ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงานในสถานประกอบการเริ่มมีปัญหารุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะฝีมือ และแรงงานระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมบางสาขาที่ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยฝุ่นละออง มีเสียงดัง หรือมีอุณหภูมิในที่ทำงานสูงกว่าปกติ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ, เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น รวมทั้งปัญหาการเข้า-ออกของพนักงานที่มีอัตราสูงขึ้น ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาฝีมือ โรงงานบางส่วนต้องปรับกลยุทธ์ในการรักษาพนักงานของตนเอง ทั้งในด้านการเพิ่มสวัสดิการต่างๆ การปรับเวลาการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงฤดูกาลเกษตร ที่พนักงานมักจะลาไปทำเกษตรกรรม ทำให้การผลิตของโรงงานชะงักหรือล่าช้า ไม่ทันส่งมอบสินค้าตามที่กำหนดได้ และมีบางโรงงานที่จำเป็นต้องย้ายสถานประกอบการไปอยู่ในภูมิภาคที่มีการกระจุกตัวของแรงงาน อาทิเช่น โรงงานสิ่งทอที่เริ่มย้ายโรงงานไปอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมากขึ้น
จากสภาพดังกล่าวข้างต้น หากสถานประกอบการใดปล่อยปละละเลยพนักงาน ยิ่งจะกระตุ้นให้พนักงานมีอัตราการเข้า-ออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานฝีมือในที่สุด ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหาการไหลออกของพนักงาน ผู้ประกอบการควรจะสร้างความสุขให้เกิดในที่ทำงานให้มากที่สุด ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พนักงานจะใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด ดังนั้นหาก “ที่ทำงานน่าอยู่ คนทำงานก็จะมีความสุข” ย่อมไม่เกิดความต้องการเคลื่อนย้ายไปที่อื่น สำหรับแนวทางในการสร้างความสุขในที่ทำงาน (HAPPY WORKPLACE) นั้นควรประกอบด้วย
1. Happy Body : ส่งเสริมสุขภาพของพนักงานให้แข็งแกร่งทั้งกายและจิตใจ
2. Happy Heart : กระตุ้นให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกันและกัน
3. Happy Society : สนับสนุนให้เกิดความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่พนักงานทำงานและพักอาศัย
ให้มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี
4. Happy Relax : ให้ความรู้ความเข้าใจ รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่างๆ ในการดำเนินชีวิต การสร้าง
กิจกรรมบันเทิงพักผ่อนลดความเครียดในการทำงาน
5. Happy Brain : ส่งเสริมให้พนักงานรู้จักศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองตลอดเวลาจากแหล่งต่างๆ
เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ รอบรู้ เกิดความก้าวหน้าในการทำงาน ชีวิตเกิดความมั่นคง
6. Happy Soul : ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา กระตุ้นให้เกิดความศรัทธา มีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต
7. Happy Money : สนับสนุนให้พนักงานรู้จักเก็บรู้จักใช้ไม่เป็นหนี้ บริหารการใช้จ่ายของตนเองและ
ครอบครัวอย่างถูกวิธี มีการออมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
8. Happy Family : ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักในความสำคัญของครอบครัว การซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน
การสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่น
แนวทางทั้ง 8 ประการ จะก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ สถานประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานของสถานประกอบการแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนครอบครัวเดียวกัน อาทิเช่น การจัดกิจกรรมกีฬาต่างๆ การเต้นแอโรบิค การจัดทำโครงการอาหารสะอาดสุขลักษณะในโรงงาน การรณรงค์เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ การลดอุบัติเหตุ การใส่อุปกรณ์ป้องกันทั้งในเวลาทำงานและและขับขี่ยานพาหนะ การเสริมสร้างอาชีวะอนามัยในสถานประกอบการ รวมทั้ง การจัดแข่งกีฬาที่เน้นความรักสามัคคี ความมีน้ำใจมากกว่าผลชนะ การบริจาคโลหิตให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานที่เจ็บป่วย การเยี่ยมเยียนแสดงความห่วงใยในทุกข์ของเพื่อนร่วมงาน การร่วมงานพิธีกรรมต่างๆ ของพนักงาน การส่งเสริมกิจกรรมช่วยกันดูแลความปลอดภัยในการทำงาน ในส่วนของการสร้างสรรค์สังคมอาจจะจัดกิจกรรมให้พนักงานร่วมกิจกรรมกับชุมชนนอกสถานประกอบการในวันสำคัญต่างๆ การพัฒนาชุมชนรอบข้าง เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อเป็นการกระตุ้นความรักและสามัคคีในหมู่พนักงานจนมีความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน
ประโยชน์การสร้างความสุขในที่ทำงานจะทำให้พนักงานมีความสุขดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงในอาชีพ เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำคัญต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงาน มีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น และรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สถานประกอบการและชุมชน สำหรับสถานประกอบการ จะสามารถผลักดันประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น คุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้นลดปัญหาการขาดงาน การเข้างานช้า การลาป่วยลากิจของพนักงาน รวมทั้ง ลดอัตราการเข้า-ออกของพนักงาน เนื่องจากพนักงานมีความรักในองค์กร ลดอัตราการเลิกจ้างทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสรรหาและฝึกอบรมพนักงานใหม่ รวมทั้งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถานประกอบการได้ในที่สุด และยังส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคมรอบข้างให้เกิดความสุขด้วยเช่นกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
จากสภาพดังกล่าวข้างต้น หากสถานประกอบการใดปล่อยปละละเลยพนักงาน ยิ่งจะกระตุ้นให้พนักงานมีอัตราการเข้า-ออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานฝีมือในที่สุด ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหาการไหลออกของพนักงาน ผู้ประกอบการควรจะสร้างความสุขให้เกิดในที่ทำงานให้มากที่สุด ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พนักงานจะใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด ดังนั้นหาก “ที่ทำงานน่าอยู่ คนทำงานก็จะมีความสุข” ย่อมไม่เกิดความต้องการเคลื่อนย้ายไปที่อื่น สำหรับแนวทางในการสร้างความสุขในที่ทำงาน (HAPPY WORKPLACE) นั้นควรประกอบด้วย
1. Happy Body : ส่งเสริมสุขภาพของพนักงานให้แข็งแกร่งทั้งกายและจิตใจ
2. Happy Heart : กระตุ้นให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกันและกัน
3. Happy Society : สนับสนุนให้เกิดความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่พนักงานทำงานและพักอาศัย
ให้มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี
4. Happy Relax : ให้ความรู้ความเข้าใจ รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่างๆ ในการดำเนินชีวิต การสร้าง
กิจกรรมบันเทิงพักผ่อนลดความเครียดในการทำงาน
5. Happy Brain : ส่งเสริมให้พนักงานรู้จักศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองตลอดเวลาจากแหล่งต่างๆ
เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ รอบรู้ เกิดความก้าวหน้าในการทำงาน ชีวิตเกิดความมั่นคง
6. Happy Soul : ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา กระตุ้นให้เกิดความศรัทธา มีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต
7. Happy Money : สนับสนุนให้พนักงานรู้จักเก็บรู้จักใช้ไม่เป็นหนี้ บริหารการใช้จ่ายของตนเองและ
ครอบครัวอย่างถูกวิธี มีการออมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
8. Happy Family : ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักในความสำคัญของครอบครัว การซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน
การสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่น
แนวทางทั้ง 8 ประการ จะก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ สถานประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานของสถานประกอบการแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนครอบครัวเดียวกัน อาทิเช่น การจัดกิจกรรมกีฬาต่างๆ การเต้นแอโรบิค การจัดทำโครงการอาหารสะอาดสุขลักษณะในโรงงาน การรณรงค์เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ การลดอุบัติเหตุ การใส่อุปกรณ์ป้องกันทั้งในเวลาทำงานและและขับขี่ยานพาหนะ การเสริมสร้างอาชีวะอนามัยในสถานประกอบการ รวมทั้ง การจัดแข่งกีฬาที่เน้นความรักสามัคคี ความมีน้ำใจมากกว่าผลชนะ การบริจาคโลหิตให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานที่เจ็บป่วย การเยี่ยมเยียนแสดงความห่วงใยในทุกข์ของเพื่อนร่วมงาน การร่วมงานพิธีกรรมต่างๆ ของพนักงาน การส่งเสริมกิจกรรมช่วยกันดูแลความปลอดภัยในการทำงาน ในส่วนของการสร้างสรรค์สังคมอาจจะจัดกิจกรรมให้พนักงานร่วมกิจกรรมกับชุมชนนอกสถานประกอบการในวันสำคัญต่างๆ การพัฒนาชุมชนรอบข้าง เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อเป็นการกระตุ้นความรักและสามัคคีในหมู่พนักงานจนมีความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน
ประโยชน์การสร้างความสุขในที่ทำงานจะทำให้พนักงานมีความสุขดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงในอาชีพ เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำคัญต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงาน มีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น และรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สถานประกอบการและชุมชน สำหรับสถานประกอบการ จะสามารถผลักดันประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น คุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้นลดปัญหาการขาดงาน การเข้างานช้า การลาป่วยลากิจของพนักงาน รวมทั้ง ลดอัตราการเข้า-ออกของพนักงาน เนื่องจากพนักงานมีความรักในองค์กร ลดอัตราการเลิกจ้างทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสรรหาและฝึกอบรมพนักงานใหม่ รวมทั้งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถานประกอบการได้ในที่สุด และยังส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคมรอบข้างให้เกิดความสุขด้วยเช่นกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-