บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
นับตั้งแต่วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลยุทธ์ที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย จึงเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจไทยที่จะมีบทบาทอย่างสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ดังนั้น สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "การศึกษา เบื้องต้นศักยภาพสินค้าไทยและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกสำหรับSMEs" เพื่อรวบรวม ข้อมูลที่สำคัญ และทำการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบถึงศักยภาพของสินค้าไทยเพื่อการส่งออก ตลาดเป้าหมายและคู่แข่งขันที่สำคัญสำหรับสินค้าแต่ละรายการ เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ มีข้อมูลที่สำคัญในการกำหนดแนวทางและทิศทางของธุรกิจเพื่อการส่งออก และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของความต้องการในตลาดโลก โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2545 จนเสร็จสมบูรณ์ในกลางเดือนมิถุนายน 2546
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งที่จะทำการศึกษาให้ทราบถึงโอกาสทางธุรกิจว่าสินค้าใดมีโอกาสจะ ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศมากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อมูลสถิติการส่งออกของไทยกับข้อมูลนำเข้าของต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการพิจารณา ซึ่งผลการศึกษาสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่ละ
รายการจะทำให้ทราบถึง :
-คุณลักษณะและแนวโน้มของสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่ละรายการ
-ตลาดและผลการวิเคราะห์ตลาดของสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่ละรายการ
-ผลการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศของสินค้าที่สำคัญแต่ละรายการ
-ผลการวิเคราะห์คู่แข่งขันสำหรับสินค้าแต่ละรายการในตลาดต่างประเทศ
-แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การส่งออกของ SMEs ไทย
-แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกของไทย
ในการดำเนินศึกษาวิจัย คณะผู้วิจัยได้ใช้ฐานข้อมูลสถิติการค้าโลกและสถิติการส่งออก สินค้าของไทยจาก International Trade Centre (ITC) - UNSD COMTRADE DATABASE SYSTEM เป็นหลัก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีความสมบูรณ์ (ครอบคลุมถึง 90% ของรายการทางการค้าที่เกิดขึ้นของโลก) ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ติดต่อ ITC ที่เจนีวาโดยตรงเพื่อซื้อฐานข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลล่าสุดที่มีการเผยแพร่คือข้อมูลสถิติการค้าโลกระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544
สำหรับรหัสสินค้าที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้รหัสสินค้าในระบบ Harmonized System Code (HSC) ซึ่งเป็นรหัสสินค้าที่เป็นที่ยอมรับ และนิยมกันทั่วไปในการเก็บข้อมูลสถิติการนำเข้าและส่งออกของกรมศุลกากรของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้เลือกรหัส HSC ในระดับ 6 หลัก เพื่อให้มีความชัดเจนในรายการสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกให้มากที่สุด โดยสถิติการค้าโลกระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544 ซึ่ง ITC ได้จัดเก็บข้อมูลไว้มีจำนวนรวม 5,300 รายการ โดยเป็นรายการที่ประเทศไทยมีการส่งออกรวม 4,000 รายการ
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าโลก แนวโน้ม การส่งออกของไทย นโยบายสนับสนุนการส่งออก และนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของภาครัฐ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารด้านเศรษฐกิจ - ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาพรวม สถานการณ์และแนวโน้มการส่งออกของไทย ที่รวบรวมได้ มีสาระสำคัญดังนี้ :
นับตั้งแต่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 การส่งออกของไทยมีความผันผวน ค่อนข้างมาก โดยในปี พ.ศ.2542 มูลค่าการส่งออกของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลง (-1.5%) แต่ในปี พ.ศ. 2543 มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวถึง 25.4% ซึ่งต่อมาอัตราการขยายตัวได้ลดลงเหลือเพียง 4.2% และ 2.5% ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว มีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกโดยตลอด อาทิ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย การเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณการผลิตสินค้าในโลก การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ตลอดจนภาวะสงครามและการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอย ส่งผลให้การส่งออกของไทยชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกโดยรวมยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะสินค้าส่งออกของไทยในปัจจุบันมีความหลากหลาย ไม่ได้พึ่งพาสินค้าเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
โครงสร้างการส่งออกของไทยประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุด (ประมาณ 75%) รองลงมาคือ สินค้าเกษตรกรรม (ประมาณ 11%) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร (ประมาณ 8%) และสินค้าอื่น ๆ (ประมาณ 6%) ทั้งนี้สินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 31% ในปี พ.ศ. 2524 มาเป็น 65% ในปี พ.ศ. 2534 และเพิ่มขึ้นเป็น 75% ในปี พ.ศ. 2544 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรมซึ่งเคยมีสัดส่วนมากที่สุดมีแนวโน้มลดลง
