กรุงเทพ--26 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อ 24 พฤษภาคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทางโทรศัพท์จากกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2549 สรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD)
- ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่า ประเทศสมาชิกควรเร่งผลักดันความร่วมมือด้านพลังงาน และการเงิน ซึ่งประเทศไทยได้เสนอต่อที่ประชุมให้เชื่อมโยงความร่วมมือด้านพลังงานและการเงินเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ โดยที่ประเทศสมาชิก ACD ประกอบด้วยกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และประเทศผู้ซื้อน้ำมัน ซึ่งรายได้จากการผลิตและจำหน่ายน้ำมันน่าจะสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อภูมิภาคโดยรวมได้มากขึ้น เช่น การลงทุนในตลาดพันธบัตรเอชีย ซึ่งไทยได้ประกาศที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีคลัง ACD ครั้งที่ 1 ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เพื่อหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้
- ที่ประชุมฯ เห็นพ้องที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในกิจกรรมของ ACD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากบาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย โดยสิงคโปร์ได้เสนอด้วยว่า อาจจะเน้นบทบาทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
- ที่ประชุมฯ สนับสนุนการจัดตั้ง ACD Troika ซึ่งประกอบด้วย ประธาน ACD ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อให้รับผิดชอบเรื่องหลัก ๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของ ACD 3 เรื่อง กล่าวคือ การเตรียมการจัดประชุมระดับรัฐมนตรี ACD การนำแนวนโยบายที่ ACD เห็นพ้องกันมาปฏิบัติใช้ให้เกิดผล และการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ซึ่งในการประชุม ACD ครั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ประกาศรับสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ คือ ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน ทำให้ ACD มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 30 ประเทศ
2. การเยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
- ดร. กันตธีร์ฯ ได้เดินทางเยือนบาห์เรนระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2549 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกัน (personal-touch diplomacy) ผลักดันความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรนได้เสนอว่าการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-บาห์เรนที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น ควรปรับเปลี่ยนเป็นการเจรจาความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างไทยและ Gulf Cooperation Council (GCC)
- ดร. กันตธีร์ฯ ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ธุรกิจไทย (Thai Business Centre) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเกิดจากวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ เพื่อให้ศูนย์ดังกล่าวส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งเป็นประตูของไทยออกสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย
3. พม่า
- ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับท่าทีไทยต่อการเยือนพม่าของนาย Ibrahim Gambari ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้พบหารือกับนาง ออง ซาน ซู จี ด้วยนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่าไทยติดตามความคืบหน้าในพม่ามาโดยตลอด และรู้สึกยินดีที่ได้มีการพบปะดังกล่าว ทั้งนี้ ไทยเชื่อว่าเหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของพม่าที่จะมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นกับประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งกับองค์การสหประชาชาติ และอาเซียน ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และหวังว่าพม่าจะเดินหน้าต่อไปสู่การปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตย
- ไทยสนับสนุนบทบาทขององค์การสหประชาชาติ และประสงค์ที่จะเห็นการปรองดองแห่งชาติในพม่าเกิดขึ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ไทยหวังที่จะหารือเรื่องนี้กับนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งจะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อ 24 พฤษภาคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทางโทรศัพท์จากกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2549 สรุปได้ ดังนี้
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD)
- ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่า ประเทศสมาชิกควรเร่งผลักดันความร่วมมือด้านพลังงาน และการเงิน ซึ่งประเทศไทยได้เสนอต่อที่ประชุมให้เชื่อมโยงความร่วมมือด้านพลังงานและการเงินเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ โดยที่ประเทศสมาชิก ACD ประกอบด้วยกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และประเทศผู้ซื้อน้ำมัน ซึ่งรายได้จากการผลิตและจำหน่ายน้ำมันน่าจะสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อภูมิภาคโดยรวมได้มากขึ้น เช่น การลงทุนในตลาดพันธบัตรเอชีย ซึ่งไทยได้ประกาศที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีคลัง ACD ครั้งที่ 1 ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เพื่อหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้
- ที่ประชุมฯ เห็นพ้องที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในกิจกรรมของ ACD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากบาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย โดยสิงคโปร์ได้เสนอด้วยว่า อาจจะเน้นบทบาทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
- ที่ประชุมฯ สนับสนุนการจัดตั้ง ACD Troika ซึ่งประกอบด้วย ประธาน ACD ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อให้รับผิดชอบเรื่องหลัก ๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของ ACD 3 เรื่อง กล่าวคือ การเตรียมการจัดประชุมระดับรัฐมนตรี ACD การนำแนวนโยบายที่ ACD เห็นพ้องกันมาปฏิบัติใช้ให้เกิดผล และการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ซึ่งในการประชุม ACD ครั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ประกาศรับสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ คือ ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน ทำให้ ACD มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 30 ประเทศ
2. การเยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
- ดร. กันตธีร์ฯ ได้เดินทางเยือนบาห์เรนระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2549 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกัน (personal-touch diplomacy) ผลักดันความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรนได้เสนอว่าการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-บาห์เรนที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น ควรปรับเปลี่ยนเป็นการเจรจาความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างไทยและ Gulf Cooperation Council (GCC)
- ดร. กันตธีร์ฯ ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ธุรกิจไทย (Thai Business Centre) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเกิดจากวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ เพื่อให้ศูนย์ดังกล่าวส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งเป็นประตูของไทยออกสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย
3. พม่า
- ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับท่าทีไทยต่อการเยือนพม่าของนาย Ibrahim Gambari ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้พบหารือกับนาง ออง ซาน ซู จี ด้วยนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่าไทยติดตามความคืบหน้าในพม่ามาโดยตลอด และรู้สึกยินดีที่ได้มีการพบปะดังกล่าว ทั้งนี้ ไทยเชื่อว่าเหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของพม่าที่จะมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นกับประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งกับองค์การสหประชาชาติ และอาเซียน ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และหวังว่าพม่าจะเดินหน้าต่อไปสู่การปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตย
- ไทยสนับสนุนบทบาทขององค์การสหประชาชาติ และประสงค์ที่จะเห็นการปรองดองแห่งชาติในพม่าเกิดขึ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ไทยหวังที่จะหารือเรื่องนี้กับนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งจะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-