สศอ.ชี้ฐานการผลิตยานยนต์ยังแกร่ง ยอดผลิตส่งออกยังคึกคัก สวนทางเศรษฐกิจชะลอ ส่งดัชนีอุตฯพ.ค.พุ่งร้อยละ 8.54 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 162.07 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.54 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 149.32 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 71.0
ในเดือนพฤษภาคม ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 170.56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.72 จากระดับ 155.45 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 149.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.33 จากระดับ 136.78 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 183.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.81 จากระดับ 160.14
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 139.06 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.44 จากระดับ 128.24 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.38 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 จากระดับ 113.68 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 จากระดับ 136.48
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ถือว่ามีสัญญาณการชะลอตัวค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทิศทางขาขึ้นของดอกเบี้ยส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนชะลอตัวเช่นกัน อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขยายตัวดี ซึ่งเห็นได้จากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีอุตสาหกรรม โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันหลายเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย สำหรับเดือนพฤษภาคมนี้มีปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยหนุนที่ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 การจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการส่งออก ซึ่งสัดส่วนของการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.5 เมื่อปีก่อน เป็นร้อยละ 43.9 ของยอดการจำหน่ายทั้งหมด อย่างไรก็ตามตลาดภายในประเทศมีทิศทางชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคชะลอตัว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์
ส่วน การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตสินค้าในกลุ่มมีการขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 28.2 ส่วนการจำหน่ายขยายตัวร้อยละ 27.8 เนื่องจากการผลิต Hard Disk Drive ซึ่งเป็นสินค้าหลักในกลุ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่มายังประเทศไทย ส่งผลต่อการผลิตและการจำหน่ายสินค้าในกลุ่มเพิ่มขึ้น
และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการผลิตและจำหน่ายเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางขยายตัวได้ดีสินค้าที่สำคัญในกลุ่มที่ส่งผลต่อการขยายตัว คือ IC Monolithic และ Other IC โดย IC Monolithic มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และ Other IC การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 เนื่องจากแรงสนับสนุนของตลาดโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นหลอดภาพสำหรับจอโทรทัศน์และหลอดคอมพิวเตอร์ ซึ่งความต้องการของตลาดลดลง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนพฤษภาคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยส่งผลให้การผลิตลดลงร้อยละ 4.63 หรือมีปริมาณการผลิตลดลง 193.4 ล้านลิตร ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 5.35 หรือมีปริมาณการจำหน่ายลดลง 212.5 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
และ การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ธุรกิจการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางที่ลดลง โดยเป็นผลมาจากปัญหาการลงทุนที่ชะลอตัวลงทั้งภาครัฐและเอกชน กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูง จึงส่งผลให้การผลิต 5 เดือนแรกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.4
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 162.07 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.54 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 149.32 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 71.0
ในเดือนพฤษภาคม ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 170.56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.72 จากระดับ 155.45 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 149.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.33 จากระดับ 136.78 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 183.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.81 จากระดับ 160.14
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 139.06 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.44 จากระดับ 128.24 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.38 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 จากระดับ 113.68 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 จากระดับ 136.48
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ถือว่ามีสัญญาณการชะลอตัวค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทิศทางขาขึ้นของดอกเบี้ยส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนชะลอตัวเช่นกัน อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขยายตัวดี ซึ่งเห็นได้จากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีอุตสาหกรรม โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันหลายเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย สำหรับเดือนพฤษภาคมนี้มีปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยหนุนที่ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 การจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการส่งออก ซึ่งสัดส่วนของการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.5 เมื่อปีก่อน เป็นร้อยละ 43.9 ของยอดการจำหน่ายทั้งหมด อย่างไรก็ตามตลาดภายในประเทศมีทิศทางชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคชะลอตัว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์
ส่วน การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตสินค้าในกลุ่มมีการขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 28.2 ส่วนการจำหน่ายขยายตัวร้อยละ 27.8 เนื่องจากการผลิต Hard Disk Drive ซึ่งเป็นสินค้าหลักในกลุ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่มายังประเทศไทย ส่งผลต่อการผลิตและการจำหน่ายสินค้าในกลุ่มเพิ่มขึ้น
และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการผลิตและจำหน่ายเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางขยายตัวได้ดีสินค้าที่สำคัญในกลุ่มที่ส่งผลต่อการขยายตัว คือ IC Monolithic และ Other IC โดย IC Monolithic มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และ Other IC การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 เนื่องจากแรงสนับสนุนของตลาดโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นหลอดภาพสำหรับจอโทรทัศน์และหลอดคอมพิวเตอร์ ซึ่งความต้องการของตลาดลดลง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนพฤษภาคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยส่งผลให้การผลิตลดลงร้อยละ 4.63 หรือมีปริมาณการผลิตลดลง 193.4 ล้านลิตร ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 5.35 หรือมีปริมาณการจำหน่ายลดลง 212.5 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
และ การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ธุรกิจการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางที่ลดลง โดยเป็นผลมาจากปัญหาการลงทุนที่ชะลอตัวลงทั้งภาครัฐและเอกชน กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูง จึงส่งผลให้การผลิต 5 เดือนแรกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.4
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-