สรุปข่าวเศรษฐกิจประจำวัน
13 พฤศจิกายน 2549
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตไตรมาส 3 ปีนี้ชะลอตัวลง ธปท. รายงานการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดไตรมาส 3
ปีนี้ พบว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรมีทั้งสิ้น 5.93 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 337 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.57 แยกเป็นการใช้จ่าย
ในประเทศ 4.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 318 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.75 และการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.17 พันล้านบาท ลดลง 69 ล้านบาท
หรือร้อยละ 3.07 ในขณะที่จำนวนบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 10.48 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือน มิ.ย.49 หรือไตรมาสก่อน 1.74 แสนใบ หรือร้อยละ 1.66
ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 1.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.53 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.24 สำหรับปริมาณการเบิกสดล่วงหน้ามีจำนวน 1.45
หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 88 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.61 ต่างจากในช่วงปีที่ผ่านมาที่ยอดการเบิกเงินสดเพิ่มสูงขึ้นมาก ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตชะลอลงเป็นไปตามที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ เพราะแม้ว่าจำนวนบัตรเครดิตจะมีมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้บริโภคจะใช้
บัตรเครดิตทุกใบที่มี ซึ่งทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่น่าเป็นห่วง ธปท. จึงไม่จำเป็นต้องออกมาตรการใหม่ออกมาดูแลเพิ่มเติมอีก
เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการเสนอมาตรการกำกับใหม่เอาไว้แล้ว เพียงแต่รอการประกาศใช้จริงเท่านั้น (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.พาณิชย์สำรองหนี้รองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS 39 นายสุวรรณ แทนสถิต รอง กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า
ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้เพื่อรองรับมาตรฐานบัญชี IAS 39 ที่กำหนดให้ ธ.พาณิชย์จะต้องสำรองหนี้ 100% ของมูลหนี้หลังจากการหักราคาประเมินหลัก
ประกันที่คำนวณจากราคาปัจจุบัน (PV) ลบด้วยส่วนลดตามเกณฑ์ของ ธปท. ที่จะบังคับใช้ในปลายปีนี้ ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้กันสำรองอยู่ที่ระดับ 7 หมื่นล้านบาท
จากที่ ธปท. กำหนดไว้ที่ระดับ 4 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารยังตั้งสำรองงวดละ 3-4 พันล้านบาท เตรียมไว้ก่อนหน้า ทำให้ไม่ต้องเพิ่มการ
ตั้งสำรองเกินกว่าปกติ โดยคาดว่าเงินสำรองของธนาคารจะเพียงพอไปจนถึงปลายปี 50 ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ดังกล่าว ธ.พาณิชย์จะต้องกันสำรอง 100%
สำหรับเอ็นพีแอลที่เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องเป็นกลุ่มแรก และในเดือน มิ.ย.50 ต้องกันสำรองลูกหนี้ที่ค้างชำระ 6 เดือน และในเดือน ธ.ค.50
จะต้องกันสำรองลูกหนี้ที่ค้างชำระ 3 เดือน จากเดิมที่ธนาคารจะใช้ราคาประเมินมาหักลบหนี้ก่อนจะตั้งสำรองตามการจัดชั้นหนี้ ด้าน
นางกิตติยา โตธนะเกษม รอง กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมีความพร้อมในการเตรียมการรองรับเกณฑ์มาตรฐานบัญชี IAS 39
เนื่องจากมีเงินกองทุนเพียงพอและมีกำไรมากพอที่จะรองรับการสำรองที่จะต้องเพิ่มขึ้นในอนาคตได้โดยไม่กระทบเงินกองทุนที่มีอยู่ ซึ่งธนาคารได้
กันสำรองเดือนละ 300 ล้านบาท และในไตรมาสที่ผ่านมาธนาคารได้ตั้งสำรองพิเศษอีก 1 พันล้านบาท (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ยอดส่งเสริมการลงทุนช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.49 มีมูลค่า 4.24 แสนล้านบาท ลดลงกว่าร้อยละ 33 นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล
เลขาธิการ สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติการลงทุนของต่างชาติช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.49) พบ
ว่า มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,144 โครงการ มูลค่า 424,800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33 แม้ว่าจำนวนโครงการจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ
กับปีก่อนที่จำนวนขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,066 โครงการ มูลค่า 630,900 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาการลงทุนส่วนใหญ่ลดลงทั้งเงินลงทุนและ
จำนวนโครงการ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนสูงสุด 306 โครงการ ลดลงจากปีก่อน 313 โครงการ สหภาพยุโรป 131 โครงการ ลดลงจาก 149
โครงการ ฮ่องกง 23 โครงการ ลดลงจาก 29 โครงการ ยกเว้น สรอ. ที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้น 56 โครงการ จาก 54 โครงการ อย่างไรก็
ตาม บีโอไอยังมั่นใจว่ามีแนวโน้มต่างชาติจะลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
