การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของโครงการอนุรักษ์พลังงาน จากวิสาหกิจ SMEs ที่เคยเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวิสาหกิจ SMEs ที่เคยเข้าร่วมโครงการ“ลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อมและสนับสนุนฐานการผลิตเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน” และโครงการ “ชุบชีวิตธุรกิจไทย ด้านการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ” ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลคือช่วงระหว่างเดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 จำนวน 337 กิจการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการดำเนินงานของวิสาหกิจที่เคยเข้าร่วมโครงการฯส่วนใหญ่ มีผลการดำเนินธุรกิจในรอบ 1-3 ปี โดยเฉลี่ยที่ผ่านมา รายได้มากกว่ารายจ่าย มีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จากการเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมาอยู่ในระดับ ปานกลาง ผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานมากที่สุดคือ ลดต้นทุนการผลิตและนำสิ่งที่ได้รับจากการปรึกษาแนะนำในโครงการอนุรักษ์พลังงาน ไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
ความต้องการของวิสาหกิจ SMEs ที่มีต่อโครงการอนุรักษ์พลังงาน ในด้านตัวโครงการอนุรักษ์พลังงานคือ ต้องการความรู้หรือความช่วยเหลือทางด้านการอนุรักษ์พลังงานจากที่ปรึกษาภายใต้กำกับดูแลของรัฐ โดยให้ภาครัฐส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมในองค์กร วิธีการประชาสัมพันธ์ให้กับพนักงานในองค์กรได้ทราบถึงนโยบายการอนุรักษ์พลังงานคือ จัดทำบอร์ดอนุรักษ์พลังงานและให้ตัวแทนจากหน่วยต่างๆในองค์กรเป็นผู้ถ่ายทอดข่าวสารอีกทางหนึ่ง
โดยเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดมาตรการ แผนปฏิบัติการและการคำนวณผลตอบแทนทางการเงิน คือ การจัดทำมาตรการแบบมีส่วนร่วม โดยการให้ทุกฝ่ายภายในองค์กรช่วยกันระดมความคิดเห็นในการจัดทำมาตรการที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเอง และให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการทบทวนและตรวจประเมินผลการดำเนินโครงการมาจาก ที่ปรึกษาภายใต้กำกับดูแลของรัฐ และควรวางเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้พลังงานโดยเฉลี่ยต่อปีประมาณร้อยละ 5-10 สำหรับด้านความต้องการคุณลักษณะวิชาชีพของที่ปรึกษาโครงการอนุรักษ์พลังงาน วุฒิการศึกษาของที่ปรึกษาโครงการไม่ควรต่ำกว่าระดับ ปริญญาตรี และควรศึกษาในสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ พร้อมมีประสบการณ์ในสายงานที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาพอสมควร รวมทั้งต้องมีทักษะในการถ่ายทอดและนำเสนอแนวทางปฏิบัติ/แก้ไขที่นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัญหาของวิสาหกิจ SMEs ที่มีต่อโครงการอนุรักษ์พลังงานโดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง และสามารถเรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากระดับความสำคัญของปัญหาจากมากไปน้อย 5 ลำดับแรกได้แก่ 1. ปัญหาในมาตรการอนุรักษ์พลังงานโดยการลงทุนทางด้านระบบไฟฟ้า 2. ปัญหากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมไม่มีรูปแบบการติดตามประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานที่ชัดเจนภายหลังจากดำเนินงานเมื่อจบโครงการไปแล้ว 3. ปัญหาสถานประกอบการไม่มีเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงาน 4.ปัญหาในมาตรการอนุรักษ์พลังงานโดยไม่ต้องลงทุน 5. ปัญหาเครื่องมือในการตรวจวัดของที่ปรึกษาไม่พร้อม โดยไม่สามารถทำการตรวจวัดค่าพลังงานของเครื่องจักรได้ทุกจุดการวัด ซึ่งการวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากข้อสรุปการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แนวทางที่ภาครัฐใช้ที่ปรึกษาเข้าไปช่วยบริการให้การปรึกษาแนะนำ ให้ความรู้ในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดขึ้นในสถานประกอบการนั้น เป็นแนวทางที่ถูกต้องดีอยู่แล้ว และตรงกับความต้องการของวิสาหกิจส่วนใหญ่ ดังนั้นการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม SMEs ควรดำเนินการดังนี้
1. การคัดเลือกที่ปรึกษาของหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินงานโครงการนั้น ควรมีระบบที่สามารถตรวจสอบคุณวุฒิของที่ปรึกษาได้เป็นอย่างดี โดยใช้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ด้าน วิศวกรรมเป็นหลัก จึงจะสามารถทำให้เกิดความมั่นใจแก่วิสาหกิจ SMEs ที่สมัครเข้าร่วมโครงการได้ว่า ที่ปรึกษาจะสามารถถ่ายทอดและนำเสนอแนวทางปฏิบัติ/แก้ไขที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และลดปัญหาที่ปรึกษาที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาแฝงเพื่อหาผลประโยชน์ในโครงการของภาครัฐ
