คำถาม : เหตุใดธุรกิจทั่วโลก รวมถึงธุรกิจส่งออก จึงหันมาให้ความสำคัญกับ RFID Tag มากขึ้น
คำตอบ : RFID Tag (Radio Frequency Identification Tag) คือ แผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถบ่งชี้บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ ภายใต้การทำงานของไมโครชิพขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูล และเสาอากาศขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลที่บันทึกในไมโครชิพไปที่เครื่องอ่าน (RFID Reader) ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ
ปัจจุบันทั่วโลกมีการนำ RFID Tag ไปประยุกต์ใช้ในหลายกิจการ อาทิ การขนส่ง ร้านค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้า เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของ RFID Tag ที่มีขนาด รูปทรง และผลิตจากวัสดุที่หลากหลาย สามารถบันทึกเก็บเป็นฐานข้อมูลได้อัตโนมัติและส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่เครื่องอ่าน RFID Tagสามารถอ่านข้อมูลได้คราวละหลายรายการและอ่านได้จากระยะไกล
สำหรับธุรกิจส่งออกในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ RFID Tag มากขึ้นเช่นกัน เพราะนอกจากประโยชน์ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ภาวะแวดล้อมของการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้มีการใช้ RFID Tag เนื่องจาก
* ประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญของโลกต่างเพิ่มความเข้มงวดเกี่ยวกับระเบียบความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ให้ความสำคัญมากขึ้นกับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) สินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า (แม้ปัจจุบันองค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศยังไม่ประกาศให้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับเป็นมาตรฐานกลางที่ต้องปฏิบัติ) RFID Tag จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเลือกใช้เพื่อความสะดวกต่อการถูกตรวจสอบย้อนกลับ เนื่องจาก RFID Tag สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับสินค้า อาทิ แหล่งผลิต ผู้ผลิต สารปรุงแต่ง ข้อมูลการใช้สารเคมี วันที่ผลิต โรงงานที่ผลิต ระยะเวลาในการขนส่งและเก็บสินค้าในคลัง สถานที่ขนส่งและวางจำหน่ายสินค้า ทำให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าได้ทุกขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่แหล่งผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค
* ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของโลกวางกฎเกณฑ์ให้สินค้าที่จำหน่ายในห้างต้องติด RFID Tag เนื่องจากRFID Tag สามารถบันทึกและส่งข้อมูลปริมาณสินค้าบนชั้นวางจำหน่าย ปริมาณสินค้าหมดอายุ มีตำหนิ หรือชำรุด เพื่อให้พนักงานนำสินค้ามาเติมหรือเปลี่ยนสินค้าบนชั้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนการจัดการลดลง และบริหารคลังสินค้าได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาให้กับผู้ซื้อ เนื่องจากทันทีที่ผู้ซื้อเข็นรถบรรจุสินค้าผ่านเครื่องอ่าน รายละเอียดของสินค้าทั้งหมดจะถูกอ่านพร้อมกัน และมูลค่าสินค้าที่ต้องชำระเงินจะปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทันที โดยพนักงานไม่ต้องนำสินค้าออกจากรถเข็นมาคำนวณราคาทีละชิ้น ทั้งนี้ Wal-Mart ห้างค้าปลีกอันดับ 1 ของโลก กำหนดให้คู่ค้ารายใหญ่ 100 ราย ติด RFID Tag บนกล่องสินค้าตั้งแต่ต้นปี 2548 และเตรียมกำหนดให้ คู่ค้าที่ต้องการวางจำหน่ายสินค้าในห้างทุกรายต้องติด RFID Tag ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ TESCO และ Metro Group ของสหภาพยุโรปต่างสนใจนำระบบ RFID มาใช้เช่นกัน ซึ่งหากร้านค้าปลีกทั่วโลกหันมาใช้ระบบนี้มากขึ้น คู่ค้าของร้านค้าปลีกดังกล่าว รวมถึงผู้ส่งออกไทยจะต้องติด RFID Tag บนสินค้าส่งออกทุกชิ้น
* ประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ มีแนวโน้มกำหนดให้ผู้ส่งออกติด RFID Tag ที่อุปกรณ์ล็อกประตูตู้สินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดเวลาในการตรวจสอบตู้บรรทุกสินค้า เนื่องจาก RFID Tag ได้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตู้สินค้าและสินค้าทั้งหมดในตู้ไว้ ทำให้ทันทีที่ตู้สินค้าไปถึงท่าเรือ และผ่านเครื่องอ่าน หากไม่พบความผิดปกติของข้อมูล ก็สามารถนำตู้สินค้าผ่านท่าเรือได้เลย โดยไม่ต้องเปิดตู้สินค้า นอกจากนี้ การติด RFID Tag ที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณดาวเทียม ทำให้ผู้รับและผู้ส่งสินค้าสามารถตรวจสอบติดตามตำแหน่งของตู้สินค้าได้ตลอดเส้นทางการขนส่ง และทราบได้ทันทีที่ตู้สินค้าถูกเปิดโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการนำเข้าสินค้า