และคาดว่าปีนี้การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจะเป็นไปตามเป้า 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ หลังการปฏิรูปการเมือง บีโอไอได้สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลง
ทุนและชี้แจงนักลงทุนต่างชาติให้เชื่อมั่นนโยบายการลงทุนของไทยที่ยังเน้นต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติและเป็นแหล่งรองรับการลงทุน รวมทั้งจะ
ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงสถานการณ์ในประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติยังคงมีแนวโน้มจะลงทุนและขยายการลงทุนในไทย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การประชุมระดับรมว.คลัง และจนท. ธ.กลางของกลุ่มประเทศ G 20 เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน รายงาน
จากกรุงแคนเบอรา ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 49 นาย Peter Costello รมว. คลัง ออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพ
การประชุม G 20 ใน Melbourneระหว่างวันที่ 18 — 19 พ.ย. ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างรมว.คลัง และ ธ.กลางจากประเทศที่มี
เศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมทั้งจีน อินเดีย สรอ. ญี่ปุ่น และอังกฤษ เพื่อหาแนวทางรักษาความมั่นคงและระดับราคาด้านพลังงานและทรัพยากรให้
เป็นไปอย่างเหมาะสมเนื่องจากอุปสงค์จากจีนและอินเดียเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้การประชุมจะนำประเทศผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อาทิ ซาอุดิอารเบีย
รัสเซีย กับลูกค้าขนาดใหญ่รวมทั้งจีน และอินเดียมาพบปะกัน ซึ่งสำนักงานการเกษตรและทรัพยากรทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียกล่าวว่า อุปสงค์
ด้านพลังงานจากจีนยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องคาดว่าในปี 49 จะสูงถึงร้อยละ 6.5 และจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5.5 ในปี 50 เช่น
เดียวกับอุปสงค์จากอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในปีงปม.การเงิน 49/50 หลังจากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.4 ในปีงปม.การเงิน 48/49 อย่างไรก็ตาม
คาดว่าการประชุมของกลุ่มประเทศ G 20 จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เนื่องจากจะมีการประท้วง แต่นาย Costello รมว.
คลัง ออสเตรเลีย กล่าวว่าไม่เข้าใจว่าจะประท้วงการประชุมดังกล่าวทำไม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการประชุมที่มีผู้แทนทั้งจากประเทศพัฒนาแล้ว และ
ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมการประชุมด้วย (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 จะเติบโตร้อยละ 0.2 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 49 ผลการสำรวจนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวน 26 คนของรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงเดือน ก.ค. — ก.ย. จะขยายตัวร้อยละ 0.2 เท่ากับจากไตรมาสก่อน และ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 มีกำหนดที่จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการในวัน
อังคารที่ 14 เวลา 8.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่ตัวเลขการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เปิดเผยโดยทางการญี่ปุ่นในเดือน ก.ย. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 อยู่ที่ระดับ 2.0249 ล้าน ล้าน เยน (17.22 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) มากกว่าผลการสำรวจโดย
รอยเตอร์ที่คาดว่าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 อยู่ที่ระดับ 2.01 ล้าน ล้าน เยน ส่วนดุลการค้าเกินดุลจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
0.2 อยู่ที่ระดับ 1.1070 ล้าน ล้านเยน (รอยเตอร์)
3.ราคาสินค้าขายส่งของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 พ.ย.49 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงาน
Corporate goods price index หรือ CGPI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดราคาสินค้าขายส่งของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในเดือน ต.ค.49 เมื่อเทียบกับช่วง
เวลาเดียวกันของปี 48 ต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปีในเดือน ก.ย.49 สะท้อนให้เห็น
ถึงต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยหากเทียบต่อเดือน CGPI ในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
14 เดือนนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปีในเดือน ก.ย.49 สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยัง
ไม่ได้ผลักภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าทั้งราคาสินค้าขายส่งและดัชนีราคาผู้บริโภคจะสูงขึ้นในปี 50 เมื่อ
ระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปลอดภาระหนี้สินส่วนเกินรวมถึงกำลังการผลิตและพนักงานลูกจ้างส่วนเกินด้วย จากความเห็นดังกล่าว ธ.กลางญี่ปุ่นจึงส่ง