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 10 ลำดับแรก ในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 40% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ประกอบด้วย :
ลำดับที่ สินค้า % สัดส่วนของ
มูลค่าการส่งออกของไทย
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 12.2
2 แผงวงจรไฟฟ้า 5.4
3 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 4.5
4 รถยนต์และส่วนประกอบ 4.1
5 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 3.1
6 อัญมณีและเครื่องประดับ 2.8
7 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 2.6
8 เม็ดพลาสติก 2.5
9 ข้าว 2.4
10 ยางพารา 1.0
สินค้าส่งออกสำคัญ 10 ลำดับแรกของไทยเป็นสินค้าอุตสาหกรรมแทบทั้งสิ้น ยกเว้น ข้าวและยางพารา ทั้งนี้ สินค้าเกษตรกรรมทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากที่สุดของไทยในอดีต มีสัดส่วนลดลงจากเดิมมาก
สำหรับตลาดส่งออกของไทย พบว่าในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปขายยัง 235 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามตลาดที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ 10,000 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียง 33 ประเทศเท่านั้น ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย โดยการส่งออกสินค้าไปยัง 33 ประเทศดังกล่าวมีสัดส่วนคิดเป็น 92.5% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
ตลาดส่งออกสำคัญของไทย 10 ลำดับแรก ประกอบด้วย :
ประเทศ % สัดส่วนของ
มูลค่าการส่งออกของไทย
1) สหรัฐอเมริกา 20.3
2) ญี่ปุ่น 15.2
3) สิงคโปร์ 8.1
4) ฮ่องกง 5.1
5) จีน 4.4
6) มาเลเซีย 4.2
7) สหราชอาณาจักร 3.6
8) เนเธอร์แลนด์ 3.1
9) ไต้หวัน 2.9
10) เยอรมนี 2.4
จากข้อมูลส่วนแบ่งตลาดของไทยในแต่ละประเทศซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญพบว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก สำหรับประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี) ขณะที่ ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญในลำดับต้น ๆ สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน (สิงคโปร์ และมาเลเซีย)
สำหรับการนำเข้าสินค้าจากไทยในตลาดส่งออกสำคัญ พบว่าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน ไต้หวัน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ขณะที่เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นสินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด สำหรับประเทศฮ่องกง และมาเลเซีย ตามลำดับ
การศึกษาวิจัยข้อมูลสถิติการค้าโลกและการส่งออกของไทย จากฐานข้อมูลของ ITC มีขอบเขตครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังนี้ :
-รายการสินค้าส่งออกของไทยที่ทำการศึกษา คณะผู้วิจัยได้เลือกเฉพาะรายการสินค้าที่ มูลค่าการส่งออกรวมย้อนหลัง 5 ปีสูงสุด 200 รายการแรก (Top 200) ที่ ITC ได้เก็บรวบรวมสถิติไว้
-การคัดเลือกสินค้าของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก มีกรอบที่สำคัญในการพิจารณา คือ จะต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการนำเข้าของตลาดโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน
-ข้อมูลด้านตลาดเป้าหมาย ครอบคลุมเกี่ยวกับส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศ (Market Share) คู่แข่งสำคัญในตลาดต่างประเทศ (Key Competitors) ผู้ส่งออกรายสำคัญของโลก (Leading Exporters) สำหรับรายการสินค้าแต่ละรายการที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่ามี ศักยภาพในการส่งออกสูง
การคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก เริ่มจากการวิเคราะห์สินค้าส่งออกของไทยในรหัส HSC 6 หลัก ที่มีอยู่ 4,000 รายการ แล้วเลือกเฉพาะรายการที่มียอดรวมการส่งออกสูงสุด 5 ปี จำนวน 200 รายการซึ่งจัดว่าเป็นสินค้าส่งออกกลุ่มพื้นฐาน
แม้ว่าสินค้าส่งออกกลุ่มพื้นฐานจำนวน 200 รายการ จะคิดเป็นเพียง 5% ของจำนวนสินค้า ทั้งหมด 4,000 รายการ แต่มูลค่าการส่งออกรวมคิดเป็นประมาณ 3 ใน 4 ของการส่งออกรวม 4,000 รายการ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง และครอบคลุมสินค้ารายการที่สำคัญ ๆ ของประเทศไทย
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2544 สูงที่สุด 3 ลำดับแรก จากสินค้ากลุ่มพื้นฐานจำนวน 200 รายการ เป็นสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งหมด ส่วนสินค้าที่มีแนวโน้มของมูลค่าการส่งออกสูงสุดลำดับที่ 1 และ 2 ได้แก่สินค้าประเภทเม็ดพลาสติก และลำดับที่ 3 คือ สินค้ารถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก ฯ---ความจุของกระบอก
สูบมากกว่า1,500 cc แต่ไม่เกิน 3,000 cc สำหรับสินค้าไทยที่มีแนวโน้มของมูลค่าการนำเข้าของตลาดโลกสูงสุด ลำดับที่ 1 เป็นสินค้าในกลุ่มอาหาร คือ เนื้อและส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ที่บริโภคได้ รองลงมา ลำดับที่ 2 คือ สินค้าในกลุ่มเม็ดพลาสติก และลำดับที่ 3 คือ สินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์
