ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 76.87 บาท/กิโลกรัม
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายนพดล สวนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)
เปิดเผยว่าจากการที่ราคายางในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้จากการส่งออกยางเพิ่มขึ้น สกย. จึงมีแนวคิดว่าน่าจะเก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) จากผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเก็บในอัตรา 1.40 บาท/กก. ซึ่งอัตรานี้คำนวณจากราคายางที่ กก. ละ 35 บาท แต่ขณะนี้ราคายางไปถึง กก. ละ 100 บาทแล้ว จึงควรที่จะมีการจัดเก็บในอัตราใหม่ ทั้งนี้ปัจจุบันเก็บเงินสงเคราะห์ได้ปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท จากปริมาณการส่งออกยาง 3 ล้านตัน ในจำนวนนี้ร้อยละ 85 คืนสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน สกย. และ ร้อยละ 5 ใช้ในการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับยางพารา ผู้ส่งออกหลายรายให้ความเห็นตรงกันว่า เห็นด้วยหาก สกย. จะเก็บเงิน “เซส” เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเก็บเพิ่มควรมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดการใช้เงินให้เหมาะสม โดยเฉพาะงานวิจัยและพัฒนาควรจะมีการเพิ่มสัดส่วนนำเงินจากเซสมาให้เพิ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายทั้งชาวสวนยาง ผู้ส่งออก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.24 บาท สูงขึ้นจาก 70.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.60 บาท หรือร้อยละ 5.10
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.74 บาท สูงขึ้นจาก 70.14 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.60 บาท หรือร้อยละ 5.13
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.24 บาท สูงขึ้นจาก 69.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.60 บาท หรือร้อยละ 5.17
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.23 บาท สูงขึ้นจาก 68.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.81 บาท หรือร้อยละ 5.57
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.00 บาท สูงขึ้นจาก 67.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.85 หรือร้อยละ 5.73
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.06 บาท ลดลงจาก 73.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.13 บาท หรือร้อยละ 1.54
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท สูงขึ้นจาก 39.10 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือร้อยละ 1.28
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.47 บาท สูงขึ้นจาก 35.20 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.27 บาท หรือร้อยละ 3.61
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.78 บาท สูงขึ้นจาก 61.39 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.39 บาท หรือร้อยละ 13.67
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 2549
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.03 บาท ลดลงจาก 90.29 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.50
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.88 บาท ลดลงจาก 89.14 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.54
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.88 บาท สูงขึ้นจาก 58.33 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.55 บาท หรือร้อยละ 2.66
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.78 บาท ลดลงจาก 90.04 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.50
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.63 บาท ลดลงจาก 88.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.54
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.63 บาท สูงขึ้นจาก 58.08 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.55 บาท หรือร้อยละ 2.66
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกมีความต้องการใช้ยางเพิ่มปริมาณการผลิตในประเทศให้มากขึ้นเพื่อลดปริมาณการนำเข้าเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศลง ซึ่งในปี 2553 คาดว่าจีนจะมีการใช้ยางพาราและยางสังเคราะห์ประมาณ 5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 30 โดยการเพิ่มผลผลิตนั้นจีนจะปลูกยางพาราและสร้างโรงงานผลิตยางพาราในประเทศแถบเอเซีย เช่น อินโดนีเซีย ไทยและพม่า ซึ่งขณะนี้จีนได้ติดต่อกับรัฐบาลมาเลเซียให้ช่วยพัฒนาสวนยางพาราให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงต้นปีได้ทำสัญญากับบริษัทของกัมพูชาให้ปลูกยางพาราอีกด้วย
ปี 2549 จีนผลิตยางพาราได้ประมาณ 0.5 ล้านตัน และรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าผลผลิตยางพาราของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.75 ล้านตัน สำหรับยางสังเคราะห์ปี 2549 จีนผลิตได้ประมาณ 3.8 ล้านตัน รวมปริมาณการผลิตยางทั้ง 2 ประเภท เป็น 4.3 ล้านตัน และจากการที่จีนผลิตยางพาราไม่เพียงพอทำให้จีนต้องมีการนำเข้ายางพารามากโดยในปี 2548 นำเข้ายางพาราจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ รวม 1.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ถึงร้อยละ 9.5 การที่จีนนำเข้ายางพาราเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ และภาวะเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือน กันยายน 2549
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 363.83 เซนต์สิงคโปร์ ( 86.25 บาท) ลดลงจาก 372.56 เซนต์สิงคโปร์ (88.48 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.73 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.34
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 227.67 เซนต์สหรัฐ ( 85.29 บาท) ลดลงจาก 234.50 เซนต์สหรัฐ (88.38 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.83 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.91
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 190.81 เพนนี ( 71.48 บาท ) ลดลงจาก 197.31 เพนนี (74.37 บาท ) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.50 เพนนี หรือร้อยละ 3.29
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 267.70 เยน (86.84 บาท) ลดลงจาก 277.62 เยน (90.95 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.92 เยน หรือร้อยละ 3.57
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7-13 สิงหาคม 2549
