คำถาม : Positive List System ของญี่ปุ่นเกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอย่างไร
คำตอบ : Positive List System คือ ระบบควบคุมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรซึ่งอาจตกค้างในสินค้าอาหารครอบคลุมถึงยาฆ่าแมลง สิ่งปรุงแต่งในอาหารสัตว์ และยารักษาโรคสำหรับสัตว์ กำหนดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุขแรงงาน และสวัสดิการ (Ministry of Health, Labour and Welfare : MHLW) ของญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Law) Positive List System นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการส่งออกสินค้าอาหารไปประเทศญี่ปุ่น เพราะหากไม่ปฏิบัติตาม ผู้ส่งออกอาจได้รับความเสียหายจากการที่สินค้าถูกปฏิเสธการนำเข้า ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
ข้อกำหนดภายใต้ Positive List System ประกอบด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
* Uniform Limit คือ ระดับของสารตกค้างที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเดิมญี่ปุ่นกำหนดปริมาณสูงสุดที่สามารถมีได้ (Maximum Residue Limits : MRLs) สำหรับสารตกค้างจำนวน 283 รายการส่งผลให้สินค้าอาหารที่มีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณไม่เกินระดับที่กำหนด รวมทั้งสินค้าอาหารที่มีสารเคมีนอกเหนือจากที่กำหนด MRLs ไว้ สามารถนำเข้าไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดของPositive List System มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเพิ่มเงื่อนไขซึ่งครอบคลุมสารเคมีอื่น ๆ ที่อยู่นอกรายการที่กำหนด MRLs โดยอนุญาตให้สินค้าอาหารมีสารเคมีที่อยู่นอกรายการที่กำหนด MRLs ได้ชนิดละไม่เกิน 0.01 ppm(parts per million) ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
* Exempted Substances คือ สารเคมีที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกำหนด MRLs เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ตกค้างในสินค้าอาหารเป็นปริมาณเท่าใดก็ตาม มีจำนวนทั้งสิ้น 65 รายการอาทิ Zinc, Chlorine, Calcium, Beta-Carotene, Sodium Bicarbonate, Paraffin และ Wax เป็นต้น ทั้งนี้ สารเคมีที่เข้าข่ายยกเว้นดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์สำคัญ คือ ต้องเป็นสารเคมีที่ไม่มีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ในแต่ละวันไว้ (Acceptable Daily Intakes : ADI) รวมทั้งไม่มีการประกาศห้ามใช้ในประเทศอื่น ๆ
* Provisional MRLs คือ MRLs ซึ่งกำหนดขึ้นเป็นการชั่วคราวสำหรับสารเคมีจำนวน 758 รายการโดยพิจารณาจากมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารของโลก (Codex) และกฎหมายภายในของญี่ปุ่น เช่น Agricultural Chemicals Regulation Law, Pharmaceutical Affairs Law และ Law for Safety Assurance and Quality Improvement of Animal Feed เป็นต้น รวมทั้งมาตรฐานที่จัดทำขึ้นด้วยการประเมินผลทางวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลีย แคนาดา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ Provisional MRLs กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ Positive List System มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ตามกำหนดที่วางไว้ จึงมีระยะเวลาค่อนข้างจำกัดและมิได้ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัย (Safety Assessment) ตามกฎหมายหลังจากที่ Positive List System มีผลบังคับใช้แล้ว Provisional MRLs จะได้รับการทบทวน/แก้ไข เพื่อนำไปบรรจุใน MRLs List ต่อไป
นอกจากนี้ สารเคมีชนิดใดที่ได้รับการระบุว่า "Not Detected" หรือ "ND" นั่นหมายความว่า ต้องไม่พบสารเคมีชนิดนั้นในสินค้าอาหารเลย สารเคมีดังกล่าวที่รู้จักกันดี ได้แก่ Nitrofurans และ Chloramphenicol เป็นต้น
ผลกระทบที่มีต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทย สินค้าอาหารของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการนำPositive List System มาใช้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรที่ใช้สารเคมีดังกล่าวในปริมาณค่อนข้างมากระหว่างขั้นตอนการเพาะปลูกหรือเพาะเลี้ยง รวมถึงขั้นตอนการถนอมรักษา อาทิ ผักสดแช่เย็นแช่แข็งผักกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และสินค้าประมง นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอาหารบางประเภทโดยเฉพาะข้าวและผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้ส่งออกไทยต้องเพิ่มความระมัดระวังและเข้มงวดยิ่งขึ้นในประเด็นของสารตกค้าง เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น จึงเป็นที่จับตามองเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ หลังจากที่ Positive List System มีผลบังคับใช้ หากสินค้าอาหารส่งออกจากประเทศใดถูกตรวจพบว่ามีสารเคมีตกค้างเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ สินค้าอาหารนั้นจะถูกห้ามนำเข้าไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และอาจส่งผลให้สินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องถูกระงับการนำเข้าเป็นการชั่วคราวด้วย โดยผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากการปฏิเสธการนำเข้าของญี่ปุ่น ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงควรตื่นตัวและทำความเข้าใจกับมาตรการใหม่ที่ญี่ปุ่นนำมาใช้ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับการส่งออก แต่ยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าไทยอีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : Positive List System คือ ระบบควบคุมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรซึ่งอาจตกค้างในสินค้าอาหารครอบคลุมถึงยาฆ่าแมลง สิ่งปรุงแต่งในอาหารสัตว์ และยารักษาโรคสำหรับสัตว์ กำหนดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุขแรงงาน และสวัสดิการ (Ministry of Health, Labour and Welfare : MHLW) ของญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Law) Positive List System นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการส่งออกสินค้าอาหารไปประเทศญี่ปุ่น เพราะหากไม่ปฏิบัติตาม ผู้ส่งออกอาจได้รับความเสียหายจากการที่สินค้าถูกปฏิเสธการนำเข้า ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
