บทสรุปภาวะการส่งออกของประเทศไทยเดือน ม.ค.-เม.ย. 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 29, 2006 17:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. เศรษฐกิจไทยในปี 2549  คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.7-5.7* ในขณะที่ปี 2548  GDP ไทยขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 แต่ขณะนี้มีสถานการณ์ผันผวนด้านการเมืองตั้งแต่รัฐบาลประกาศยุบสภาฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5
2. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับที่ 24 ของโลก ในช่วง ม.ค.-ส.ค 2548 มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 1.16 ของการส่งออกรวมในตลาดโลก
3. ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าสำคัญอันดับที่ 20 ของโลก ของช่วง ม.ค.-ส.ค. 2548 มีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 1.25 ของการนำเข้าในตลาดโลก
4. การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-เม.ย. 2549 มีมูลค่า 78,487.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.18 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 38,766.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.93 หรือคิดเป็นร้อยละ 29.75 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 130,288 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 39,721.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.09 ไทยเสียเปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 955.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. สินค้าส่งออกสำคัญ 50 อันดับแรกซึ่งมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 84.52 ของมูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค.-เม.ย. 2549 ในจำนวนนี้มีสินค้าซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเปลี่ยนแปลงสูง ดังนี้
- ทองแดงและของทำด้วยทองแดง,ยางพารา,เลนส์,แผงวงจรไฟฟ้า และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.61, 44.67, 38.99, 37.98 และ 35.72 ตามลำดับ
6. การส่งออกสินค้าไทยไปภูมิภาคต่างๆ มีสัดส่วนและภาวะการส่งออก ดังนี้
การส่งออกสินค้าไทยไปภูมิภาคต่าง ๆ
ภูมิภาคต่าง ๆ สัดส่วน มูลค่า %
ร้อยละ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง
1. อเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) 16.0 6,209 16.2
2. ยุโรป (สหภาพยุโรป & ยุโรปตะวันออก) 14.3 5,529 10.0
3. เอเชียตะวันออก(ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี) 17.5 6,799 8.9
4. อาเซียน (9) 21.3 8,267 11.9
5. จีนและฮ่องกง 14.4 5,570 29.6
6. อินเดีย 1.2 470 -6.8
7. อื่นๆ 15.3 5,921 27.7
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปแต่ละภูมิภาค
6.1 การส่งออกไปภูมิภาคอเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) เดือน ม.ค — เม.ย.2549 มีมูลค่า 6,209 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 หรือคิดเป็นร้อยละ 29.82 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 20,819 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2549 โดยการส่งออกไปสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ส่วนการส่งออกไปแคนาดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ 50 อันดับแรกพบว่าสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากกว่าร้อยละ 100 มี 4 รายการได้แก่ เม็ดพลาสติก,ปูนซีเมนต์, เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น และน้ำมันสำเร็จรูป สินค้าอื่นๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากว่าร้อยละ 60 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ สินค้าส่งออกไปสหรัฐที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ วงจรพิมพ์
- ตลาดแคนาดา เมื่อสังเกตจากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ในช่วง ม.ค.-เม.ย. 2549 มีมูลค่า 373.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.32 จากสินค้า 50 อันดับแรกส่งออกไปแคนาดาพบว่ามีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 470.65 และสินค้าอื่นที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ของเล่น สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องยกทรง วัดทรงและส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งและผ้าผืน
6.2 ยุโรป (สหภาพยุโรปและยุโรปตะวันออก) การส่งออกสินค้าไทยไปยุโรปในเดือน ม.ค — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 5,529 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 หรือคิดเป็นร้อยละ 33.77 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 16,372 ล้านเหรียญสหรัฐ
- สหภาพยุโรป (15) สินค้าไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 5,067.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32 จากสินค้าสำคัญ 50 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้พบว่ามีสินค้าที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 50 มี 3 รายการคือ ยางพารา เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและเนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็งสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ดีบุก,แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า
- ยุโรปตะวันออก สินค้าไทยส่งออกไปยุโรปตะวันออกในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 462.19 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.43 สินค้าที่สามารถขยายการส่งออกไปตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ วงจรพิมพ์,เตาอบไมโครเวฟและเครื่องไฟฟ้าที่ให้ความร้อน,ผักกระป๋องและแปรรูป,แผงวงจรไฟฟ้า,ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ,เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์และส่วนประกอบ,อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด,ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี,อาหารสำเร็จรูป,เครื่องซักผ้า,ทองแดงและของทำด้วยทองแดง,เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม,กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง,สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียน,เคมีภัณฑ์ และเนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าลดลง กว่าร้อยละ 30 ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า,แก้ว กระจก และปลาแห้ง
