างงานในเดือน มี.ค.48 อยู่ที่ร้อยละ 4.5
เทียบกับร้อยละ 4.7 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินโบนัสปลายปีในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
เมื่อเทียบกับปีก่อน เงินโบนัสเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี นอกจากนี้รายได้ของภาคธุรกิจที่ดีขึ้นได้กระตุ้นให้การ
ใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 โดยคาดว่า
ธุรกิจในญี่ปุ่นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตและอิเล็คทรอนิกส์จะมีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์และมีรายได้เพิ่มขึ้น
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่การส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจมาโดยตลอดลดลง
ร้อยละ 0.1 จากความต้องการสินค้าญี่ปุ่นในตลาดเอเชียลดลง โดยยอดส่งออกไปยังจีนลดลงในเดือน ก.พ.48
เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 20 ในปี 47 อันเป็นผลกระทบจากมาตรการชะลอความร้อน
แรงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน (รอยเตอร์)
1.ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือนเม.ย.ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดใน
รอบ 18 เดือน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน
เม.ย. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อของจีนอยู่ที่ร้อยละ 1.8 น้อยกว่าผลการสำรวจของ
รอยเตอร์ที่คาดว่า CPI จะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ชะลอตัวอย่างมากจากร้อยละ 2.7 ในเดือนมี.ค. และอยู่ในระดับต่ำ
สุดในรอบ 18 เดือน ทำให้คลายความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ท่ามกลางการเก็งกำไรค่าเงินหยวน และส่งผลดีต่อ
ธ.กลางจีนในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายใต้แรงกดดันจากต่างชาติเพื่อให้มีการปรับค่าเงินหยวน นักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่าเมื่อเทียบกับปี 47 ซึ่งเป็นปีที่เงินเฟ้อสูงในปีนี้ราคาอาหารมีเสถียรภาพมากขึ้นและบริษัทก็ยินดีที่จะลดส่วน
ต่างผลกำไรลวมากกว่าที่จะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงแม้ว่าค่าจ้างและ
น้ำมันจะมีราคาสูงขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนในปีนี้มีความเป็นไปได้น้อย
แต่หากมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว(รอยเตอร์)
1. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 3.6
รายงานจากโซลเมื่อ 17 พ.ค.48 The National Statistical Office เปิดเผยว่า อัตราการว่างงาน
(หลังปรับฤดูกาล)ของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.48 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในช่วง 2 เดือน
ก่อนหน้า (มี.ค. และ ก.พ.48) นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ส.ค.47 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนัก
เศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ในขณะที่แรงงานจากการจ้างงานมีจำนวน 22.809 ล้านคน
ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ทั้งนี้ สัญญาณการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศในปี 48 นี้ ได้ช่วยเสริม
ความคาดหวังว่า อัตราการว่างงานอาจชะลอตัวลง ซึ่ง รมว.คลัง กล่าวว่า ตลาดแรงงานเกาหลีใต้จะฟื้นตัวในอัตรา
เร่งในช่วงครึ่งหลังของปี 48 เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้การฟื้นตัวของความ
ต้องการในประเทศ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความคาดหมายว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่ง ก.คลังได้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ที่ร้อยละ 5 ในขณะที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้คาดการณ์ที่ร้อยละ 4 ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในปี 47 (รอยเตอร์)
1.รัฐบาลสิงคโปร์ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 48 ลงเหลือระหว่างร้อยละ 2.5-4.5
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 พ.ค.48 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า รัฐบาลประกาศปรับลดประมาณการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 48 ลงเหลือระหว่างร้อยละ 2.5-4.5 จากร้อยละ 3.0-5.0 หลังจากที่เศรษฐกิจใน
ไตรมาสแรกที่ผ่านมาชะลอตัวที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งต่ำกว่าที่รัฐบาลประมาณการไว้เมื่อเดือน เม.ย.48 ว่าผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.8 (ขณะที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.3)
เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตและภาวะการส่งออกชะลอตัว ทั้งนี้ จีดีพีที่ปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้วในไตรมาส 1 ปี 48
(ที่แสดงถึงมูลค่าของสินค้าและบริการโดยรวมในระบบเศรษฐกิจ) ลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากที่เคยลดลงในไตรมาส 2
ปี 46 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดซาร์ส อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์เคยแข็งแกร่งสูงสุดในรอบ 4 ปี
ที่ร้อยละ 8.4 ในปี 47 ที่ผ่านมา ส่วนในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับ
ที่นักวิเคราะห์ประมาณการว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 และใกล้เคียงกับที่ รมว.คลังและอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ค. 48 16 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.759 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5354/39.8151 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.3125 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.76/15.29 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.35 43.72 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. นักธุรกิจประเมินเศรษฐกิจไทยปี 48 ขยายตัวลดลง ธปท. รายงานแนวโน้มธุรกิจเดือน มี.ค.48
จากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจ ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ 126 ราย
ในช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค.48 ส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะยังขยายตัว แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่อง
จากปัจจัยเสี่ยงทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะเพิ่มขึ้น วัตถุดิบพื้นฐานราคาเพิ่มขึ้น
ภัยจากการก่อการร้าย และการเกิดธรณีพิบัติที่คาดไม่ถึง ผู้ประกอบการยังให้ความคิดเห็นว่า ตอนนี้ภาคการบริโภค
จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนภาคการลงทุนยังมีแนว
โน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ ทำให้การ
ลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัยและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ
มากขึ้น แต่การลงทุนเพื่อขยายโรงงานชะลอลง เพราะลงทุนไปแล้วและวิตกในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการคาดว่าในช่วงปลายปี 48 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะพิ่มขึ้นจากต้นปีประมาณร้อยละ 1 และเนื่อง
จากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจย้ายเงินฝากไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่ผลตอบแทนสูงกว่า
มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าสภาพคล่องส่วนเกินคงจะไม่ลดลงเร็วนัก ด้านภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสแรกของปี 48
นักท่องเที่ยวจะลดลงมากกว่าร้อยละ 80 ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่คาดว่า
สถานการณ์ในปีนี้จะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ในขณะที่ภาคการส่งออกยังขยายตัวดีตามเกณฑ์การขยายตัวของ
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ
คือ การแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาท และเรื่องที่ประเทศคู่แข่งสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่ามาก
ด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต ในภาคการเกษตรเกิดภาวะภัยแล้งตั้งแต่ปลายปี 47 ทำให้ผลผลิตลดลงจากปีก่อน
ส่วนภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมีสาเหตุจากอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศชะลอลง
การขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งและธรณีพิบัติ แต่มีบางอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี เช่น อัญมณี การผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในกลุ่มไฮเอนด์ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. หนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นปี 47 มีจำนวน 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ.ธปท.
รายงานผลการสำรวจภาวะหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นปี 47 มีจำนวน 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือน ก.ย.47 จำนวน 700 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากอัตรา
แลกเปลี่ยนที่เงินสกุลหลักแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นแยกเป็น หนี้ที่กู้ยืมตามรายงาน
ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงิน 310 ล้านดอลลาร์ สรอ. หนี้ที่เปลี่ยนแปลงจากอัตราแลกเปลี่ยน 730 ล้านดอลลาร์
สรอ. และหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากเงินกู้ที่ไม่นำเข้า 30 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ในส่วนหนี้ที่ลดลงจากการปรับโครงสร้าง
หนี้และหนี้อื่น ๆ มีจำนวน 370 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ หนี้จำนวน 2.44 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นหนี้
ประเภท
เงินกู้เงินตราต่างประเทศจากเจ้าหนี้ในต่างประเทศ จำนวน 1.64 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ตราสารหนี้สกุล
เงินตราต่างประเทศ 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้เงินกู้และตราสารหนี้สกุลเงินบาท 6.3 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ระยะยาว 16.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 66.9 ของหนี้ทั้งหมด หนี้ระยะสั้น
1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 6 ของหนี้ทั้งหมด และหนี้ที่ไม่กำหนดระยะเวลาชำระคืน หนี้ที่ชำระคืน
เมื่อทวงถาม จำนวน 6.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 27.1 (มติชน)
3. ก.คลังเตรียมออกซามูไรบอนด์ วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า
ขณะนี้ รมว.คลังได้เห็นชอบในหลักการให้ ก.คลังออกพันธบัตรรัฐบาลเสนอขายในตลาดต่างประเทศในรูปเงินเยน
(ซามูไรบอนด์) วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท อายุ 3 ปี และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับเยนสวอป 3 ปี บวก
ไม่เกินร้อยละ 0.10 ส่วนช่วงเวลาที่จะระดมทุนประมาณต้นเดือน มิ.ย.นี้ โดยได้คัดเลือก บล.โนมูระ เป็นตัวแทน
จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายพันธบัตรดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยเงินที่ระดมได้จะนำไปใช้ในการปรับ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล เพื่อลดภาระดอกเบี้ย คาดว่าเงินก้อนแรกจะนำไปชำระหนี้ ธ.เพื่อความร่วม
มือระหว่างประเทศ (เจบิก) ก่อนกำหนดในวงเงินกู้ส่วนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง (มติชน)
4. บรรษัทและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐร่วมมือกันแก้ปัญหาเอ็นพีแอล นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัด ก.คลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างบรรษัทและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของ
รัฐทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.)
บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด และ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด ว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหา
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อความคล่องตัว รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐ
สำหรับสาระสำคัญที่จะร่วมมือปฏิบัติใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) การประนอมหนี้ 2) การใช้สถานที่เพื่อเจรจาหนี้กับ
ลูกหนี้ 3) งานประเมินราคาและงานสืบทรัพย์ 4) งานพิธีการสินเชื่อ 5) งานสำรวจดูแลทรัพย์ และ 6)
การร่วมกันจัดมหกรรมขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกัน ถือเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อเร่งดำเนินการลดสินทรัพย์ที่
ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1.เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบปีที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 17 พ.ค.48 เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบปี เทียบกับ สรอ.ซึ่งเศรษฐกิจ
ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า
ยอดส่งออกที่ลดลง โดยการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
อันเป็นผลจากการจ้างงานและค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราการว่างงานในเดือน มี.ค.48 อยู่ที่ร้อยละ 4.5
เทียบกับร้อยละ 4.7 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินโบนัสปลายปีในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
เมื่อเทียบกับปีก่อน เงินโบนัสเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี นอกจากนี้รายได้ของภาคธุรกิจที่ดีขึ้นได้กระตุ้นให้การ
ใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 โดยคาดว่า
ธุรกิจในญี่ปุ่นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตและอิเล็คทรอนิกส์จะมีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์และมีรายได้เพิ่มขึ้น
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่การส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจมาโดยตลอดลดลง
ร้อยละ 0.1 จากความต้องการสินค้าญี่ปุ่นในตลาดเอเชียลดลง โดยยอดส่งออกไปยังจีนลดลงในเดือน ก.พ.48
เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 20 ในปี 47 อันเป็นผลกระทบจากมาตรการชะลอความร้อน
แรงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน (รอยเตอร์)
1.ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนในเดือนเม.ย.ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดใน
รอบ 18 เดือน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน
เม.ย. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อของจีนอยู่ที่ร้อยละ 1.8 น้อยกว่าผลการสำรวจของ
รอยเตอร์ที่คาดว่า CPI จะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ชะลอตัวอย่างมากจากร้อยละ 2.7 ในเดือนมี.ค. และอยู่ในระดับต่ำ
สุดในรอบ 18 เดือน ทำให้คลายความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ท่ามกลางการเก็งกำไรค่าเงินหยวน และส่งผลดีต่อ
ธ.กลางจีนในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายใต้แรงกดดันจากต่างชาติเพื่อให้มีการปรับค่าเงินหยวน นักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่าเมื่อเทียบกับปี 47 ซึ่งเป็นปีที่เงินเฟ้อสูงในปีนี้ราคาอาหารมีเสถียรภาพมากขึ้นและบริษัทก็ยินดีที่จะลดส่วน
ต่างผลกำไรลวมากกว่าที่จะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงแม้ว่าค่าจ้างและ
น้ำมันจะมีราคาสูงขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนในปีนี้มีความเป็นไปได้น้อย
แต่หากมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว(รอยเตอร์)
1. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 3.6
รายงานจากโซลเมื่อ 17 พ.ค.48 The National Statistical Office เปิดเผยว่า อัตราการว่างงาน
(หลังปรับฤดูกาล)ของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.48 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในช่วง 2 เดือน
ก่อนหน้า (มี.ค. และ ก.พ.48) นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ส.ค.47 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนัก
เศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ในขณะที่แรงงานจากการจ้างงานมีจำนวน 22.809 ล้านคน
ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ทั้งนี้ สัญญาณการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศในปี 48 นี้ ได้ช่วยเสริม
ความคาดหวังว่า อัตราการว่างงานอาจชะลอตัวลง ซึ่ง รมว.คลัง กล่าวว่า ตลาดแรงงานเกาหลีใต้จะฟื้นตัวในอัตรา
เร่งในช่วงครึ่งหลังของปี 48 เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้การฟื้นตัวของความ
ต้องการในประเทศ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความคาดหมายว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่ง ก.คลังได้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ที่ร้อยละ 5 ในขณะที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้คาดการณ์ที่ร้อยละ 4 ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในปี 47 (รอยเตอร์)
1.รัฐบาลสิงคโปร์ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 48 ลงเหลือระหว่างร้อยละ 2.5-4.5
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 พ.ค.48 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า รัฐบาลประกาศปรับลดประมาณการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 48 ลงเหลือระหว่างร้อยละ 2.5-4.5 จากร้อยละ 3.0-5.0 หลังจากที่เศรษฐกิจใน
ไตรมาสแรกที่ผ่านมาชะลอตัวที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งต่ำกว่าที่รัฐบาลประมาณการไว้เมื่อเดือน เม.ย.48 ว่าผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.8 (ขณะที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.3)
เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตและภาวะการส่งออกชะลอตัว ทั้งนี้ จีดีพีที่ปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้วในไตรมาส 1 ปี 48
(ที่แสดงถึงมูลค่าของสินค้าและบริการโดยรวมในระบบเศรษฐกิจ) ลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากที่เคยลดลงในไตรมาส 2
ปี 46 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดซาร์ส อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์เคยแข็งแกร่งสูงสุดในรอบ 4 ปี
ที่ร้อยละ 8.4 ในปี 47 ที่ผ่านมา ส่วนในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับ
ที่นักวิเคราะห์ประมาณการว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 และใกล้เคียงกับที่ รมว.คลังและอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ค. 48 16 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.759 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5354/39.8151 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.3125 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.76/15.29 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.35 43.72 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--