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายนพดล สวนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)
เปิดเผยว่าจากการที่ราคายางในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้จากการส่งออกยางเพิ่มขึ้น สกย. จึงมีแนวคิดว่าน่าจะเก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) จากผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเก็บในอัตรา 1.40 บาท/กก. ซึ่งอัตรานี้คำนวณจากราคายางที่ กก. ละ 35 บาท แต่ขณะนี้ราคายางไปถึง กก. ละ 100 บาทแล้ว จึงควรที่จะมีการจัดเก็บในอัตราใหม่ ทั้งนี้ปัจจุบันเก็บเงินสงเคราะห์ได้ปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท จากปริมาณการส่งออกยาง 3 ล้านตัน ในจำนวนนี้ร้อยละ 85 คืนสู่เกษตรกรที่ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน สกย. และ ร้อยละ 5 ใช้ในการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับยางพารา ผู้ส่งออกหลายรายให้ความเห็นตรงกันว่า เห็นด้วยหาก สกย. จะเก็บเงิน “เซส” เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเก็บเพิ่มควรมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดการใช้เงินให้เหมาะสม โดยเฉพาะงานวิจัยและพัฒนาควรจะมีการเพิ่มสัดส่วนนำเงินจากเซสมาให้เพิ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายทั้งชาวสวนยาง ผู้ส่งออก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.24 บาท สูงขึ้นจาก 70.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.60 บาท หรือร้อยละ 5.10
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.74 บาท สูงขึ้นจาก 70.14 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.60 บาท หรือร้อยละ 5.13
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.24 บาท สูงขึ้นจาก 69.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.60 บาท หรือร้อยละ 5.17
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.23 บาท สูงขึ้นจาก 68.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.81 บาท หรือร้อยละ 5.57
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.00 บาท สูงขึ้นจาก 67.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.85 หรือร้อยละ 5.73
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.06 บาท ลดลงจาก 73.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.13 บาท หรือร้อยละ 1.54
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท สูงขึ้นจาก 39.10 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือร้อยละ 1.28
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.47 บาท สูงขึ้นจาก 35.20 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.27 บาท หรือร้อยละ 3.61
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.78 บาท สูงขึ้นจาก 61.39 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.39 บาท หรือร้อยละ 13.67
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 2549
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.03 บาท ลดลงจาก 90.29 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.50
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.88 บาท ลดลงจาก 89.14 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.54
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.88 บาท สูงขึ้นจาก 58.33 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.55 บาท หรือร้อยละ 2.66
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.78 บาท ลดลงจาก 90.04 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.50
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.63 บาท ลดลงจาก 88.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.26 บาท หรือร้อยละ 2.54
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.63 บาท สูงขึ้นจาก 58.08 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.55 บาท หรือร้อยละ 2.66
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกมีความต้องการใช้ยางเพิ่มปริมาณการผลิตในประเทศให้มากขึ้นเพื่อลดปริมาณการนำเข้าเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศลง ซึ่งในปี 2553 คาดว่าจีนจะมีการใช้ยางพาราและยางสังเคราะห์ประมาณ 5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 30 โดยการเพิ่มผลผลิตนั้นจีนจะปลูกยางพาราและสร้างโรงงานผลิตยางพาราในประเทศแถบเอเซีย เช่น อินโดนีเซีย ไทยและพม่า ซึ่งขณะนี้จีนได้ติดต่อกับรัฐบาลมาเลเซียให้ช่วยพัฒนาสวนยางพาราให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงต้นปีได้ทำสัญญากับบริษัทของกัมพูชาให้ปลูกยางพาราอีกด้วย
ปี 2549 จีนผลิตยางพาราได้ประมาณ 0.5 ล้านตัน และรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าผลผลิตยางพาราของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.75 ล้านตัน สำหรับยางสังเคราะห์ปี 2549 จีนผลิตได้ประมาณ 3.8 ล้านตัน รวมปริมาณการผลิตยางทั้ง 2 ประเภท เป็น 4.3 ล้านตัน และจากการที่จีนผลิตยางพาราไม่เพียงพอทำให้จีนต้องมีการนำเข้ายางพารามากโดยในปี 2548 นำเข้ายางพาราจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ รวม 1.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ถึงร้อยละ 9.5 การที่จีนนำเข้ายางพาราเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ และภาวะเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือน กันยายน 2549
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 363.83 เซนต์สิงคโปร์ ( 86.25 บาท) ลดลงจาก 372.56 เซนต์สิงคโปร์ (88.48 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.73 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.34
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 227.67 เซนต์สหรัฐ ( 85.29 บาท) ลดลงจาก 234.50 เซนต์สหรัฐ (88.38 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.83 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.91
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 190.81 เพนนี ( 71.48 บาท ) ลดลงจาก 197.31 เพนนี (74.37 บาท ) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.50 เพนนี หรือร้อยละ 3.29
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 267.70 เยน (86.84 บาท) ลดลงจาก 277.62 เยน (90.95 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.92 เยน หรือร้อยละ 3.57
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7-13 สิงหาคม 2549
-พห-