ตลาดในยุโรปตะวันออกที่ไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ ฮังการี คาซัคสถาน สาธารณรัฐสโลวัก และเบรารุส โดยขยายตัวร้อยละ 109.51, 114.76, 152.04 และ 338.97 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ โปแลนด์ ยูเครนและอาเซอร์ไบจาน ประเทศที่มีสถิติลดลง ได้แก่ โรมาเนีย สโลวิเนีย บัลเกเรียและอาเมเนีย เป็นต้น
6.3 เอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้) การส่งออกสินค้าไทยไปยังเอเชียตะวันออกในช่วง ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 6,799 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 หรือคิดเป็นร้อยละ 28.62 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 23,750 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ญี่ปุ่น การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 5,000.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 จากสถิติสินค้าไทย 50 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้มีสินค้าที่สามารถส่งออกได้เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการคือ ผลิตภัณฑ์เซรามิก ส่วน สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ยางพารา และทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง และแก้วและกระจก
- ไต้หวัน การส่งออกสินค้าไทยไปไต้หวันในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 1,003.90 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.27 จากสถิติสินค้าไทย 50 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้มีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 3 รายการ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์,อุปกรณ์และส่วนประกอบ,ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้,น้ำมันสำเร็จรูป,อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า,เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูปและส่วนประกอบ สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 40 ได้แก่ เคมีภัณฑ์,เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์,อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด,หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ,ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์,ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง,เครื่องพักกระแสไฟฟ้า,เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์,ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็งและปลาแห้ง
- เกาหลีใต้ การส่งออกสินค้าไทยไปเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 794.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.35 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 50 อันดับแรกมีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 2 รายการ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป,ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง สินค้าที่เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 50 คือ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ,ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้,เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ,เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ,เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์,อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องพักกระแสไฟฟ้า สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า,ข้าว,น้ำตาลทราย และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
6.4 อาเซียน(9) การส่งออกสินค้าไทยไปตลาดอาเซียนในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 8,202.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.02 หรือคิดเป็นร้อยละ 28.62 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 28,650 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 50 รายการแรกมีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 387.89 มี 1 รายการ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สูงกว่าร้อยละ 100 มี 8 รายการคือ ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สินค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป,ยางพารา,ก๊าซปิโตรเลียมเหลว,หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ น้ำตาลทรายและวงจรพิมพ์
ตลาดในกลุ่มอาเซียนที่ไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงคือ เวียดนามลาว และบรูไน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.26,34.48 และ 37.65 ตามลำดับ ตลาดที่มีมูลค่าลดลงมีเพียงประเทศเดียวคือ อินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 24.56 เนื่องจากการส่งออกน้ำตาลและข้าวไปตลาดนี้ลดลงถึงร้อยละ 78.85 และ 287.03
6.5 จีนและฮ่องกง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปจีนและฮ่องกงในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 5,570 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 หรือคิดเป็นร้อยละ 27.92 ของเป้าหมายการส่งออกที่มีมูลค่า 19,943 ล้านเหรียญสหรัฐ
- จีน การส่งออกสินค้าไทยไปจีนในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 3,330.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.68 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปจีน 50 อันดับแรกมีสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 8 รายการ ได้แก่ น้ำมันดิบ,น้ำมันสำเร็จรูป,วงจรพิมพ์,เลนซ์,แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า,เครื่องพักกระแสไฟฟ้า,สายไฟฟ้าสายเคเบิ้ล และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 60 มี 1 รายการคือ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียงและอุปกรณ์
- ฮ่องกง การส่งออกสินค้าไทยไปฮ่องกงในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 2,239.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.96 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทย 50 อันดับแรกมีสินค้าไทยที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 มี 6 รายการ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด,น้ำมันสำเร็จรูป,เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ,เครื่องส่งวิทยุโทรศัพท์,ยางพาราและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากว่าร้อยละ 30 ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์,อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้สัญณานเสียงและส่วนประกอบ และเส้นใยประดิษฐ์
