อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะ ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.08 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.72 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.77 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.10 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 9.82 และ 4.58 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
การผลิตเซรามิก ในปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 152.98 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.91 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.84 และ 12.30 ตามลำดับ ซึ่งในภาพรวมแม้ว่าการผลิตเซรามิกจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ตามภาวะการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.78 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.24 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.04 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.43 และ 10.05 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกในประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ประกอบกับในช่วงไตรมาสนี้ มีฝนตกยาวนาน และเกิดปัญหา น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง
การจำหน่ายเซรามิก ในปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 163.76 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.87 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.36 และ 9.25 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง จากผลกระทบของราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากประเทศจีน ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด โดยจัดจำหน่ายสินค้าเป็นเซตเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ปรับปรุงดิสเพลย์หรือพื้นที่จัดแสดงสินค้าภายในร้านตัวแทนจำหน่าย ให้บริการคำปรึกษาต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการขาย ทั้งนี้เพื่อเน้นการทำตลาดให้ใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่ารวม 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 6.87 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวลดลงของ ผลิตภัณฑ์เซรามิกเกือบทุกผลิตภัณฑ์ในตลาดหลักทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดสหภาพยุโรป และ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.57 โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสภาพยุโรปกลับ มีอัตราการขยายตัวลดลงทุกผลิตภัณฑ์ (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมนี แคนาดา ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น ในปี 2548 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวม 633.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.00 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และของชำร่วยเครื่องประดับ ในอัตราร้อยละ 23.26 , 16.72 และ 3.15 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ในขณะที่การส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปมีอัตราการขยายตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นของชำร่วยและเครื่องประดับที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ในอัตรา ร้อยละ 9.09
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอิตาลี เป็นต้น โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2548 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 37.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราขยายตัวลดลง ร้อยละ 18.14 และ 2.12 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2548 มีมูลค่ารวม 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.62 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีอัตราขยายตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัวตามไปด้วย ประกอบกับในช่วงไตรมาสนี้มีฝนตกยาวนาน และเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตหันมาเน้นตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัวได้จากตลาดหลักซึ่งเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งจำเป็นต้องซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในผลิตภัณฑ์เซรามิกกลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.08 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.72 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.77 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.10 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 9.82 และ 4.58 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
การผลิตเซรามิก ในปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 152.98 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.91 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.84 และ 12.30 ตามลำดับ ซึ่งในภาพรวมแม้ว่าการผลิตเซรามิกจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ตามภาวะการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.78 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.24 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.04 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.43 และ 10.05 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกในประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ประกอบกับในช่วงไตรมาสนี้ มีฝนตกยาวนาน และเกิดปัญหา น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง
การจำหน่ายเซรามิก ในปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 163.76 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.87 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.36 และ 9.25 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง จากผลกระทบของราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากประเทศจีน ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด โดยจัดจำหน่ายสินค้าเป็นเซตเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ปรับปรุงดิสเพลย์หรือพื้นที่จัดแสดงสินค้าภายในร้านตัวแทนจำหน่าย ให้บริการคำปรึกษาต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการขาย ทั้งนี้เพื่อเน้นการทำตลาดให้ใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีมูลค่ารวม 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 6.87 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวลดลงของ ผลิตภัณฑ์เซรามิกเกือบทุกผลิตภัณฑ์ในตลาดหลักทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดสหภาพยุโรป และ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.57 โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสภาพยุโรปกลับ มีอัตราการขยายตัวลดลงทุกผลิตภัณฑ์ (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมนี แคนาดา ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น ในปี 2548 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวม 633.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.00 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และของชำร่วยเครื่องประดับ ในอัตราร้อยละ 23.26 , 16.72 และ 3.15 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ในขณะที่การส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปมีอัตราการขยายตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นของชำร่วยและเครื่องประดับที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ในอัตรา ร้อยละ 9.09
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอิตาลี เป็นต้น โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2548 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 37.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราขยายตัวลดลง ร้อยละ 18.14 และ 2.12 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2548 มีมูลค่ารวม 159.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.62 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีอัตราขยายตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัวตามไปด้วย ประกอบกับในช่วงไตรมาสนี้มีฝนตกยาวนาน และเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตหันมาเน้นตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัวได้จากตลาดหลักซึ่งเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งจำเป็นต้องซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในผลิตภัณฑ์เซรามิกกลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-