2. ที่ปรึกษามีส่วนสำคัญในการประชาสัมพันธ์ให้วิสาหกิจ SMEs เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการ และตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน และวัตถุประสงค์หลักของโครงการแก่ที่ปรึกษา จึงเป็นขั้นตอนที่ มีความสำคัญยิ่งในการที่จะช่วยลดปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงาน รวมทั้งที่ปรึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการให้บริการปรึกษาแนะนำ และให้ความรู้แก่สถานประกอบการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและความพึงพอใจของวิสาหกิจมากขึ้น
3. ควรจัดแบ่งประเภทของวิสาหกิจที่สมัครเข้าร่วมโครงการออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1. วิสาหกิจที่มีจำนวนพนักงานทั้งหมดภายในกิจการ 50 - 200 คนหรือวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprise) 2. วิสาหกิจที่มีจำนวนพนักงานทั้งหมดภายในกิจการ 200 คนขึ้นไปหรือวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Large Enterprise) ซึ่งจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทนี้มีศักยภาพในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานมากกว่าวิสาหกิจขนาดเล็กหรือ (Small Enterprise) ภาครัฐควรจะมุ่งเน้นในการจัดทำโครงการให้ที่ปรึกษาเข้าไปช่วยเหลือวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทนี้จะทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดทำโครงการมากกว่าวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยวิสาหกิจขนาดเล็ก ควรจะให้การส่งเสริมในด้านการจัดฝึกอบรมบุคลากร เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในรูปของชั้นเรียนแทน จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำความรู้ในด้านการอนุรักษ์พลังงานไปใช้ในสถานประกอบการได้ผลเป็นอย่างดี
4. ในด้านการจัดทำโครงการนั้น ควรจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับประเภทของวิสาหกิจที่ได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น นั่นคือวิสาหกิจขนาดกลางควรจะมุ่งเน้นในการใช้มาตรการการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม และวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ควรจะใช้มาตรการที่มีระบบเป็นมาตรฐานอย่างเช่นระบบ TQM TPM หรือTEM เป็นต้น โดยมุ่งเน้นในมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยการลงทุนทางด้านระบบไฟฟ้าเป็นหลัก เนื่องจากเป็นต้นทุนแปรผันที่มีราคาสูง ซึ่งวิสาหกิจ SMEs ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จากนั้นควรส่งเสริมให้มีโครงการรูปแบบการลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างครบวงจร และหลังจากการดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยอาจเพิ่มเติมเนื้องานในโครงการให้ที่ปรึกษาเข้าไปตรวจประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้วอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามผลการวิจัยที่ได้ศึกษามา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการดำเนินงานของวิสาหกิจที่เคยเข้าร่วมโครงการฯส่วนใหญ่ มีผลการดำเนินธุรกิจในรอบ 1-3 ปี โดยเฉลี่ยที่ผ่านมา รายได้มากกว่ารายจ่าย มีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จากการเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมาอยู่ในระดับ ปานกลาง ผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานมากที่สุดคือ ลดต้นทุนการผลิตและนำสิ่งที่ได้รับจากการปรึกษาแนะนำในโครงการอนุรักษ์พลังงาน ไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
ความต้องการของวิสาหกิจ SMEs ที่มีต่อโครงการอนุรักษ์พลังงาน ในด้านตัวโครงการอนุรักษ์พลังงานคือ ต้องการความรู้หรือความช่วยเหลือทางด้านการอนุรักษ์พลังงานจากที่ปรึกษาภายใต้กำกับดูแลของรัฐ โดยให้ภาครัฐส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมในองค์กร วิธีการประชาสัมพันธ์ให้กับพนักงานในองค์กรได้ทราบถึงนโยบายการอนุรักษ์พลังงานคือ จัดทำบอร์ดอนุรักษ์พลังงานและให้ตัวแทนจากหน่วยต่างๆในองค์กรเป็นผู้ถ่ายทอดข่าวสารอีกทางหนึ่ง
โดยเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดมาตรการ แผนปฏิบัติการและการคำนวณผลตอบแทนทางการเงิน คือ การจัดทำมาตรการแบบมีส่วนร่วม โดยการให้ทุกฝ่ายภายในองค์กรช่วยกันระดมความคิดเห็นในการจัดทำมาตรการที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเอง และให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการทบทวนและตรวจประเมินผลการดำเนินโครงการมาจาก ที่ปรึกษาภายใต้กำกับดูแลของรัฐ และควรวางเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้พลังงานโดยเฉลี่ยต่อปีประมาณร้อยละ 5-10 สำหรับด้านความต้องการคุณลักษณะวิชาชีพของที่ปรึกษาโครงการอนุรักษ์พลังงาน วุฒิการศึกษาของที่ปรึกษาโครงการไม่ควรต่ำกว่าระดับ ปริญญาตรี และควรศึกษาในสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ พร้อมมีประสบการณ์ในสายงานที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาพอสมควร รวมทั้งต้องมีทักษะในการถ่ายทอดและนำเสนอแนวทางปฏิบัติ/แก้ไขที่นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัญหาของวิสาหกิจ SMEs ที่มีต่อโครงการอนุรักษ์พลังงานโดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง และสามารถเรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากระดับความสำคัญของปัญหาจากมากไปน้อย 5 ลำดับแรกได้แก่ 1. ปัญหาในมาตรการอนุรักษ์พลังงานโดยการลงทุนทางด้านระบบไฟฟ้า 2. ปัญหากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมไม่มีรูปแบบการติดตามประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานที่ชัดเจนภายหลังจากดำเนินงานเมื่อจบโครงการไปแล้ว 3. ปัญหาสถานประกอบการไม่มีเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงาน 4.