6.6 อินเดีย การส่งออกสินค้าไทยอินเดียในเดือน ม.ค. — เม.ย. 2549 มีมูลค่า 470.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 504.60 ล้านเหรียญสหรัฐของปี 2548 ในช่วงเดียวกันลดลงร้อยละ 6.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 19.18 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 2,451 ล้านเหรียญสหรัฐจากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 50 อันดับแรก มีสินค้าที่ขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100 มี 12 รายการได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ,ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง,หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ,กระดาษ,เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือน,เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ แม่พิมพ์หุ่นแบบหล่อโลหะ,ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง,ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ,เครื่องเทศและสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ,ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม,ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน,ผลิตภัณฑ์เซรามิก และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
7. การนำเข้า
7.1 สินค้านำเข้ามีสัดส่วนโครงสร้างดังนี้
- สินค้าเชื้อเพลิง สัดส่วนร้อยละ 19.26 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.42
- สินค้าทุน สัดส่วนร้อยละ 29.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.76
- สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สัดส่วนร้อยละ 39.92 ลดลงร้อยละ 6.31
- สินค้าบริโภค สัดส่วนร้อยละ 7.23 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.68
- สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สัดส่วนร้อยละ 3.12 ลดลงร้อยละ 9.89
- สินค้าอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 1.14 ลดลงร้อยละ 20.18
7.2 แหล่งนำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรก
มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 65.97 ของมูลค่าการนำเข้าเดือน ม.ค.-มี.ค. 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และโอมาน สัดส่วนร้อยละ 20.69, 9.73, 6.84, 6.51, 4.79, 4.52, 4.24, 3.82, 2.77 และ 2.75 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ -4.66, 7.57, -4.55, -5.63, 1.66, 5.60, 16.87, 18.60, 0.71 และ 32.19 ตามลำดับ
8. สรุปข้อคิดเห็น
1. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วง มิ.ย.-ธ.ค. 2549 หรืออีก 7 เดือนที่เหลือกำลังได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยง อาทิ นโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันที่ยังผันผวน เงินเฟ้อ ความผันผวนของค่าเงินและตลาดทุน และที่สำคัญคือ ภาวะการเมืองหากไม่หยุดนิ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและภาพรวมของเศรษฐกิจได้
2. จากข้อมูลการจัดอันดับของ IMD พบว่าปัจจุบันขีดความสามารถการแข่งขันของไทยตกไปอยู่อันดับที่ 32 จากอันดับที่ 27 เมื่อปี 2548 สาเหตุที่ทำให้ขีดความสามารถของไทยตกอันดับลงในปี 2549 คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจระดับมหภาคและการปฎิรูปกฎหมายและระบียบต่างๆ ต้องหยุดชะงักไปเพราะการยุบสภาผู้แทนราษฎร์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 หากไทยต้องการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันควรเร่วงดำเนินการในประเด็นหลัก ได้แก่
2.1 การปฎิรูปการนำเข้าและการส่งออกโดยเน้นการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มและมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ภาพยนต์ อุตสาหกรรมธุรกิจบริการ เช่น สปา และอุตสาหกรรมการรักษาพยาบาลและสุขภาพ
2.2 พัฒนาพลังงานทดแทนและลดต้นทุนด้านการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่ล้าสมัยให้มีความเหมาะสมและถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด
2.4 พัฒนาบุคลากรทุกระดับในแต่ละอุตสาหกรรมให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมทั้งเพิ่มการศึกษาวิจัยให้มากขึ้น
ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยให้สูงขึ้น ภาครัฐและภาคเอกชนต้องสร้างพลังความร่วมมือให้เป็นหนึ่งเดียวในการพัฒนาอย่างจริงจังทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3. การที่ประเทศไทยพึ่งการส่งออกและการนำเข้าน้ำมันจากตลาดโลกเป็นจำนวนมากทำให้ไทยต้องพึ่งพาเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญมีผลให้ไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมากด้านต้นทุนเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น นอกจากนี้ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดความผันผวนของค่าเงินได้
4. รายงานข่าวจากเอเอฟพี ได้ระบุว่าการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นโลหะ อาทิเช่น ทองคำ เงิน ทองแดง น้ำมันปิโตรเลียม ไปจนถึงสินค้าเกษตรบางตัว จะก่อให้เกิดฟองสบู่มากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงตลาดการเงิน ในขณะที่นายสตีเฟน โรช ห้วหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมอร์แกนสแตนลีย์ กล่าวว่าโลกของเราทุกวันนี้ได้ตกอยู่ในวงล้อมของฟองสบู่อีกฟองหนึ่งซึ่งสักวันหนึ่งฟองสบู่นี้ก็จะแตกแต่จะแตกเมื่อใดนั้นเป็นคำถามที่สำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวได้มีการปรับตัวลดลงแล้วแต่ก็ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงของสถิติสูงสุด
นักวิเคราะห์บางรายได้ชี้ให้เห็นว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นการสะท้อนให้เห็นถีงสภาพการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามก็มีนักวิเคราะห์บางรายเห็นว่าการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางใหญ่ๆ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมองหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ที่จะนำเงินนี้ไปหากำไรต่อไป อย่างไรก็ดีแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในเวลานี้ส่งผลให้นักลงทุนได้ปรับเปลี่ยนการลงทุนไปบ้างแล้วแต่จะไม่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวดิ่งลงได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บาร์ต เมเลค นักวิเคราะห์จากบีเอ็มโอ เนสบิตต์ ได้กล่าวว่าการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะไม่ยุติแค่นี้เนื่องจากนักลงทุนยังมองหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ อยู่และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง จึงคาดว่าราคาโลหะพื้นฐาน ทองคำ และพลังงาน ยังคงจะมีราคาสูงอย่างต่อเนื่องและอาจจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก การส่งออก   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