กรุงเทพ--10 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีต่างประเทศชี้แจงคณะทูตและแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความเชื่อมั่นในสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และได้เรียกร้องให้มีความสมานฉันท์ในชาติ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี นั้น เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันให้คณะทูตานุทูตรวม 70 คนจาก 55 ประเทศรับทราบ ต่อด้วยการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศจำนวน 50 คน เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของไทย สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. สถานการณ์ในประเทศไทยเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย โดยทั้งฝ่ายผู้ประท้วงและฝ่ายบ้านเมืองต่างได้ยึดมั่นในแนวสันติวิธี จึงไม่กระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพพื้นฐานของประเทศ
2. พ.ต.ท. ทักษิณฯ ได้ลาพักจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี รวมทั้งจะไม่เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วย โดยได้ให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 รักษาราชการแทนจนกว่าจะมีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
3. รัฐธรรมนูญระบุกรอบเวลาว่า จะต้องมีการเปิดประชุมสภาฯ ภายหลังการเลือกตั้ง 30 วัน (วันที่ 1 พฤษภาคม 2549) และที่ประชุมสภาฯ จะต้องเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วันหลังจากจากการประชุมฯ ครั้งแรก
4. จากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้องถวายรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และเมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการและเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว รัฐบาลปัจจุบันก็จะสลายตัว คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แทนและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสมบูรณ์เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบต่อนโยบาย
5. ต่อคำถามว่าจะมีทางออกอย่างไรในกรณีของเขตเลือกตั้ง 39 เขตที่พรรคไทยรักไทยลงสมัครเพียงพรรคเดียวและไม่ได้รับคะแนนเกินร้อยละ 20 รัฐมนตรีต่างประเทศแจ้งว่าถ้ามีพรรคอื่นเข้าลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยในเขตดังกล่าวก็จะไม่มีเงื่อนไขที่ผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปัญหาก็จะสิ้นสุดลง แต่หากไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งขันและผู้สมัครยังไม่สามารถได้รับคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 20 คณะกรรมการเลือกตั้งอาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยต่อไป รวมทั้งกรณีของ น.พ. เปรมศักดิ์ เพียยุระด้วย ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการนี้คงเสร็จสิ้นได้ก่อนสิ้นเดือนเมษายนหรืออย่างช้าที่สุดภายในเดือนพฤษภาคม
6. รัฐบาลชุดใหม่จะปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 15 เดือน โดยจะแก้ไขมาตรา 313 ซึ่งกำหนดไว้เดิมว่าให้รัฐบาลและรัฐสภาเท่านั้นมีบทบาทร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป เมื่อการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ก็อาจจะมีการลงประชามติให้ความเห็นชอบ จากนั้นก็จะมีการเลือกตั้งใหม่
7. พรรคไทยรักไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหรือให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นก่อนมีการตั้งพรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยต่างได้มีบทบาทเต็มที่และให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี ในเมื่อมีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ
8. ต่อคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ รัฐมนตรีฯ กล่าวว่าการท่องเที่ยวไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนมาก เนื่องจากทุกอย่างเป็นไปโดยสันติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จึงไม่มีปัญหา ขอให้นักท่องเที่ยวมั่นใจได้ ในส่วนของ โครงการ Thailand Modernization (mega-projects) ก็จะดำเนินต่อไป เพียงแต่ขยายวันรับข้อเสนอเป็นสิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 ส่วนนโยบายการการเจรจาการค้าเสรีซึ่งยังค้างอยู่กับบางประเทศ FTA ไทย-ญี่ปุ่นใกล้เสร็จแล้ว เหลือแต่การลงนาม ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ และในส่วน FTA กับสหรัฐฯ นั้น ก็จะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่เช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีต่างประเทศชี้แจงคณะทูตและแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความเชื่อมั่นในสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และได้เรียกร้องให้มีความสมานฉันท์ในชาติ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี นั้น เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันให้คณะทูตานุทูตรวม 70 คนจาก 55 ประเทศรับทราบ ต่อด้วยการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศจำนวน 50 คน เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของไทย สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. สถานการณ์ในประเทศไทยเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย โดยทั้งฝ่ายผู้ประท้วงและฝ่ายบ้านเมืองต่างได้ยึดมั่นในแนวสันติวิธี จึงไม่กระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพพื้นฐานของประเทศ
2. พ.ต.ท. ทักษิณฯ ได้ลาพักจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี รวมทั้งจะไม่เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วย โดยได้ให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 รักษาราชการแทนจนกว่าจะมีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
3. รัฐธรรมนูญระบุกรอบเวลาว่า จะต้องมีการเปิดประชุมสภาฯ ภายหลังการเลือกตั้ง 30 วัน (วันที่ 1 พฤษภาคม 2549) และที่ประชุมสภาฯ จะต้องเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วันหลังจากจากการประชุมฯ ครั้งแรก
4. จากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้องถวายรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และเมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการและเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว รัฐบาลปัจจุบันก็จะสลายตัว คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แทนและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสมบูรณ์เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบต่อนโยบาย
5. ต่อคำถามว่าจะมีทางออกอย่างไรในกรณีของเขตเลือกตั้ง 39 เขตที่พรรคไทยรักไทยลงสมัครเพียงพรรคเดียวและไม่ได้รับคะแนนเกินร้อยละ 20 รัฐมนตรีต่างประเทศแจ้งว่าถ้ามีพรรคอื่นเข้าลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยในเขตดังกล่าวก็จะไม่มีเงื่อนไขที่ผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปัญหาก็จะสิ้นสุดลง แต่หากไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งขันและผู้สมัครยังไม่สามารถได้รับคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 20 คณะกรรมการเลือกตั้งอาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยต่อไป รวมทั้งกรณีของ น.พ. เปรมศักดิ์ เพียยุระด้วย ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการนี้คงเสร็จสิ้นได้ก่อนสิ้นเดือนเมษายนหรืออย่างช้าที่สุดภายในเดือนพฤษภาคม
6. รัฐบาลชุดใหม่จะปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 15 เดือน โดยจะแก้ไขมาตรา 313 ซึ่งกำหนดไว้เดิมว่าให้รัฐบาลและรัฐสภาเท่านั้นมีบทบาทร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป เมื่อการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ก็อาจจะมีการลงประชามติให้ความเห็นชอบ จากนั้นก็จะมีการเลือกตั้งใหม่
7. พรรคไทยรักไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหรือให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นก่อนมีการตั้งพรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยต่างได้มีบทบาทเต็มที่และให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี ในเมื่อมีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ
8. ต่อคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ รัฐมนตรีฯ กล่าวว่าการท่องเที่ยวไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนมาก เนื่องจากทุกอย่างเป็นไปโดยสันติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จึงไม่มีปัญหา ขอให้นักท่องเที่ยวมั่นใจได้ ในส่วนของ โครงการ Thailand Modernization (mega-projects) ก็จะดำเนินต่อไป เพียงแต่ขยายวันรับข้อเสนอเป็นสิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 ส่วนนโยบายการการเจรจาการค้าเสรีซึ่งยังค้างอยู่กับบางประเทศ FTA ไทย-ญี่ปุ่นใกล้เสร็จแล้ว เหลือแต่การลงนาม ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ และในส่วน FTA กับสหรัฐฯ นั้น ก็จะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่เช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-