เมื่อพิจารณาค่าแนวโน้มการส่งออกของไทย และค่าแนวโน้มความต้องการในตลาดโลก ในสินค้ากลุ่มพื้นฐานจำนวน 200 รายการดังกล่าว พบว่าจำนวนรายการสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ค่าแนวโน้มมากกว่า 0) ของมูลค่าการส่งออกของไทย และมูลค่าการนำเข้าของตลาดโลก มีจำนวนใกล้เคียงกัน คือประมาณ 70% ของสินค้าจำนวน 200 รายการ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกรวม 5 ปีสูง ๆ จะพบว่ามีค่าแนวโน้มการส่งออกและค่าแนวโน้มการนำเข้าของตลาดโลกไม่สูง และเป็นที่น่าสังเกตว่า รายการสินค้าที่มีแนวโน้มของมูลค่าการส่งออกของไทยลดลง (ต่ำกว่า 0) มักจะเป็นรายการที่มูลค่าการนำเข้าของตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน
ในการคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกอย่างแท้จริงจากกลุ่มสินค้าพื้นฐานจำนวน 200 รายการดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวความคิดที่ว่า สินค้าที่จะมีศักยภาพที่ดีในอนาคต จะต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้น (Thai Trend ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544 มีค่ามากกว่า 0) และต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มในการนำเข้าของตลาดโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน (World Trend ปี พ.ศ. 2540 - 2544 มีค่ามากกว่า 0) ซึ่งพบว่าสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีเพียง 111 รายการ
คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการแบ่งสินค้าที่มีศักยภาพ 111 รายการดังกล่าวออกเป็น 4 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยของค่าแนวโน้มการส่งออกของไทย และค่าแนวโน้มการนำเข้าของตลาดโลก ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ :
-Affluent (A) จำนวน 68 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มในการขยายตัวที่สูง (สูงกว่าค่าเฉลี่ย) และแนวโน้มการส่งออกของไทยอยู่ในระดับสูงเช่นกัน จึงเป็นกลุ่มของสินค้าที่ถือว่ามีศักยภาพสูงที่สุด หรือเรียกได้ว่าเป็น "Champions" - Winners in growth markets สินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน การส่งเสริมควรจะมุ่งเน้นด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ผลิตไทย
สินค้าในกลุ่ม A ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต (HSC 390740) อะไซคลิกไฮโดรคาร์บอน : เอทิลีน (HSC 290121) และเนื้อและส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ที่บริโภคได้ ใส่เกลือ แช่น้ำเกลือ แห้ง หรือรมควัน ฯ (HSC 021090)
-Boosting (B) จำนวน 12 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มในการขยายตัวที่สูง แต่ขีดความสามารถของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่จำกัด โดยมีค่าแนวโน้มในการส่งออกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของไทย และต่ำกว่าการขยายตัวของตลาดโลก จึงมีโอกาสสูงที่จะเสียส่วนแบ่งในตลาดโลก หรือเรียกได้ว่าเป็น "Underachievers" - Losers in growth markets ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริงให้พบ แล้วหาทางแก้ไข เพื่อให้สามารถเร่งรัดการส่งออก สินค้าเหล่านี้ให้ได้
สินค้าในกลุ่ม B ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือของใช้ตามบ้านเรือนอื่น ๆ และส่วนประกอบของของดังกล่าว ทำด้วยเหล็ก หรือเหล็กกล้า ฝอยเหล็กหรือฝอยเหล็กกล้า (HSC 732393) ทีเชิ้ต เสื้อชั้นในชนิด ซิงเกลด และเสื้อชั้นในอย่างอื่น ถักแบบนิตหรือแบบโครเชต์---ทำด้วยฝ้าย (HSC 610910) และ เครื่องส่งสำหรับวิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ (HSC 852520)
-Cautious (C) จำนวน 20 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในระดับต่ำ (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโลก) ในขณะที่สินค้าไทยมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นในระดับสูง ส่วนแบ่งของสินค้าไทยเหล่านี้ในตลาดโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นส่วนของตลาดโลกที่
กำลังหดตัว หรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สินค้ากลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็น "Achievers in adversity" การส่งเสริมจึงควรมุ่งเน้นไปที่ "กลยุทธ์การตลาดแบบมุ่งเฉพาะส่วน" (Niche marketing strategies)
สินค้าในกลุ่ม C ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ดีเซล ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก โดยมีความจุกระบอกสูบเกิน 1,500 cc แต่ไม่เกิน 3,000 cc (HSC 870323) ก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ เช่น ก๊าซ ปิโตรเลียม (HSC 271119) และพัดลมแบบตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น ติดผนัง ติดเพดานหรือติดหลังคา พัดลม ระบายอากาศที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าในตัว ซึ่งให้กำลังไม่เกิน 125 วัตต์ (HSC 841451)
-Disadvantage (D) จำนวน 11 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในระดับที่จำกัด และแนวโน้มการส่งออกของสินค้าไทยเพิ่มขึ้นในระดับที่จำกัดเช่นกัน รายการสินค้าของไทยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้ส่วนแบ่งตลาดลดลง สินค้ากลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็น "Losers indeclining markets" การเร่งส่งเสริมสินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงที่สูง จะต้องหาทางแก้ปัญหาทั้งทางด้านความต้องการในตลาดโลก และความสามารถด้านการผลิตของไทย