สัญญาณว่าจะค่อย ๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเป็นร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0 เมื่อเดือน
ก.ค.49 ที่ผ่านมา แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเห็นว่ารัฐบาลอาจเกลี้ยกล่อมให้ ธ.กลางญี่ปุ่นชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อนเพื่อหวังกระตุ้น
เศรษฐกิจของประเทศ (รอยเตอร์)
4.คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 50 จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 9.5 รายงานจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.49
State Information Centre ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและวางแผนเศรษฐกิจชั้นนำของจีน ซึ่งอยู่ในสังกัด National Development anc Reform
Commission คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 50 จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ขณะที่ก่อนหน้านี้สถาบันฯ คาดการณ์ประมาณ
การผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในปี 49 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5 ทั้งนี้ จีดีพีของจีนเติบโตร้อยละ 10 หรือมากกว่ามาตลอดทุกปีตั้งแต่ปี 46 เป็น
ต้นมา หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 ในปี 45 นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังคาดว่าในปี 50 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจะชะลอลงร้อยละ 6.5 อยู่ที่ร้อยละ 20
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.0 การส่งออกจะชะลอลงเกือบร้อยละ 10 อยู่ที่ร้อยละ 15 ขณะที่การนำเข้าจะลดลงร้อยละ 7.5
อยู่ที่ร้อยละ 14 ส่งผลให้จีนจะเกินดุลการค้าในปี 50 ประมาณ 176.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง สถาบันฯ เสนอความเห็นว่าปริมาณเงิน M2
ของจีนควรจำกัดอยู่ที่ร้อยละ 16 โดยให้มีเงินกู้ใหม่รวม 3 ล้านล้านหยวน (381 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) และให้มีการควบคุมการกู้ยืมระยะปานกลาง
และระยะยาวอย่างเข้มงวด (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 พ.ย. 49 10 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.6417 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.4556/36.7480 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 740.42/12.46 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,850/10,950 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.09 56.72 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 พ.ย. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
13 พฤศจิกายน 2549
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตไตรมาส 3 ปีนี้ชะลอตัวลง ธปท. รายงานการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดไตรมาส 3
ปีนี้ พบว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรมีทั้งสิ้น 5.93 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 337 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.57 แยกเป็นการใช้จ่าย
ในประเทศ 4.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 318 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.75 และการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.17 พันล้านบาท ลดลง 69 ล้านบาท
หรือร้อยละ 3.07 ในขณะที่จำนวนบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 10.48 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือน มิ.ย.49 หรือไตรมาสก่อน 1.74 แสนใบ หรือร้อยละ 1.66
ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 1.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.53 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.24 สำหรับปริมาณการเบิกสดล่วงหน้ามีจำนวน 1.45
หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 88 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.61 ต่างจากในช่วงปีที่ผ่านมาที่ยอดการเบิกเงินสดเพิ่มสูงขึ้นมาก ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตชะลอลงเป็นไปตามที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ เพราะแม้ว่าจำนวนบัตรเครดิตจะมีมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้บริโภคจะใช้
บัตรเครดิตทุกใบที่มี ซึ่งทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่น่าเป็นห่วง ธปท. จึงไม่จำเป็นต้องออกมาตรการใหม่ออกมาดูแลเพิ่มเติมอีก
เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการเสนอมาตรการกำกับใหม่เอาไว้แล้ว เพียงแต่รอการประกาศใช้จริงเท่านั้น (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.พาณิชย์สำรองหนี้รองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS 39 นายสุวรรณ แทนสถิต รอง กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า
ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้เพื่อรองรับมาตรฐานบัญชี IAS 39 ที่กำหนดให้ ธ.พาณิชย์จะต้องสำรองหนี้ 100% ของมูลหนี้หลังจากการหักราคาประเมินหลัก
