ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วเพราะเริ่มมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้า นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพ
สถาบันการเงิน และรักษาการ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 37.10 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ถือว่าเป็นอัตรา
ที่แข็งค่าเร็วเกินไป ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากหลายปัจจัย และส่วนหนึ่งเป็นเพราะขณะนี้เริ่มมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในไทยจำนวนมาก
รวมทั้งมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมากเช่นกัน ด้าน นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กก.ผจก.สายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า ในปลายปีนี้เงินบาท
จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 37.00 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. แต่ยังไม่ถือว่าค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป เพราะค่าเงินในภูมิภาคก็แข็งค่าเช่นกัน
(โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในไตรมาส 3 ปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 484,905 ล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า
เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 484,905 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.19 ของสินเชื่อรวม ลดลง
เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีสัดส่วนร้อยละ 8.23 ของสินเชื่อรวม แต่จำนวนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 204 ล้านบาท สำหรับระบบ ธ.พาณิชย์มี
เอ็นพีแอล 480,099 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.21 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 8.25 ของสินเชื่อรวม
โดยจำนวนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 670 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาแยกตามรายธนาคารพบว่าธนาคารที่สามารถลดเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อได้มากที่สุดคือ
ธ.ไทยธนาคารมีเอ็นพีแอล 3,112 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของสินเชื่อรวม จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ร้อยละ 6.14 รองลงมาคือ
ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีเอ็นพีแอล 2,415 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.48 จากร้อยละ 3.07 ในไตรมาสก่อน ธ.นครหลวงไทยมีเอ็นพีแอล
6,628 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.66 จากร้อยละ 3.16 ในไตรมาสก่อน ขณะที่ ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่สามารถปรับลดเอ็นพีแอลได้เช่นกัน โดย
ธ.กรุงเทพมีเอ็นพีแอล 103,355 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.71 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 11.20 ในไตรมาสก่อน ธ.ไทยพาณิชย์มี
เอ็นพีแอล 58,424 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.87 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 9.22 ในไตรมาสก่อน ธ.กสิกรไทยมีเอ็นพีแอล
42,459 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.52 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน ส่วน ธ.พาณิชย์ที่สัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมี
5 แห่ง ได้แก่ ธ.แลนด์แอนด์เฮาส์เพื่อรายย่อยมีเอ็นพีแอล 407 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.28 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.79 ในไตรมาสก่อนหน้า
รองลงมาคือ ธ.กรุงไทยมีเอ็นพีแอล 99,311 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.33 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.67 ธ.จีอีมันนี่เพื่อรายย่อย
มีเอ็นพีแอล 432 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.70 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.10 ธ.กรุงศรีอยุธยามีเอ็นพีแอล 41,861 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 9.04 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.75 และ ธ.ทหารไทยมีเอ็นพีแอล 66,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.93
ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.88 ในไตรมาสก่อน (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังสนับสนุนนโยบายให้ไทยปล่อยเงินกู้เพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน ร.ท.นพดล พันธุ์กระวี ผอ.สนง.ความร่วมมือพัฒนา
เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวหลังจากเข้าพบเพื่อหารือด้านนโยบายกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง ว่า
รมว.คลังได้มอบนโยบายให้ส่งเสริมและพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า และกัมพูชา ด้วยการปล่อยเงินกู้ให้แก่การลงทุนโครงสร้าง
พื้นฐานต่าง ๆ เช่น สร้างถนน และสนามบิน เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศในภูมิภาคให้ยั่งยืนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ได้กำชับว่าขณะนี้ งปม.ของรัฐบาลมีจำกัด จึงควรประสานกับ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เพื่อปล่อยกู้แทน โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือในเรื่องการชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้แก่ ธ.เพื่อการส่งออกฯ ในส่วนที่เกินจากต้นทุนที่แท้จริง ทั้งนี้ ที่ผ่าน
สนง.ความร่วมมือฯ ได้ปล่อยเงินกู้ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านไปแล้วคือ กัมพูชา และลาว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่มาจาก
งปม.ส่วนหนึ่งของรัฐบาล โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี ระยะเวลา 30 ปี และปลอดหนี้ 10 ปี ส่วนในระยะยาว สนง.ความร่วมมือฯ
จะกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเชิงการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันได้รับความร่วมมือจาก ธ.โลกในการเข้ามาอบรมพัฒนาและวาง
ระบบงาน (โพสต์ทูเดย์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. มีค่าสูงสุดในรอบ 6 เดือน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.49 ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 96.8 จากระดับ
85.6 ในเดือน ส.ค.49 และเป็นค่าสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้
ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมมากนัก ทั้งนี้ ได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองกับ
หลังการปฏิรูปการปกครองพบว่า ค่าดัชนีหลังการปฏิรูปการปกครองปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 100.8 จากระดับ 89.1 ก่อนการปฏิรูปการปกครอง
แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายและคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น สำหรับการปรับขึ้น
ของค่าดัชนีฯ เดือน ก.ย.49 มาจากค่าดัชนีหลักที่นำมาใช้คำนวณทุกปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นเพราะราคาน้ำมัน
และอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวลดลง รวมทั้งมียอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 5.25 เช่นเดิมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากชิคาโก เมื่อ
25 ต.ค.49 ธ.กลาง สรอ.เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลาง สรอ.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ระดับร้อยละ
5.25 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 17 ครั้งตั้งแต่กลางปี 47 เป็นต้นมาสอดคล้องกับ
นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อ
พื้นฐานของ สรอ.อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าตั้งแต่นี้ไปอาจผ่อนคลายลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเริ่มลดลง รวมทั้งอัตรา
ดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนหน้านี้ส่งผลให้การใช้จ่ายชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศสำคัญในยูโรโซนปรับเพิ่มขึ้นแสดงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายงานจากปารีสเมื่อ
25 ต.ค.49 รอยเตอร์รวบรวมข้อมูลผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศสำคัญในเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน)
พบว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(Business climate index)ของเยอรมนีโดยสถาบัน Ifo ซึ่งทำการสำรวจจาก 7,000 บริษัท พบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
4 เดือนที่ระดับ 105.3 ในเดือน ต.ค.49 จากระดับ 104.9 ในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ
104.5 เช่นเดียวกับดัชนีความคาดหวังทางธุรกิจ (Business expectations index) ซึ่งเพิ่มขึ้นที่ระดับ 99.2 จากระดับ 98.9 ใน
เดือนก่อนหน้า โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางการเยอรมนีจะประกาศเพิ่มอัตราภาษีมูลค่า
เพิ่มสำหรับสินค้าและบริการขึ้นอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 19 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 เป็นต้นไป แต่คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อ
กำลังซื้อของผู้บริโภคยุโรปมากนัก นอกจากนี้ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของฝรั่งเศสโดยสำนักงานสถิติฝรั่งเศสพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นที่
ระดับ 108 ในเดือน ต.ค.49 จากระดับ 106 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจของยูโรโซนใน
ช่วงไตรมาส 2 ปี 49 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 3.6 ส่งผลให้ The European Commission ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ยูโรโซนในปี 49 จากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ 2.5 นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 43 (รอยเตอร์)
3. การใช้จ่ายของผู้บริโภคจีนในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 25 ต.ค.49
สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า การใช้จ่ายผู้บริโภคของจีนที่อาศัยในเขตเมืองในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 อยู่ที่จำนวน 6,480 หยวนต่อคน
(821 ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 9.4 และ 11.1 ในครึ่งปีแรก และไตรมาสแรกของปี 49
ตามลำดับ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคดังกล่าวสามารถสะท้อนแนวโน้มการบริโภคได้ดีกว่ายอดขายปลีก
(ยอดขายปลีกของจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้แน่ใจว่าการส่งออกจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 49 นาย
Chung Sye-Kyun รมว. ก.พาณิชย์เกาหลีใต้ยืนยันว่าการขยายตัวของการส่งออกของเกาหลีใต้จะยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง
แม้ว่าภายหลังการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ก็ตาม โดยคาดว่าตัวเลขการส่งออกจะเพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วประมาณร้อยละ 10 และคาดว่าการส่งออกในปีนี้จะบรรลุเป้าหมายการส่งออกที่ 318 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ได้โดยไม่ยากเย็น
ทั้งนี้นาย Chung Sye-Kyun ได้กล่าวในการสัมมนาระดับท้องถิ่นว่า อัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันทั่วโลกในเดือน ต.ค. มีเสถียรภาพ อย่างไร
ก็ตามเขาเห็นว่าเกาหลีใต้อาจพิจารณาดำเนินมาตรการให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อจัดการกับความเสี่ยงเนื่องจาก
ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศ รวมทั้งการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์ สรอ. และมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงซึ่ง
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ทั้งนี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 14