สินค้าในกลุ่ม D ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ หลอดหรือท่อ และโพรไฟล์กลวงอื่น ๆ ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า ฯ (HSC 730630) สูท เครื่องแต่งตัวเป็นชุด แจ็กเก็ต เสื้อเบลเซอร์ กางเกงของบุรุษ หรือเด็กชาย---ทำด้วยฝ้าย (HSC 620342) และสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย---อื่น ๆ เช่น หอยลาย ปลาหมึก ที่บรรจุภาชนะอัดลม หรือไม่อัดลม (HSC 160590)
สำหรับตลาดส่งออกสำคัญของสินค้าที่มีศักยภาพของไทยในสินค้าทั้ง 4 กลุ่มพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกันในกลุ่ม A และ B คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นตลาดที่มีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ สิงคโปร์ อังกฤษ และฮ่องกง ขณะที่กลุ่ม C และ D มีลักษณะแตกต่างไปบ้าง โดย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยังคงเป็นตลาดที่มีความสำคัญสูงสุด และตลาดที่มีความสำคัญรองลงไปในกลุ่ม C คือ ฮ่องกง จีน และเยอรมนี ในขณะที่ตลาดที่มีความสำคัญรองลงไปในกลุ่ม D คือ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
สำหรับคู่แข่งขันสำคัญในตลาดโลกในสินค้าทั้ง 4 กลุ่มพบว่ามีลักษณะเหมือนกันคือ ประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี โดยสหรัฐอเมริกาเป็นคู่แข่งขันที่มีความสำคัญลำดับที่ 1 ในกลุ่ม A และ D ขณะที่จีนเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญลำดับที่ 1 ในกลุ่ม B และ C
ส่วนคู่แข่งขันสำคัญของไทยในตลาดหลักในสินค้าทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าแตกต่างไปจากคู่แข่งสำคัญในตลาดโลก คือ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา จีน และ ญี่ปุ่น ที่เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในตลาดหลักแล้ว ยังพบว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับคู่แข่งสำคัญจากทวีปเอเชียคือ มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดีย โดยคู่แข่งจากสหภาพยุโรปมีบทบาทน้อยลงในตลาดหลักสำคัญของไทย
จากสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพของไทยทั้ง 111 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ SMEs ไทยผลิตได้ ดังนั้น ภาครัฐควรจะให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนแก่ SMEs ในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพนี้มากที่สุด เนื่องจากได้เห็นศักยภาพในด้านการส่งออกแล้ว ซึ่งหากภาครัฐได้เข้ามาสนับสนุนในการสร้างศักยภาพทางด้านการผลิตและการบริหารจัดการ จะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับ SMEs กลุ่มนี้ให้สามารถแข่งขัน และประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจได้
ภาครัฐควรศึกษาวิจัยธุรกิจ SMEs สำหรับสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกแต่ละประเภทเกี่ยวกับสถานภาพของการประกอบธุรกิจ การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐที่ต้องการ โอกาสในการพัฒนาให้เป็นสินค้าส่งออกของไทยที่มีศักยภาพสูง เพื่อพัฒนาธุรกิจ SMEs สำหรับสินค้าประเภทนั้น ๆ ให้มีความสามารถอย่างแท้จริง
เมื่อทราบถึงปัญหาในการประกอบธุรกิจและความต้องการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่แท้จริงแล้ว ภาครัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอให้แก่องค์กรที่มีหน้าที่และมีความสามารถเพียงพอที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหา หรือเข้าไปพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs เหล่านั้น ทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ การขยายช่องทางการตลาด หรือการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ SMEs
ทั้งนี้ สิ่งที่สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะต้องพิจารณาดำเนินงานต่อจากผลการศึกษาวิจัยนี้ มีดังนี้คือ :
-การศึกษาเจาะลึกในรายละเอียดว่าผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจผลิตสินค้าแต่ละกลุ่มที่มีศักยภาพในการส่งออกนั้นประสบปัญหาในด้านใดกิจการมีสถานภาพอยู่ในระดับใด โดยเฉพาะสถานภาพทางด้านการผลิต การเงิน และการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังต้องศึกษาว่า สพว. จะสามารถเข้าไปปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้เพียงใด
-หลังจากทราบปัญหา ความต้องการ และศักยภาพของ SMEs แต่ละกลุ่มแล้ว สพว. ควรจะนำข้อมูลที่ได้มาเตรียมการให้การสนับสนุน ซึ่งอาจจะมีทั้งการสนับสนุนที่สถาบันฯ ให้บริการอยู่แล้ว เช่น การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมสาขาวิชาต่าง ๆ หรือการสนับสนุนในการให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน การเป็นพี่เลี้ยงบ่มเพาะธุรกิจ การออกแบบอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลทางธุรกิจ
ตลอดจนการสนับสนุนในการเชื่อมโยงธุรกิจ และการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการสนับสนุนที่อยู่นอกขอบเขตภาระหน้าที่ของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางสถาบัน ฯ สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ประสานให้เกิดการร่วมมือระหว่างทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือSMEs แต่ละกลุ่มดังกล่าว
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