ประกันที่คำนวณจากราคาปัจจุบัน (PV) ลบด้วยส่วนลดตามเกณฑ์ของ ธปท. ที่จะบังคับใช้ในปลายปีนี้ ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้กันสำรองอยู่ที่ระดับ 7 หมื่นล้านบาท
จากที่ ธปท. กำหนดไว้ที่ระดับ 4 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารยังตั้งสำรองงวดละ 3-4 พันล้านบาท เตรียมไว้ก่อนหน้า ทำให้ไม่ต้องเพิ่มการ
ตั้งสำรองเกินกว่าปกติ โดยคาดว่าเงินสำรองของธนาคารจะเพียงพอไปจนถึงปลายปี 50 ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ดังกล่าว ธ.พาณิชย์จะต้องกันสำรอง 100%
สำหรับเอ็นพีแอลที่เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องเป็นกลุ่มแรก และในเดือน มิ.ย.50 ต้องกันสำรองลูกหนี้ที่ค้างชำระ 6 เดือน และในเดือน ธ.ค.50
จะต้องกันสำรองลูกหนี้ที่ค้างชำระ 3 เดือน จากเดิมที่ธนาคารจะใช้ราคาประเมินมาหักลบหนี้ก่อนจะตั้งสำรองตามการจัดชั้นหนี้ ด้าน
นางกิตติยา โตธนะเกษม รอง กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมีความพร้อมในการเตรียมการรองรับเกณฑ์มาตรฐานบัญชี IAS 39
เนื่องจากมีเงินกองทุนเพียงพอและมีกำไรมากพอที่จะรองรับการสำรองที่จะต้องเพิ่มขึ้นในอนาคตได้โดยไม่กระทบเงินกองทุนที่มีอยู่ ซึ่งธนาคารได้
กันสำรองเดือนละ 300 ล้านบาท และในไตรมาสที่ผ่านมาธนาคารได้ตั้งสำรองพิเศษอีก 1 พันล้านบาท (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ยอดส่งเสริมการลงทุนช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.49 มีมูลค่า 4.24 แสนล้านบาท ลดลงกว่าร้อยละ 33 นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล
เลขาธิการ สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติการลงทุนของต่างชาติช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.49) พบ
ว่า มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,144 โครงการ มูลค่า 424,800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33 แม้ว่าจำนวนโครงการจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ
กับปีก่อนที่จำนวนขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,066 โครงการ มูลค่า 630,900 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาการลงทุนส่วนใหญ่ลดลงทั้งเงินลงทุนและ
จำนวนโครงการ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนสูงสุด 306 โครงการ ลดลงจากปีก่อน 313 โครงการ สหภาพยุโรป 131 โครงการ ลดลงจาก 149
โครงการ ฮ่องกง 23 โครงการ ลดลงจาก 29 โครงการ ยกเว้น สรอ. ที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้น 56 โครงการ จาก 54 โครงการ อย่างไรก็
ตาม บีโอไอยังมั่นใจว่ามีแนวโน้มต่างชาติจะลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
และคาดว่าปีนี้การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจะเป็นไปตามเป้า 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ หลังการปฏิรูปการเมือง บีโอไอได้สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลง
ทุนและชี้แจงนักลงทุนต่างชาติให้เชื่อมั่นนโยบายการลงทุนของไทยที่ยังเน้นต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติและเป็นแหล่งรองรับการลงทุน รวมทั้งจะ
ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงสถานการณ์ในประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติยังคงมีแนวโน้มจะลงทุนและขยายการลงทุนในไทย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การประชุมระดับรมว.คลัง และจนท. ธ.กลางของกลุ่มประเทศ G 20 เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน รายงาน
จากกรุงแคนเบอรา ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 49 นาย Peter Costello รมว. คลัง ออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพ
การประชุม G 20 ใน Melbourneระหว่างวันที่ 18 — 19 พ.ย. ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างรมว.คลัง และ ธ.กลางจากประเทศที่มี
เศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมทั้งจีน อินเดีย สรอ. ญี่ปุ่น และอังกฤษ เพื่อหาแนวทางรักษาความมั่นคงและระดับราคาด้านพลังงานและทรัพยากรให้
เป็นไปอย่างเหมาะสมเนื่องจากอุปสงค์จากจีนและอินเดียเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้การประชุมจะนำประเทศผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อาทิ ซาอุดิอารเบีย
รัสเซีย กับลูกค้าขนาดใหญ่รวมทั้งจีน และอินเดียมาพบปะกัน ซึ่งสำนักงานการเกษตรและทรัพยากรทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียกล่าวว่า อุปสงค์
ด้านพลังงานจากจีนยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องคาดว่าในปี 49 จะสูงถึงร้อยละ 6.5 และจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5.5 ในปี 50 เช่น
เดียวกับอุปสงค์จากอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในปีงปม.การเงิน 49/50 หลังจากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.4 ในปีงปม.การเงิน 48/49 อย่างไรก็ตาม
คาดว่าการประชุมของกลุ่มประเทศ G 20 จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เนื่องจากจะมีการประท้วง แต่นาย Costello รมว.