ปัญหาในมาตรการอนุรักษ์พลังงานโดยไม่ต้องลงทุน 5. ปัญหาเครื่องมือในการตรวจวัดของที่ปรึกษาไม่พร้อม โดยไม่สามารถทำการตรวจวัดค่าพลังงานของเครื่องจักรได้ทุกจุดการวัด ซึ่งการวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากข้อสรุปการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แนวทางที่ภาครัฐใช้ที่ปรึกษาเข้าไปช่วยบริการให้การปรึกษาแนะนำ ให้ความรู้ในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดขึ้นในสถานประกอบการนั้น เป็นแนวทางที่ถูกต้องดีอยู่แล้ว และตรงกับความต้องการของวิสาหกิจส่วนใหญ่ ดังนั้นการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม SMEs ควรดำเนินการดังนี้
1. การคัดเลือกที่ปรึกษาของหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินงานโครงการนั้น ควรมีระบบที่สามารถตรวจสอบคุณวุฒิของที่ปรึกษาได้เป็นอย่างดี โดยใช้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ด้าน วิศวกรรมเป็นหลัก จึงจะสามารถทำให้เกิดความมั่นใจแก่วิสาหกิจ SMEs ที่สมัครเข้าร่วมโครงการได้ว่า ที่ปรึกษาจะสามารถถ่ายทอดและนำเสนอแนวทางปฏิบัติ/แก้ไขที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และลดปัญหาที่ปรึกษาที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาแฝงเพื่อหาผลประโยชน์ในโครงการของภาครัฐ
2. ที่ปรึกษามีส่วนสำคัญในการประชาสัมพันธ์ให้วิสาหกิจ SMEs เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการ และตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน และวัตถุประสงค์หลักของโครงการแก่ที่ปรึกษา จึงเป็นขั้นตอนที่ มีความสำคัญยิ่งในการที่จะช่วยลดปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงาน รวมทั้งที่ปรึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการให้บริการปรึกษาแนะนำ และให้ความรู้แก่สถานประกอบการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและความพึงพอใจของวิสาหกิจมากขึ้น
3. ควรจัดแบ่งประเภทของวิสาหกิจที่สมัครเข้าร่วมโครงการออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1. วิสาหกิจที่มีจำนวนพนักงานทั้งหมดภายในกิจการ 50 - 200 คนหรือวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprise) 2. วิสาหกิจที่มีจำนวนพนักงานทั้งหมดภายในกิจการ 200 คนขึ้นไปหรือวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Large Enterprise) ซึ่งจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทนี้มีศักยภาพในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานมากกว่าวิสาหกิจขนาดเล็กหรือ (Small Enterprise) ภาครัฐควรจะมุ่งเน้นในการจัดทำโครงการให้ที่ปรึกษาเข้าไปช่วยเหลือวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทนี้จะทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดทำโครงการมากกว่าวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยวิสาหกิจขนาดเล็ก ควรจะให้การส่งเสริมในด้านการจัดฝึกอบรมบุคลากร เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในรูปของชั้นเรียนแทน จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำความรู้ในด้านการอนุรักษ์พลังงานไปใช้ในสถานประกอบการได้ผลเป็นอย่างดี
4. ในด้านการจัดทำโครงการนั้น ควรจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับประเภทของวิสาหกิจที่ได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น นั่นคือวิสาหกิจขนาดกลางควรจะมุ่งเน้นในการใช้มาตรการการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม และวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ควรจะใช้มาตรการที่มีระบบเป็นมาตรฐานอย่างเช่นระบบ TQM TPM หรือTEM เป็นต้น โดยมุ่งเน้นในมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยการลงทุนทางด้านระบบไฟฟ้าเป็นหลัก เนื่องจากเป็นต้นทุนแปรผันที่มีราคาสูง ซึ่งวิสาหกิจ SMEs ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จากนั้นควรส่งเสริมให้มีโครงการรูปแบบการลงทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างครบวงจร และหลังจากการดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยอาจเพิ่มเติมเนื้องานในโครงการให้ที่ปรึกษาเข้าไปตรวจประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้วอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามผลการวิจัยที่ได้ศึกษามา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-