พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่วันที่ 3-9 พฤษภาคม 2549

ข่าวทั่วไป Wednesday May 3, 2006 14:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 53/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 3 - 9 พฤษภาคม 2549
ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค.แนวพัดสอบเข้าหากันของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางมีฝนฟ้าคะนองและอาจมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 5-9 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้มีฝนฟ้าคะนองส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงต่ำ สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม.
มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม. สำหรับไม้ผลชาวสวนควรดูแลบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน ไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้บริเวณโคนต้น เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของความชื้นและเชื้อโรค ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะสัตว์กีบ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
นช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40% ของพื้นที่ และอาจมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ส่วนมากในระหว่างบ่ายและค่ำ
ในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40% ของพื้นที่ และอาจมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ส่วนมากในระหว่างบ่ายและค่ำ สำหรับผู้ที่ปลูกไม้ดอกในระยะนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกและอากาศชื้น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เพราะสัตว์อาจปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่าย
กลาง
ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ 20-30% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-20 % ของพื้นที่ ส่วนมากในตอนบ่ายและค่ำ
ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ 20-30% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-20 % ของพื้นที่ ส่วนมากในตอนบ่ายและค่ำ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอควรรอให้มีปริมาณฝนเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูกพืช ส่วนผู้ที่ปลูกกล้วยไม้ควรระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา และหากพบกระถางที่เป็นโรคควรแยกออกจากโรงเรือน
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40 % ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ10-30 % ของพื้นที่ตามบริเวณเทือกเขาและชายฝั่งในระหว่างบ่ายถึงค่ำ
ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40 % ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ10-30 % ของพื้นที่ตามบริเวณเทือกเขาและชายฝั่งในระหว่างบ่ายถึงค่ำ สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินผล ทำให้เสียหายได้ นอกจากนี้ควรขจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวนและเป็นการกำจัดแหล่งอาศัยของแมลงศัตรูพืช
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-60 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-60% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-60 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-60% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรเตรียมขุดลอกคูระบายน้ำเพื่อรองรับฝนตกหนักในฤดูฝนที่จะมาถึง สำหรับ ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