(รอยเตอร์)
5. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.49 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.25 เทียบต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 25 ต.ค.49 ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.49 จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.25 เทียบต่อเดือน หลังจากที่ลดลงจากร้อยละ 11.0 ในเดือน ส.ค.49 และลดลงร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค.49 และหากเทียบต่อปี
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.5 ในเดือน ส.ค.49 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลผลิตอุตสาหกรรมการ
ผลิตจะเร่งตัวขึ้นในเดือน ก.ย.49 และในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพื่อรองรับความต้องการสินค้าที่จะสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี อาทิเช่น โทรศัพท์ และ
เครื่องเล่นเพลงดิจิตัล เป็นต้น ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตอาจฟื้นตัวเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการไมโครชิป
จาก สรอ.ชะลอตัวลง โดย book-to-bill ratio ของอเมริกาเหนือในเดือน ก.ย.49 อยู่ที่ระดับ 1.00 แข็งแกร่งว่าในเดือน ส.ค.49
ที่อยู่ที่ระดับ 0.99 แต่ชะลอตัวจากระดับ 1.14 ในเดือน มิ.ย.49 (อัตราส่วน book-to-bill ระดับ 1.00 หมายถึง การส่งออกสินค้าออกทุก ๆ
100 ดอลลาร์ สรอ. ภาคธุรกิจจะได้รับคำสั่งซื้อใหม่กลับมา 100 ดอลลาร์ สรอ.) นอกจากนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันในเดือน ก.ย.49
เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.6 เทียบต่อเดือน อนึ่ง ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งนับรวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ น้ำมัน และ
ผลิตภัณฑ์ยา ในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 ขยายตัวร้อยละ 10 เทียบต่อปี ขณะที่รัฐบาลสิงคโปร์เชื่อมั่นว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในช่วงครึ่ง
หลังปีนี้จะชะลอตัวตามภาวะแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ก.พัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะรายงานตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตอย่างเป็นทางการ
ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค.49 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ต.ค. 49 25 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.132 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.9560/37.2464 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.80/16.58 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,350/10,450 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) n.a. 56.38 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 25 ต.ค. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วเพราะเริ่มมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้า นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพ
สถาบันการเงิน และรักษาการ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 37.10 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ถือว่าเป็นอัตรา
ที่แข็งค่าเร็วเกินไป ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากหลายปัจจัย และส่วนหนึ่งเป็นเพราะขณะนี้เริ่มมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในไทยจำนวนมาก
รวมทั้งมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมากเช่นกัน ด้าน นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กก.ผจก.สายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า ในปลายปีนี้เงินบาท
จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 37.00 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. แต่ยังไม่ถือว่าค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป เพราะค่าเงินในภูมิภาคก็แข็งค่าเช่นกัน
(โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในไตรมาส 3 ปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 484,905 ล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า
เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 49 มีจำนวนทั้งสิ้น 484,905 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.19 ของสินเชื่อรวม ลดลง
เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีสัดส่วนร้อยละ 8.23 ของสินเชื่อรวม แต่จำนวนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 204 ล้านบาท สำหรับระบบ ธ.พาณิชย์มี
เอ็นพีแอล 480,099 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.21 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 8.25 ของสินเชื่อรวม
โดยจำนวนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 670 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาแยกตามรายธนาคารพบว่าธนาคารที่สามารถลดเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อได้มากที่สุดคือ
ธ.ไทยธนาคารมีเอ็นพีแอล 3,112 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของสินเชื่อรวม จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ร้อยละ 6.14 รองลงมาคือ
ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีเอ็นพีแอล 2,415 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.48 จากร้อยละ 3.07 ในไตรมาสก่อน ธ.นครหลวงไทยมีเอ็นพีแอล
6,628 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.66 จากร้อยละ 3.16 ในไตรมาสก่อน ขณะที่ ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่สามารถปรับลดเอ็นพีแอลได้เช่นกัน โดย
ธ.กรุงเทพมีเอ็นพีแอล 103,355 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.71 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 11.20 ในไตรมาสก่อน ธ.ไทยพาณิชย์มี