นับตั้งแต่วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลยุทธ์ที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย จึงเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจไทยที่จะมีบทบาทอย่างสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ดังนั้น สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "การศึกษา เบื้องต้นศักยภาพสินค้าไทยและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกสำหรับSMEs" เพื่อรวบรวม ข้อมูลที่สำคัญ และทำการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบถึงศักยภาพของสินค้าไทยเพื่อการส่งออก ตลาดเป้าหมายและคู่แข่งขันที่สำคัญสำหรับสินค้าแต่ละรายการ เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ มีข้อมูลที่สำคัญในการกำหนดแนวทางและทิศทางของธุรกิจเพื่อการส่งออก และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของความต้องการในตลาดโลก โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2545 จนเสร็จสมบูรณ์ในกลางเดือนมิถุนายน 2546
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งที่จะทำการศึกษาให้ทราบถึงโอกาสทางธุรกิจว่าสินค้าใดมีโอกาสจะ ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศมากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อมูลสถิติการส่งออกของไทยกับข้อมูลนำเข้าของต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการพิจารณา ซึ่งผลการศึกษาสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่ละ
รายการจะทำให้ทราบถึง :
-คุณลักษณะและแนวโน้มของสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่ละรายการ
-ตลาดและผลการวิเคราะห์ตลาดของสินค้าส่งออกที่สำคัญแต่ละรายการ
-ผลการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศของสินค้าที่สำคัญแต่ละรายการ
-ผลการวิเคราะห์คู่แข่งขันสำหรับสินค้าแต่ละรายการในตลาดต่างประเทศ
-แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การส่งออกของ SMEs ไทย
-แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกของไทย
ในการดำเนินศึกษาวิจัย คณะผู้วิจัยได้ใช้ฐานข้อมูลสถิติการค้าโลกและสถิติการส่งออก สินค้าของไทยจาก International Trade Centre (ITC) - UNSD COMTRADE DATABASE SYSTEM เป็นหลัก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีความสมบูรณ์ (ครอบคลุมถึง 90% ของรายการทางการค้าที่เกิดขึ้นของโลก) ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ติดต่อ ITC ที่เจนีวาโดยตรงเพื่อซื้อฐานข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลล่าสุดที่มีการเผยแพร่คือข้อมูลสถิติการค้าโลกระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544
สำหรับรหัสสินค้าที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้รหัสสินค้าในระบบ Harmonized System Code (HSC) ซึ่งเป็นรหัสสินค้าที่เป็นที่ยอมรับ และนิยมกันทั่วไปในการเก็บข้อมูลสถิติการนำเข้าและส่งออกของกรมศุลกากรของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้เลือกรหัส HSC ในระดับ 6 หลัก เพื่อให้มีความชัดเจนในรายการสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกให้มากที่สุด โดยสถิติการค้าโลกระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544 ซึ่ง ITC ได้จัดเก็บข้อมูลไว้มีจำนวนรวม 5,300 รายการ โดยเป็นรายการที่ประเทศไทยมีการส่งออกรวม 4,000 รายการ
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าโลก แนวโน้ม การส่งออกของไทย นโยบายสนับสนุนการส่งออก และนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของภาครัฐ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารด้านเศรษฐกิจ - ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาพรวม สถานการณ์และแนวโน้มการส่งออกของไทย ที่รวบรวมได้ มีสาระสำคัญดังนี้ :
นับตั้งแต่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 การส่งออกของไทยมีความผันผวน ค่อนข้างมาก โดยในปี พ.ศ.2542 มูลค่าการส่งออกของไทยมีอัตราการขยายตัวลดลง (-1.5%) แต่ในปี พ.ศ. 2543 มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวถึง 25.4% ซึ่งต่อมาอัตราการขยายตัวได้ลดลงเหลือเพียง 4.2% และ 2.5% ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว มีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการส่งออกโดยตลอด อาทิ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย การเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณการผลิตสินค้าในโลก การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ตลอดจนภาวะสงครามและการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอย ส่งผลให้การส่งออกของไทยชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกโดยรวมยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะสินค้าส่งออกของไทยในปัจจุบันมีความหลากหลาย ไม่ได้พึ่งพาสินค้าเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
โครงสร้างการส่งออกของไทยประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุด (ประมาณ 75%) รองลงมาคือ สินค้าเกษตรกรรม (ประมาณ 11%) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร (ประมาณ 8%) และสินค้าอื่น ๆ (ประมาณ 6%) ทั้งนี้สินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 31% ในปี พ.ศ. 2524 มาเป็น 65% ในปี พ.ศ. 2534 และเพิ่มขึ้นเป็น 75% ในปี พ.ศ. 2544 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรมซึ่งเคยมีสัดส่วนมากที่สุดมีแนวโน้มลดลง