คลัง ออสเตรเลีย กล่าวว่าไม่เข้าใจว่าจะประท้วงการประชุมดังกล่าวทำไม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการประชุมที่มีผู้แทนทั้งจากประเทศพัฒนาแล้ว และ
ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมการประชุมด้วย (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 จะเติบโตร้อยละ 0.2 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 49 ผลการสำรวจนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวน 26 คนของรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงเดือน ก.ค. — ก.ย. จะขยายตัวร้อยละ 0.2 เท่ากับจากไตรมาสก่อน และ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 มีกำหนดที่จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการในวัน
อังคารที่ 14 เวลา 8.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่ตัวเลขการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เปิดเผยโดยทางการญี่ปุ่นในเดือน ก.ย. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 อยู่ที่ระดับ 2.0249 ล้าน ล้าน เยน (17.22 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) มากกว่าผลการสำรวจโดย
รอยเตอร์ที่คาดว่าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 อยู่ที่ระดับ 2.01 ล้าน ล้าน เยน ส่วนดุลการค้าเกินดุลจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
0.2 อยู่ที่ระดับ 1.1070 ล้าน ล้านเยน (รอยเตอร์)
3.ราคาสินค้าขายส่งของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 พ.ย.49 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงาน
Corporate goods price index หรือ CGPI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดราคาสินค้าขายส่งของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในเดือน ต.ค.49 เมื่อเทียบกับช่วง
เวลาเดียวกันของปี 48 ต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปีในเดือน ก.ย.49 สะท้อนให้เห็น
ถึงต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยหากเทียบต่อเดือน CGPI ในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
14 เดือนนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปีในเดือน ก.ย.49 สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยัง
ไม่ได้ผลักภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าทั้งราคาสินค้าขายส่งและดัชนีราคาผู้บริโภคจะสูงขึ้นในปี 50 เมื่อ
ระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปลอดภาระหนี้สินส่วนเกินรวมถึงกำลังการผลิตและพนักงานลูกจ้างส่วนเกินด้วย จากความเห็นดังกล่าว ธ.กลางญี่ปุ่นจึงส่ง
สัญญาณว่าจะค่อย ๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเป็นร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0 เมื่อเดือน
ก.ค.49 ที่ผ่านมา แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเห็นว่ารัฐบาลอาจเกลี้ยกล่อมให้ ธ.กลางญี่ปุ่นชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อนเพื่อหวังกระตุ้น
เศรษฐกิจของประเทศ (รอยเตอร์)
4.คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 50 จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 9.5 รายงานจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.49
State Information Centre ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและวางแผนเศรษฐกิจชั้นนำของจีน ซึ่งอยู่ในสังกัด National Development anc Reform
Commission คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 50 จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ขณะที่ก่อนหน้านี้สถาบันฯ คาดการณ์ประมาณ
การผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในปี 49 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5 ทั้งนี้ จีดีพีของจีนเติบโตร้อยละ 10 หรือมากกว่ามาตลอดทุกปีตั้งแต่ปี 46 เป็น
ต้นมา หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 ในปี 45 นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังคาดว่าในปี 50 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจะชะลอลงร้อยละ 6.5 อยู่ที่ร้อยละ 20
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.0 การส่งออกจะชะลอลงเกือบร้อยละ 10 อยู่ที่ร้อยละ 15 ขณะที่การนำเข้าจะลดลงร้อยละ 7.5
อยู่ที่ร้อยละ 14 ส่งผลให้จีนจะเกินดุลการค้าในปี 50 ประมาณ 176.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง สถาบันฯ เสนอความเห็นว่าปริมาณเงิน M2
ของจีนควรจำกัดอยู่ที่ร้อยละ 16 โดยให้มีเงินกู้ใหม่รวม 3 ล้านล้านหยวน (381 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) และให้มีการควบคุมการกู้ยืมระยะปานกลาง
และระยะยาวอย่างเข้มงวด (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 พ.ย. 49 10 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.6417 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.4556/36.7480 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 740.42/12.46 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,850/10,950 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.09 56.72 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 พ.ย. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--