เกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พอใจการดำเนินงานโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าควรทำต่อไปเพราะเป็นประโยชน์มากและส่งผลถึงเกษตรกรโดยตรง พร้อมหนุนโครงการให้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 เห็นชอบในหลักการและกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 137.99 ล้านบาท แยกเป็นงบดำเนินการ 77.99 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนซื้อขายยางพารา 60 ล้านบาท ทำการจัดตั้งโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 14 แห่ง ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2548 — พฤษภาคม 2549 รวม 6 เดือน เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กองทัพบกและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประเมินผลโครงการดังกล่าว
สำหรับผลการลงทะเบียนและการออกบัตรลงทะเบียนผู้ประสงค์จะขายยางพารา มีทั้งสิ้น 593 ราย พื้นที่ทั้งหมด 29,029 ไร่ แยกเป็นจังหวัดปัตตานี 71 ราย พื้นที่ 2,009 ไร่ จังหวัดยะลา 394 ราย พื้นที่ 23,710 ไร่ และจังหวัดนราธิวาส 128 ราย พื้นที่ 3,310 ไร่ ผลการซื้อขายมีผู้ใช้บริการ 1,031 ราย ปริมาณรวมทั้งสิ้น 516 ตัน คิดเป็นมูลค่า 35.449 ล้านบาท ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ร้อยละ 98 เห็นว่าสถานที่ตั้งตลาดกลางมีความเหมาะสม ร้อยละ 73 พอใจในราคายางพาราที่ได้รับ รวมทั้งขั้นตอนการซื้อขายที่มีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที อีกร้อยละ 27 พอใจมาก เนื่องจากราคาสูงกว่าตลาดท้องถิ่น
ส่วนเวลาซื้อขายตั้งแต่เวลา 08.00 — 12.00 น. ผู้ขายร้อยละ 70 เห็นว่าเหมาะสม เพราะเป็นช่วงเวลาที่สะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง ระยะเวลาซื้อขาย ร้อยละ 67 บอกว่าระยะเวลาสั้นเกินไป อยากให้ขยายเวลารับซื้อออกไปอีก เนื่องจากขายยางได้ราคาสูง อีกทั้งช่วยรักษาระดับราคาในท้องถิ่นไม่ให้ต่ำกว่าความเป็นจริง สาเหตุที่นำยางมาขาย ร้อยละ 63 ตอบว่าเนื่องจากได้รับราคาที่เป็นธรรมและราคาสูงกว่าท้องตลาด ร้อยละ 25 เห็นว่าสะดวกดี สถานที่ตั้งอยู่ในเมืองมีความปลอดภัย ผู้ใช้บริการกว่าร้อยละ 95 เห็นว่าควรดำเนินโครงการต่อไป เพราะมีประโยชน์มาก กล่าวคือทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา ส่งผลให้ร้านค้าในท้องถิ่นปรับราคารับซื้อสูงขึ้นตามราคาตลาดกลางทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นตามไปด้วย นางยินดีกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 เห็นชอบในหลักการและกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 137.99 ล้านบาท แยกเป็นงบดำเนินการ 77.99 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนซื้อขายยางพารา 60 ล้านบาท ทำการจัดตั้งโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 14 แห่ง ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2548 — พฤษภาคม 2549 รวม 6 เดือน เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กองทัพบกและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประเมินผลโครงการดังกล่าว
สำหรับผลการลงทะเบียนและการออกบัตรลงทะเบียนผู้ประสงค์จะขายยางพารา มีทั้งสิ้น 593 ราย พื้นที่ทั้งหมด 29,029 ไร่ แยกเป็นจังหวัดปัตตานี 71 ราย พื้นที่ 2,009 ไร่ จังหวัดยะลา 394 ราย พื้นที่ 23,710 ไร่ และจังหวัดนราธิวาส 128 ราย พื้นที่ 3,310 ไร่ ผลการซื้อขายมีผู้ใช้บริการ 1,031 ราย ปริมาณรวมทั้งสิ้น 516 ตัน คิดเป็นมูลค่า 35.449 ล้านบาท ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ร้อยละ 98 เห็นว่าสถานที่ตั้งตลาดกลางมีความเหมาะสม ร้อยละ 73 พอใจในราคายางพาราที่ได้รับ รวมทั้งขั้นตอนการซื้อขายที่มีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที อีกร้อยละ 27 พอใจมาก เนื่องจากราคาสูงกว่าตลาดท้องถิ่น
ส่วนเวลาซื้อขายตั้งแต่เวลา 08.00 — 12.00 น. ผู้ขายร้อยละ 70 เห็นว่าเหมาะสม เพราะเป็นช่วงเวลาที่สะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง ระยะเวลาซื้อขาย ร้อยละ 67 บอกว่าระยะเวลาสั้นเกินไป อยากให้ขยายเวลารับซื้อออกไปอีก เนื่องจากขายยางได้ราคาสูง อีกทั้งช่วยรักษาระดับราคาในท้องถิ่นไม่ให้ต่ำกว่าความเป็นจริง สาเหตุที่นำยางมาขาย ร้อยละ 63 ตอบว่าเนื่องจากได้รับราคาที่เป็นธรรมและราคาสูงกว่าท้องตลาด ร้อยละ 25 เห็นว่าสะดวกดี สถานที่ตั้งอยู่ในเมืองมีความปลอดภัย ผู้ใช้บริการกว่าร้อยละ 95 เห็นว่าควรดำเนินโครงการต่อไป เพราะมีประโยชน์มาก กล่าวคือทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา ส่งผลให้ร้านค้าในท้องถิ่นปรับราคารับซื้อสูงขึ้นตามราคาตลาดกลางทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นตามไปด้วย นางยินดีกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-