นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป?ดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสิงคโปร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสมัยพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G7 * โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเป็นประธาน ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงก่อนการประชุม ประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศประจำปี 2549 ณ โรงแรม Raffles ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 ผลการประชุมสรุปได?ดังนี้
1. ที่ประชุมได้มีหารือเกี่ยวกับภาวะการบริโภค การลงทุน และการออมในภาพรวม ของโลกโดยเน้นถึงภาวะการบริโภค การลงทุน และการออมของประเทศเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Economies) เช่น จีน สิงคโปร์ ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กลุ่มประเทศ G7 ได้แสดงความเห็นว่าประเทศเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชียนี้มีศักยภาพในการบริโภค และการลงทุนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะประเทศจีน จึงเห็นควรให้ประเทศเหล่านี้มีแนวนโยบายในการเพิ่มอัตราการบริโภคและการลงทุนในประเทศและในภูมิภาคเพื่อก่อให้เกิดการขยายตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญต่อการออมในประเทศ โดยเฉพาะการออม ในระยะยาว เช่นการออมสำหรับการเกษียณอายุ ซึ่งในอนาคตโครงสร้างของประชากรโลกจะมีกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจใหม่ควรมีแนวทางในการพัฒนาระบบการออมในระยะยาว เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำหรับผู้เกษียณอายุ และกองทุนประกันสังคม
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย ได้ชี้แจงที่ประชุมเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5 สำหรับในปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องมาจากปัญหาความล่าช้าในการเบิก
* กลุ่มประเทศ G7 ประกอบด้วย ประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
จ่ายเงินงบประมาณ และภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจกิจอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Tracks Policy) ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความต้องการภายในประเทศ (Internal Demand) การแก้ไขปัญหาความยากจน และการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ความต้องการจากต่างประเทศ (External Demand) และการลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าประเทศไทยมีนโยบายในการเปิดเสรีทางการเงิน ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีจะต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดความความผันผวนของระบบการเงินของประเทศ และการเปิดเสรีทางการเงินนั้น จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและความพร้อมของภาคการเงินของประเทศ โดยจะมุ่งเน้นถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 86/2549 27 กันยายน 49--
1. ที่ประชุมได้มีหารือเกี่ยวกับภาวะการบริโภค การลงทุน และการออมในภาพรวม ของโลกโดยเน้นถึงภาวะการบริโภค การลงทุน และการออมของประเทศเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Economies) เช่น จีน สิงคโปร์ ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กลุ่มประเทศ G7 ได้แสดงความเห็นว่าประเทศเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชียนี้มีศักยภาพในการบริโภค และการลงทุนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะประเทศจีน จึงเห็นควรให้ประเทศเหล่านี้มีแนวนโยบายในการเพิ่มอัตราการบริโภคและการลงทุนในประเทศและในภูมิภาคเพื่อก่อให้เกิดการขยายตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญต่อการออมในประเทศ โดยเฉพาะการออม ในระยะยาว เช่นการออมสำหรับการเกษียณอายุ ซึ่งในอนาคตโครงสร้างของประชากรโลกจะมีกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจใหม่ควรมีแนวทางในการพัฒนาระบบการออมในระยะยาว เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำหรับผู้เกษียณอายุ และกองทุนประกันสังคม
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย ได้ชี้แจงที่ประชุมเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5 สำหรับในปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องมาจากปัญหาความล่าช้าในการเบิก
* กลุ่มประเทศ G7 ประกอบด้วย ประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
จ่ายเงินงบประมาณ และภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจกิจอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Tracks Policy) ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความต้องการภายในประเทศ (Internal Demand) การแก้ไขปัญหาความยากจน และการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ความต้องการจากต่างประเทศ (External Demand) และการลงทุนของต่างชาติในประเทศไทย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าประเทศไทยมีนโยบายในการเปิดเสรีทางการเงิน ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีจะต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดความความผันผวนของระบบการเงินของประเทศ และการเปิดเสรีทางการเงินนั้น จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและความพร้อมของภาคการเงินของประเทศ โดยจะมุ่งเน้นถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 86/2549 27 กันยายน 49--