เอ็นพีแอล 58,424 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.87 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 9.22 ในไตรมาสก่อน ธ.กสิกรไทยมีเอ็นพีแอล
42,459 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.52 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน ส่วน ธ.พาณิชย์ที่สัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมี
5 แห่ง ได้แก่ ธ.แลนด์แอนด์เฮาส์เพื่อรายย่อยมีเอ็นพีแอล 407 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.28 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.79 ในไตรมาสก่อนหน้า
รองลงมาคือ ธ.กรุงไทยมีเอ็นพีแอล 99,311 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.33 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.67 ธ.จีอีมันนี่เพื่อรายย่อย
มีเอ็นพีแอล 432 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.70 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.10 ธ.กรุงศรีอยุธยามีเอ็นพีแอล 41,861 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 9.04 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.75 และ ธ.ทหารไทยมีเอ็นพีแอล 66,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.93
ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.88 ในไตรมาสก่อน (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังสนับสนุนนโยบายให้ไทยปล่อยเงินกู้เพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน ร.ท.นพดล พันธุ์กระวี ผอ.สนง.ความร่วมมือพัฒนา
เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวหลังจากเข้าพบเพื่อหารือด้านนโยบายกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง ว่า
รมว.คลังได้มอบนโยบายให้ส่งเสริมและพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า และกัมพูชา ด้วยการปล่อยเงินกู้ให้แก่การลงทุนโครงสร้าง
พื้นฐานต่าง ๆ เช่น สร้างถนน และสนามบิน เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศในภูมิภาคให้ยั่งยืนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ได้กำชับว่าขณะนี้ งปม.ของรัฐบาลมีจำกัด จึงควรประสานกับ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เพื่อปล่อยกู้แทน โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือในเรื่องการชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้แก่ ธ.เพื่อการส่งออกฯ ในส่วนที่เกินจากต้นทุนที่แท้จริง ทั้งนี้ ที่ผ่าน
สนง.ความร่วมมือฯ ได้ปล่อยเงินกู้ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านไปแล้วคือ กัมพูชา และลาว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่มาจาก
งปม.ส่วนหนึ่งของรัฐบาล โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี ระยะเวลา 30 ปี และปลอดหนี้ 10 ปี ส่วนในระยะยาว สนง.ความร่วมมือฯ
จะกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเชิงการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันได้รับความร่วมมือจาก ธ.โลกในการเข้ามาอบรมพัฒนาและวาง
ระบบงาน (โพสต์ทูเดย์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. มีค่าสูงสุดในรอบ 6 เดือน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.49 ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 96.8 จากระดับ
85.6 ในเดือน ส.ค.49 และเป็นค่าสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้
ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมมากนัก ทั้งนี้ ได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองกับ
หลังการปฏิรูปการปกครองพบว่า ค่าดัชนีหลังการปฏิรูปการปกครองปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 100.8 จากระดับ 89.1 ก่อนการปฏิรูปการปกครอง
แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายและคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น สำหรับการปรับขึ้น
ของค่าดัชนีฯ เดือน ก.ย.49 มาจากค่าดัชนีหลักที่นำมาใช้คำนวณทุกปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นเพราะราคาน้ำมัน
และอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวลดลง รวมทั้งมียอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 5.25 เช่นเดิมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากชิคาโก เมื่อ
25 ต.ค.49 ธ.กลาง สรอ.เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลาง สรอ.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ระดับร้อยละ
5.25 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 17 ครั้งตั้งแต่กลางปี 47 เป็นต้นมาสอดคล้องกับ
นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อ
พื้นฐานของ สรอ.อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าตั้งแต่นี้ไปอาจผ่อนคลายลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเริ่มลดลง รวมทั้งอัตรา
ดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนหน้านี้ส่งผลให้การใช้จ่ายชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศสำคัญในยูโรโซนปรับเพิ่มขึ้นแสดงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายงานจากปารีสเมื่อ
25 ต.ค.49 รอยเตอร์รวบรวมข้อมูลผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศสำคัญในเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน)
พบว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(Business climate index)ของเยอรมนีโดยสถาบัน Ifo ซึ่งทำการสำรวจจาก 7,000 บริษัท พบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
4 เดือนที่ระดับ 105.3 ในเดือน ต.ค.49 จากระดับ 104.9 ในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ
104.5 เช่นเดียวกับดัชนีความคาดหวังทางธุรกิจ (Business expectations index) ซึ่งเพิ่มขึ้นที่ระดับ 99.2 จากระดับ 98.9 ใน
เดือนก่อนหน้า โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางการเยอรมนีจะประกาศเพิ่มอัตราภาษีมูลค่า
