นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทวิเคราะห์ประจำสัปดาห์ล่าสุด เผยแพร่ในเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์www.democrat.or.th เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมนี้ เรื่อง “ แต่งตั้ง สสร. เรื่องที่ คมช. ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้” ระบุว่า อำนาจในการคัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) โดยให้คมช.คัดเลือกเอาเพียง 100 คนจาก 200 คน ที่ประชุมสมัชชาคัดเลือกมา รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ว่า 10 คนให้แต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานคมช. ล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสงวนไว้ซึ่งอำนาจของคมช. และประธานคมช.อย่างชัดเจน
นายบัญญัติ ระบุว่า เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10 คนนั้น ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งมีข่าวว่ามีนักวิชาการแวะเวียนไปให้ความเห็นต่อประธานคมช.อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางรัฐธรรมนูญ โดยปกติการรับฟังความเห็นมาก ๆ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แต่ต้องระมัดระวังแยกแยะให้ดี โดยเฉพาะบางคนที่เป็นประเภทไม่มีประสบการณ์แต่มากไปด้วยจินตนาการว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ซึ่งพอปฏิบัติเข้าจริงก็ไม่เป็นอย่างที่ว่าแล้วก็จะเกิดความเสียหายขึ้นมาในที่สุด ซึ่งถ้าประธานคมช.เผลอไปแนะนำให้แต่งตั้งคนเหล่านี้เข้าไป เมื่อคนเหล่านี้แสดงความคิดความเห็นที่ไม่เข้าท่าออกมาแล้วสังคมรับไม่ได้ สังคมก็มีสิทธิที่จะคิดว่านี่คือความคิดของประธานคมช. เพราะแนะนำให้แต่งตั้งมาเอง และถ้าความคิดที่ว่านี้เป็นความคิดที่ล้าหลังและมีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจด้วยแล้ว จะไปกันใหญ่ ประธานคมช.จึงต้องรอบคอบเป็นพิเศษ
นายบัญญัติชี้ว่า หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ประธานคมช.จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ และผลที่จะตามมาคือ 1) จะเกิดความขัดแย้งแตกแยกขึ้นในสังคม ทำให้ยุ่งยากต่อการที่จะสร้างสมานฉันท์ 2) จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นไปด้วยความยุ่งยาก และในที่สุดอาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นตามความเห็นร่วมของสังคมอย่างแท้จริง 3) ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อคมช.ต้องลดลง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติภารกิจของคมช.และของรัฐบาล
อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอแนะว่า กระบวนการเลือกตั้งและคัดเลือกผู้เป็นสสร.รวมทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 35 คน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส เหมาะสมอธิบายได้ พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอันเป็นแนวทางในเชิงหลักการต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อเป็นหลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามแนวทางที่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ใน 4 ประเด็น คือ 1. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำขึ้นโดยมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง 2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดระบบการถ่วงดุลอำนาจ ระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นให้มีประสิทธิภาพมากกว่าฉบับปี 2540 รวมทั้งสามารถป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระให้ได้ดีกว่าอีกด้วย 3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นต้นร่างเปรียบเทียบ 4. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องไม่ล้าหลังกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540
“ใครก็ตามที่คิดว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ถอยหลังไปกว่าเดิมซึ่งจะด้วยความมุ่งหมายอะไรก็แล้วแต่ ต้องเลิกคิดได้เลยเพราะประชาชนไม่มีวันยอมเป็นอันขาดและมีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในบ้านเมืองเท่านั้นเอง” นายบัญญัติ ระบุในตอนท้าย
////////////////////////////////
(อ่านรายละเอียด ใน www.democrat.or.th)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--
นายบัญญัติ ระบุว่า เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10 คนนั้น ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งมีข่าวว่ามีนักวิชาการแวะเวียนไปให้ความเห็นต่อประธานคมช.อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางรัฐธรรมนูญ โดยปกติการรับฟังความเห็นมาก ๆ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แต่ต้องระมัดระวังแยกแยะให้ดี โดยเฉพาะบางคนที่เป็นประเภทไม่มีประสบการณ์แต่มากไปด้วยจินตนาการว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ซึ่งพอปฏิบัติเข้าจริงก็ไม่เป็นอย่างที่ว่าแล้วก็จะเกิดความเสียหายขึ้นมาในที่สุด ซึ่งถ้าประธานคมช.เผลอไปแนะนำให้แต่งตั้งคนเหล่านี้เข้าไป เมื่อคนเหล่านี้แสดงความคิดความเห็นที่ไม่เข้าท่าออกมาแล้วสังคมรับไม่ได้ สังคมก็มีสิทธิที่จะคิดว่านี่คือความคิดของประธานคมช. เพราะแนะนำให้แต่งตั้งมาเอง และถ้าความคิดที่ว่านี้เป็นความคิดที่ล้าหลังและมีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจด้วยแล้ว จะไปกันใหญ่ ประธานคมช.จึงต้องรอบคอบเป็นพิเศษ
นายบัญญัติชี้ว่า หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ประธานคมช.จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ และผลที่จะตามมาคือ 1) จะเกิดความขัดแย้งแตกแยกขึ้นในสังคม ทำให้ยุ่งยากต่อการที่จะสร้างสมานฉันท์ 2) จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นไปด้วยความยุ่งยาก และในที่สุดอาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นตามความเห็นร่วมของสังคมอย่างแท้จริง 3) ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อคมช.ต้องลดลง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติภารกิจของคมช.และของรัฐบาล
อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอแนะว่า กระบวนการเลือกตั้งและคัดเลือกผู้เป็นสสร.รวมทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 35 คน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส เหมาะสมอธิบายได้ พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอันเป็นแนวทางในเชิงหลักการต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อเป็นหลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามแนวทางที่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ใน 4 ประเด็น คือ 1. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำขึ้นโดยมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง 2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดระบบการถ่วงดุลอำนาจ ระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นให้มีประสิทธิภาพมากกว่าฉบับปี 2540 รวมทั้งสามารถป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระให้ได้ดีกว่าอีกด้วย 3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องจัดทำโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นต้นร่างเปรียบเทียบ 4. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องไม่ล้าหลังกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540
“ใครก็ตามที่คิดว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ถอยหลังไปกว่าเดิมซึ่งจะด้วยความมุ่งหมายอะไรก็แล้วแต่ ต้องเลิกคิดได้เลยเพราะประชาชนไม่มีวันยอมเป็นอันขาดและมีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในบ้านเมืองเท่านั้นเอง” นายบัญญัติ ระบุในตอนท้าย
////////////////////////////////
(อ่านรายละเอียด ใน www.democrat.or.th)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ธ.ค. 2549--จบ--