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 10 ลำดับแรก ในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 40% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ประกอบด้วย :
ลำดับที่ สินค้า % สัดส่วนของ
มูลค่าการส่งออกของไทย
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 12.2
2 แผงวงจรไฟฟ้า 5.4
3 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 4.5
4 รถยนต์และส่วนประกอบ 4.1
5 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 3.1
6 อัญมณีและเครื่องประดับ 2.8
7 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 2.6
8 เม็ดพลาสติก 2.5
9 ข้าว 2.4
10 ยางพารา 1.0
สินค้าส่งออกสำคัญ 10 ลำดับแรกของไทยเป็นสินค้าอุตสาหกรรมแทบทั้งสิ้น ยกเว้น ข้าวและยางพารา ทั้งนี้ สินค้าเกษตรกรรมทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากที่สุดของไทยในอดีต มีสัดส่วนลดลงจากเดิมมาก
สำหรับตลาดส่งออกของไทย พบว่าในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปขายยัง 235 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามตลาดที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ 10,000 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียง 33 ประเทศเท่านั้น ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย โดยการส่งออกสินค้าไปยัง 33 ประเทศดังกล่าวมีสัดส่วนคิดเป็น 92.5% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
ตลาดส่งออกสำคัญของไทย 10 ลำดับแรก ประกอบด้วย :
ประเทศ % สัดส่วนของ
มูลค่าการส่งออกของไทย
1) สหรัฐอเมริกา 20.3
2) ญี่ปุ่น 15.2
3) สิงคโปร์ 8.1
4) ฮ่องกง 5.1
5) จีน 4.4
6) มาเลเซีย 4.2
7) สหราชอาณาจักร 3.6
8) เนเธอร์แลนด์ 3.1
9) ไต้หวัน 2.9
10) เยอรมนี 2.4
จากข้อมูลส่วนแบ่งตลาดของไทยในแต่ละประเทศซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญพบว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก สำหรับประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี) ขณะที่ ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญในลำดับต้น ๆ สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน (สิงคโปร์ และมาเลเซีย)
สำหรับการนำเข้าสินค้าจากไทยในตลาดส่งออกสำคัญ พบว่าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน ไต้หวัน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ขณะที่เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นสินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด สำหรับประเทศฮ่องกง และมาเลเซีย ตามลำดับ
การศึกษาวิจัยข้อมูลสถิติการค้าโลกและการส่งออกของไทย จากฐานข้อมูลของ ITC มีขอบเขตครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังนี้ :
-รายการสินค้าส่งออกของไทยที่ทำการศึกษา คณะผู้วิจัยได้เลือกเฉพาะรายการสินค้าที่ มูลค่าการส่งออกรวมย้อนหลัง 5 ปีสูงสุด 200 รายการแรก (Top 200) ที่ ITC ได้เก็บรวบรวมสถิติไว้
-การคัดเลือกสินค้าของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก มีกรอบที่สำคัญในการพิจารณา คือ จะต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการนำเข้าของตลาดโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน
-ข้อมูลด้านตลาดเป้าหมาย ครอบคลุมเกี่ยวกับส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศ (Market Share) คู่แข่งสำคัญในตลาดต่างประเทศ (Key Competitors) ผู้ส่งออกรายสำคัญของโลก (Leading Exporters) สำหรับรายการสินค้าแต่ละรายการที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่ามี ศักยภาพในการส่งออกสูง
การคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก เริ่มจากการวิเคราะห์สินค้าส่งออกของไทยในรหัส HSC 6 หลัก ที่มีอยู่ 4,000 รายการ แล้วเลือกเฉพาะรายการที่มียอดรวมการส่งออกสูงสุด 5 ปี จำนวน 200 รายการซึ่งจัดว่าเป็นสินค้าส่งออกกลุ่มพื้นฐาน
แม้ว่าสินค้าส่งออกกลุ่มพื้นฐานจำนวน 200 รายการ จะคิดเป็นเพียง 5% ของจำนวนสินค้า ทั้งหมด 4,000 รายการ แต่มูลค่าการส่งออกรวมคิดเป็นประมาณ 3 ใน 4 ของการส่งออกรวม 4,000 รายการ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง และครอบคลุมสินค้ารายการที่สำคัญ ๆ ของประเทศไทย
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2544 สูงที่สุด 3 ลำดับแรก จากสินค้ากลุ่มพื้นฐานจำนวน 200 รายการ เป็นสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งหมด ส่วนสินค้าที่มีแนวโน้มของมูลค่าการส่งออกสูงสุดลำดับที่ 1 และ 2 ได้แก่สินค้าประเภทเม็ดพลาสติก และลำดับที่ 3 คือ สินค้ารถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก ฯ---ความจุของกระบอก
สูบมากกว่า1,500 cc แต่ไม่เกิน 3,000 cc สำหรับสินค้าไทยที่มีแนวโน้มของมูลค่าการนำเข้าของตลาดโลกสูงสุด ลำดับที่ 1 เป็นสินค้าในกลุ่มอาหาร คือ เนื้อและส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ที่บริโภคได้ รองลงมา ลำดับที่ 2 คือ สินค้าในกลุ่มเม็ดพลาสติก และลำดับที่ 3 คือ สินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์