เพิ่มสำหรับสินค้าและบริการขึ้นอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 19 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 เป็นต้นไป แต่คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อ
กำลังซื้อของผู้บริโภคยุโรปมากนัก นอกจากนี้ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของฝรั่งเศสโดยสำนักงานสถิติฝรั่งเศสพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นที่
ระดับ 108 ในเดือน ต.ค.49 จากระดับ 106 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจของยูโรโซนใน
ช่วงไตรมาส 2 ปี 49 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 3.6 ส่งผลให้ The European Commission ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ยูโรโซนในปี 49 จากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ 2.5 นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 43 (รอยเตอร์)
3. การใช้จ่ายของผู้บริโภคจีนในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 25 ต.ค.49
สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า การใช้จ่ายผู้บริโภคของจีนที่อาศัยในเขตเมืองในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 อยู่ที่จำนวน 6,480 หยวนต่อคน
(821 ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เทียบต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 9.4 และ 11.1 ในครึ่งปีแรก และไตรมาสแรกของปี 49
ตามลำดับ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคดังกล่าวสามารถสะท้อนแนวโน้มการบริโภคได้ดีกว่ายอดขายปลีก
(ยอดขายปลีกของจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้แน่ใจว่าการส่งออกจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 49 นาย
Chung Sye-Kyun รมว. ก.พาณิชย์เกาหลีใต้ยืนยันว่าการขยายตัวของการส่งออกของเกาหลีใต้จะยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง
แม้ว่าภายหลังการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ก็ตาม โดยคาดว่าตัวเลขการส่งออกจะเพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วประมาณร้อยละ 10 และคาดว่าการส่งออกในปีนี้จะบรรลุเป้าหมายการส่งออกที่ 318 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ได้โดยไม่ยากเย็น
ทั้งนี้นาย Chung Sye-Kyun ได้กล่าวในการสัมมนาระดับท้องถิ่นว่า อัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันทั่วโลกในเดือน ต.ค. มีเสถียรภาพ อย่างไร
ก็ตามเขาเห็นว่าเกาหลีใต้อาจพิจารณาดำเนินมาตรการให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อจัดการกับความเสี่ยงเนื่องจาก
ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศ รวมทั้งการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์ สรอ. และมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงซึ่ง
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ทั้งนี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 14
(รอยเตอร์)
5. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.49 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.25 เทียบต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 25 ต.ค.49 ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.49 จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.25 เทียบต่อเดือน หลังจากที่ลดลงจากร้อยละ 11.0 ในเดือน ส.ค.49 และลดลงร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค.49 และหากเทียบต่อปี
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 5.5 ในเดือน ส.ค.49 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลผลิตอุตสาหกรรมการ
ผลิตจะเร่งตัวขึ้นในเดือน ก.ย.49 และในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพื่อรองรับความต้องการสินค้าที่จะสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี อาทิเช่น โทรศัพท์ และ
เครื่องเล่นเพลงดิจิตัล เป็นต้น ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตอาจฟื้นตัวเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการไมโครชิป
จาก สรอ.ชะลอตัวลง โดย book-to-bill ratio ของอเมริกาเหนือในเดือน ก.ย.49 อยู่ที่ระดับ 1.00 แข็งแกร่งว่าในเดือน ส.ค.49
ที่อยู่ที่ระดับ 0.99 แต่ชะลอตัวจากระดับ 1.14 ในเดือน มิ.ย.49 (อัตราส่วน book-to-bill ระดับ 1.00 หมายถึง การส่งออกสินค้าออกทุก ๆ
100 ดอลลาร์ สรอ. ภาคธุรกิจจะได้รับคำสั่งซื้อใหม่กลับมา 100 ดอลลาร์ สรอ.) นอกจากนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันในเดือน ก.ย.49
เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.6 เทียบต่อเดือน อนึ่ง ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งนับรวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ น้ำมัน และ
ผลิตภัณฑ์ยา ในรอบ 9 เดือนแรกของปี 49 ขยายตัวร้อยละ 10 เทียบต่อปี ขณะที่รัฐบาลสิงคโปร์เชื่อมั่นว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในช่วงครึ่ง
หลังปีนี้จะชะลอตัวตามภาวะแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ก.พัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะรายงานตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตอย่างเป็นทางการ
ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค.49 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ต.ค. 49 25 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.132 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.9560/37.2464 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.80/16.58 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,350/10,450 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) n.a. 56.38 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 25 ต.ค. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--