ข้อกำหนดภายใต้ Positive List System ประกอบด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
* Uniform Limit คือ ระดับของสารตกค้างที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเดิมญี่ปุ่นกำหนดปริมาณสูงสุดที่สามารถมีได้ (Maximum Residue Limits : MRLs) สำหรับสารตกค้างจำนวน 283 รายการส่งผลให้สินค้าอาหารที่มีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณไม่เกินระดับที่กำหนด รวมทั้งสินค้าอาหารที่มีสารเคมีนอกเหนือจากที่กำหนด MRLs ไว้ สามารถนำเข้าไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดของPositive List System มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเพิ่มเงื่อนไขซึ่งครอบคลุมสารเคมีอื่น ๆ ที่อยู่นอกรายการที่กำหนด MRLs โดยอนุญาตให้สินค้าอาหารมีสารเคมีที่อยู่นอกรายการที่กำหนด MRLs ได้ชนิดละไม่เกิน 0.01 ppm(parts per million) ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
* Exempted Substances คือ สารเคมีที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกำหนด MRLs เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ตกค้างในสินค้าอาหารเป็นปริมาณเท่าใดก็ตาม มีจำนวนทั้งสิ้น 65 รายการอาทิ Zinc, Chlorine, Calcium, Beta-Carotene, Sodium Bicarbonate, Paraffin และ Wax เป็นต้น ทั้งนี้ สารเคมีที่เข้าข่ายยกเว้นดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์สำคัญ คือ ต้องเป็นสารเคมีที่ไม่มีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ในแต่ละวันไว้ (Acceptable Daily Intakes : ADI) รวมทั้งไม่มีการประกาศห้ามใช้ในประเทศอื่น ๆ
* Provisional MRLs คือ MRLs ซึ่งกำหนดขึ้นเป็นการชั่วคราวสำหรับสารเคมีจำนวน 758 รายการโดยพิจารณาจากมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารของโลก (Codex) และกฎหมายภายในของญี่ปุ่น เช่น Agricultural Chemicals Regulation Law, Pharmaceutical Affairs Law และ Law for Safety Assurance and Quality Improvement of Animal Feed เป็นต้น รวมทั้งมาตรฐานที่จัดทำขึ้นด้วยการประเมินผลทางวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลีย แคนาดา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ Provisional MRLs กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ Positive List System มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ตามกำหนดที่วางไว้ จึงมีระยะเวลาค่อนข้างจำกัดและมิได้ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัย (Safety Assessment) ตามกฎหมายหลังจากที่ Positive List System มีผลบังคับใช้แล้ว Provisional MRLs จะได้รับการทบทวน/แก้ไข เพื่อนำไปบรรจุใน MRLs List ต่อไป
นอกจากนี้ สารเคมีชนิดใดที่ได้รับการระบุว่า "Not Detected" หรือ "ND" นั่นหมายความว่า ต้องไม่พบสารเคมีชนิดนั้นในสินค้าอาหารเลย สารเคมีดังกล่าวที่รู้จักกันดี ได้แก่ Nitrofurans และ Chloramphenicol เป็นต้น
ผลกระทบที่มีต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทย สินค้าอาหารของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการนำPositive List System มาใช้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรที่ใช้สารเคมีดังกล่าวในปริมาณค่อนข้างมากระหว่างขั้นตอนการเพาะปลูกหรือเพาะเลี้ยง รวมถึงขั้นตอนการถนอมรักษา อาทิ ผักสดแช่เย็นแช่แข็งผักกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และสินค้าประมง นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอาหารบางประเภทโดยเฉพาะข้าวและผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้ส่งออกไทยต้องเพิ่มความระมัดระวังและเข้มงวดยิ่งขึ้นในประเด็นของสารตกค้าง เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น จึงเป็นที่จับตามองเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ หลังจากที่ Positive List System มีผลบังคับใช้ หากสินค้าอาหารส่งออกจากประเทศใดถูกตรวจพบว่ามีสารเคมีตกค้างเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ สินค้าอาหารนั้นจะถูกห้ามนำเข้าไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และอาจส่งผลให้สินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องถูกระงับการนำเข้าเป็นการชั่วคราวด้วย โดยผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากการปฏิเสธการนำเข้าของญี่ปุ่น ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงควรตื่นตัวและทำความเข้าใจกับมาตรการใหม่ที่ญี่ปุ่นนำมาใช้ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับการส่งออก แต่ยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าไทยอีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2549--
-พห-