เมื่อพิจารณาค่าแนวโน้มการส่งออกของไทย และค่าแนวโน้มความต้องการในตลาดโลก ในสินค้ากลุ่มพื้นฐานจำนวน 200 รายการดังกล่าว พบว่าจำนวนรายการสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ค่าแนวโน้มมากกว่า 0) ของมูลค่าการส่งออกของไทย และมูลค่าการนำเข้าของตลาดโลก มีจำนวนใกล้เคียงกัน คือประมาณ 70% ของสินค้าจำนวน 200 รายการ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกรวม 5 ปีสูง ๆ จะพบว่ามีค่าแนวโน้มการส่งออกและค่าแนวโน้มการนำเข้าของตลาดโลกไม่สูง และเป็นที่น่าสังเกตว่า รายการสินค้าที่มีแนวโน้มของมูลค่าการส่งออกของไทยลดลง (ต่ำกว่า 0) มักจะเป็นรายการที่มูลค่าการนำเข้าของตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน
ในการคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกอย่างแท้จริงจากกลุ่มสินค้าพื้นฐานจำนวน 200 รายการดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวความคิดที่ว่า สินค้าที่จะมีศักยภาพที่ดีในอนาคต จะต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้น (Thai Trend ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544 มีค่ามากกว่า 0) และต้องเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มในการนำเข้าของตลาดโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน (World Trend ปี พ.ศ. 2540 - 2544 มีค่ามากกว่า 0) ซึ่งพบว่าสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีเพียง 111 รายการ
คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการแบ่งสินค้าที่มีศักยภาพ 111 รายการดังกล่าวออกเป็น 4 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยของค่าแนวโน้มการส่งออกของไทย และค่าแนวโน้มการนำเข้าของตลาดโลก ซึ่งแต่ละกลุ่มมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ :
-Affluent (A) จำนวน 68 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มในการขยายตัวที่สูง (สูงกว่าค่าเฉลี่ย) และแนวโน้มการส่งออกของไทยอยู่ในระดับสูงเช่นกัน จึงเป็นกลุ่มของสินค้าที่ถือว่ามีศักยภาพสูงที่สุด หรือเรียกได้ว่าเป็น "Champions" - Winners in growth markets สินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน การส่งเสริมควรจะมุ่งเน้นด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ผลิตไทย
สินค้าในกลุ่ม A ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต (HSC 390740) อะไซคลิกไฮโดรคาร์บอน : เอทิลีน (HSC 290121) และเนื้อและส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ที่บริโภคได้ ใส่เกลือ แช่น้ำเกลือ แห้ง หรือรมควัน ฯ (HSC 021090)
-Boosting (B) จำนวน 12 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มในการขยายตัวที่สูง แต่ขีดความสามารถของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่จำกัด โดยมีค่าแนวโน้มในการส่งออกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของไทย และต่ำกว่าการขยายตัวของตลาดโลก จึงมีโอกาสสูงที่จะเสียส่วนแบ่งในตลาดโลก หรือเรียกได้ว่าเป็น "Underachievers" - Losers in growth markets ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริงให้พบ แล้วหาทางแก้ไข เพื่อให้สามารถเร่งรัดการส่งออก สินค้าเหล่านี้ให้ได้
สินค้าในกลุ่ม B ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือของใช้ตามบ้านเรือนอื่น ๆ และส่วนประกอบของของดังกล่าว ทำด้วยเหล็ก หรือเหล็กกล้า ฝอยเหล็กหรือฝอยเหล็กกล้า (HSC 732393) ทีเชิ้ต เสื้อชั้นในชนิด ซิงเกลด และเสื้อชั้นในอย่างอื่น ถักแบบนิตหรือแบบโครเชต์---ทำด้วยฝ้าย (HSC 610910) และ เครื่องส่งสำหรับวิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ (HSC 852520)
-Cautious (C) จำนวน 20 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในระดับต่ำ (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโลก) ในขณะที่สินค้าไทยมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นในระดับสูง ส่วนแบ่งของสินค้าไทยเหล่านี้ในตลาดโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นส่วนของตลาดโลกที่
กำลังหดตัว หรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สินค้ากลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็น "Achievers in adversity" การส่งเสริมจึงควรมุ่งเน้นไปที่ "กลยุทธ์การตลาดแบบมุ่งเฉพาะส่วน" (Niche marketing strategies)
สินค้าในกลุ่ม C ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ดีเซล ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก โดยมีความจุกระบอกสูบเกิน 1,500 cc แต่ไม่เกิน 3,000 cc (HSC 870323) ก๊าซปิโตรเลียมและก๊าซไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ เช่น ก๊าซ ปิโตรเลียม (HSC 271119) และพัดลมแบบตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น ติดผนัง ติดเพดานหรือติดหลังคา พัดลม ระบายอากาศที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าในตัว ซึ่งให้กำลังไม่เกิน 125 วัตต์ (HSC 841451)
-Disadvantage (D) จำนวน 11 รายการ
เป็นกลุ่มของรายการสินค้าส่งออกของไทยที่ความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในระดับที่จำกัด และแนวโน้มการส่งออกของสินค้าไทยเพิ่มขึ้นในระดับที่จำกัดเช่นกัน รายการสินค้าของไทยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้ส่วนแบ่งตลาดลดลง สินค้ากลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็น "Losers indeclining markets" การเร่งส่งเสริมสินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงที่สูง จะต้องหาทางแก้ปัญหาทั้งทางด้านความต้องการในตลาดโลก และความสามารถด้านการผลิตของไทย
สินค้าในกลุ่ม D ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด 3 รายการแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่ หลอดหรือท่อ และโพรไฟล์กลวงอื่น ๆ ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า ฯ (HSC 730630) สูท เครื่องแต่งตัวเป็นชุด แจ็กเก็ต เสื้อเบลเซอร์ กางเกงของบุรุษ หรือเด็กชาย---ทำด้วยฝ้าย (HSC 620342) และสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย---อื่น ๆ เช่น หอยลาย ปลาหมึก ที่บรรจุภาชนะอัดลม หรือไม่อัดลม (HSC 160590)
สำหรับตลาดส่งออกสำคัญของสินค้าที่มีศักยภาพของไทยในสินค้าทั้ง 4 กลุ่มพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกันในกลุ่ม A และ B คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นตลาดที่มีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ สิงคโปร์ อังกฤษ และฮ่องกง ขณะที่กลุ่ม C และ D มีลักษณะแตกต่างไปบ้าง โดย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยังคงเป็นตลาดที่มีความสำคัญสูงสุด และตลาดที่มีความสำคัญรองลงไปในกลุ่ม C คือ ฮ่องกง จีน และเยอรมนี ในขณะที่ตลาดที่มีความสำคัญรองลงไปในกลุ่ม D คือ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
สำหรับคู่แข่งขันสำคัญในตลาดโลกในสินค้าทั้ง 4 กลุ่มพบว่ามีลักษณะเหมือนกันคือ ประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี โดยสหรัฐอเมริกาเป็นคู่แข่งขันที่มีความสำคัญลำดับที่ 1 ในกลุ่ม A และ D ขณะที่จีนเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญลำดับที่ 1 ในกลุ่ม B และ C
ส่วนคู่แข่งขันสำคัญของไทยในตลาดหลักในสินค้าทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าแตกต่างไปจากคู่แข่งสำคัญในตลาดโลก คือ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา จีน และ ญี่ปุ่น ที่เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในตลาดหลักแล้ว ยังพบว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับคู่แข่งสำคัญจากทวีปเอเชียคือ มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดีย โดยคู่แข่งจากสหภาพยุโรปมีบทบาทน้อยลงในตลาดหลักสำคัญของไทย
จากสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพของไทยทั้ง 111 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ SMEs ไทยผลิตได้ ดังนั้น ภาครัฐควรจะให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนแก่ SMEs ในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพนี้มากที่สุด เนื่องจากได้เห็นศักยภาพในด้านการส่งออกแล้ว ซึ่งหากภาครัฐได้เข้ามาสนับสนุนในการสร้างศักยภาพทางด้านการผลิตและการบริหารจัดการ จะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับ SMEs กลุ่มนี้ให้สามารถแข่งขัน และประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจได้
ภาครัฐควรศึกษาวิจัยธุรกิจ SMEs สำหรับสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกแต่ละประเภทเกี่ยวกับสถานภาพของการประกอบธุรกิจ การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐที่ต้องการ โอกาสในการพัฒนาให้เป็นสินค้าส่งออกของไทยที่มีศักยภาพสูง เพื่อพัฒนาธุรกิจ SMEs สำหรับสินค้าประเภทนั้น ๆ ให้มีความสามารถอย่างแท้จริง
เมื่อทราบถึงปัญหาในการประกอบธุรกิจและความต้องการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่แท้จริงแล้ว ภาครัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอให้แก่องค์กรที่มีหน้าที่และมีความสามารถเพียงพอที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหา หรือเข้าไปพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs เหล่านั้น ทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ การขยายช่องทางการตลาด หรือการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ SMEs
ทั้งนี้ สิ่งที่สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะต้องพิจารณาดำเนินงานต่อจากผลการศึกษาวิจัยนี้ มีดังนี้คือ :
-การศึกษาเจาะลึกในรายละเอียดว่าผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจผลิตสินค้าแต่ละกลุ่มที่มีศักยภาพในการส่งออกนั้นประสบปัญหาในด้านใดกิจการมีสถานภาพอยู่ในระดับใด โดยเฉพาะสถานภาพทางด้านการผลิต การเงิน และการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังต้องศึกษาว่า สพว. จะสามารถเข้าไปปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้เพียงใด
-หลังจากทราบปัญหา ความต้องการ และศักยภาพของ SMEs แต่ละกลุ่มแล้ว สพว. ควรจะนำข้อมูลที่ได้มาเตรียมการให้การสนับสนุน ซึ่งอาจจะมีทั้งการสนับสนุนที่สถาบันฯ ให้บริการอยู่แล้ว เช่น การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมสาขาวิชาต่าง ๆ หรือการสนับสนุนในการให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน การเป็นพี่เลี้ยงบ่มเพาะธุรกิจ การออกแบบอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลทางธุรกิจ
ตลอดจนการสนับสนุนในการเชื่อมโยงธุรกิจ และการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการสนับสนุนที่อยู่นอกขอบเขตภาระหน้าที่ของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางสถาบัน ฯ สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ประสานให้เกิดการร่วมมือระหว่างทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือSMEs แต่ละกลุ่มดังกล่าว
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-