แม้ปัจจุบันการใช้ RFID Tag ยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย โดยมีการใช้อยู่ในวงแคบเพียงบางกลุ่มเช่น ร้านค้าบางแห่ง ฟาร์มเลี้ยงสุกรบางแห่ง และระบบการขนส่งปูนซีเมนต์ของผู้ประกอบการบางราย อย่างไรก็ตาม ด้วยแรงกระตุ้นจากปัจจัยแวดล้อมของการค้าโลกที่เปลี่ยนไป ขณะที่ต้นทุนการผลิต RFID Tag มีแนวโน้มถูกลงจากการที่หลายประเทศหันมาเน้นพัฒนาและใช้ระบบ RFID อย่างจริงจัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยควรเร่งปรับตัว ส่วนหนึ่งด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับเทคโนโลยี RFID ทั้งนี้ เพื่อลดการสูญเสียโอกาสทางการค้า อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการขนส่งสินค้าส่งออกของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พห-
คำตอบ : RFID Tag (Radio Frequency Identification Tag) คือ แผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถบ่งชี้บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ ภายใต้การทำงานของไมโครชิพขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูล และเสาอากาศขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลที่บันทึกในไมโครชิพไปที่เครื่องอ่าน (RFID Reader) ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ
ปัจจุบันทั่วโลกมีการนำ RFID Tag ไปประยุกต์ใช้ในหลายกิจการ อาทิ การขนส่ง ร้านค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้า เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของ RFID Tag ที่มีขนาด รูปทรง และผลิตจากวัสดุที่หลากหลาย สามารถบันทึกเก็บเป็นฐานข้อมูลได้อัตโนมัติและส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่เครื่องอ่าน RFID Tagสามารถอ่านข้อมูลได้คราวละหลายรายการและอ่านได้จากระยะไกล
สำหรับธุรกิจส่งออกในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ RFID Tag มากขึ้นเช่นกัน เพราะนอกจากประโยชน์ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ภาวะแวดล้อมของการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้มีการใช้ RFID Tag เนื่องจาก
* ประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญของโลกต่างเพิ่มความเข้มงวดเกี่ยวกับระเบียบความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ให้ความสำคัญมากขึ้นกับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) สินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า (แม้ปัจจุบันองค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศยังไม่ประกาศให้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับเป็นมาตรฐานกลางที่ต้องปฏิบัติ) RFID Tag จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเลือกใช้เพื่อความสะดวกต่อการถูกตรวจสอบย้อนกลับ เนื่องจาก RFID Tag สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับสินค้า อาทิ แหล่งผลิต ผู้ผลิต สารปรุงแต่ง ข้อมูลการใช้สารเคมี วันที่ผลิต โรงงานที่ผลิต ระยะเวลาในการขนส่งและเก็บสินค้าในคลัง สถานที่ขนส่งและวางจำหน่ายสินค้า ทำให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าได้ทุกขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่แหล่งผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค
* ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของโลกวางกฎเกณฑ์ให้สินค้าที่จำหน่ายในห้างต้องติด RFID Tag เนื่องจากRFID Tag สามารถบันทึกและส่งข้อมูลปริมาณสินค้าบนชั้นวางจำหน่าย ปริมาณสินค้าหมดอายุ มีตำหนิ หรือชำรุด เพื่อให้พนักงานนำสินค้ามาเติมหรือเปลี่ยนสินค้าบนชั้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนการจัดการลดลง และบริหารคลังสินค้าได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาให้กับผู้ซื้อ เนื่องจากทันทีที่ผู้ซื้อเข็นรถบรรจุสินค้าผ่านเครื่องอ่าน รายละเอียดของสินค้าทั้งหมดจะถูกอ่านพร้อมกัน และมูลค่าสินค้าที่ต้องชำระเงินจะปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทันที โดยพนักงานไม่ต้องนำสินค้าออกจากรถเข็นมาคำนวณราคาทีละชิ้น ทั้งนี้ Wal-Mart ห้างค้าปลีกอันดับ 1 ของโลก กำหนดให้คู่ค้ารายใหญ่ 100 ราย ติด RFID Tag บนกล่องสินค้าตั้งแต่ต้นปี 2548 และเตรียมกำหนดให้ คู่ค้าที่ต้องการวางจำหน่ายสินค้าในห้างทุกรายต้องติด RFID Tag ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ TESCO และ Metro Group ของสหภาพยุโรปต่างสนใจนำระบบ RFID มาใช้เช่นกัน ซึ่งหากร้านค้าปลีกทั่วโลกหันมาใช้ระบบนี้มากขึ้น คู่ค้าของร้านค้าปลีกดังกล่าว รวมถึงผู้ส่งออกไทยจะต้องติด RFID Tag บนสินค้าส่งออกทุกชิ้น
* ประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ มีแนวโน้มกำหนดให้ผู้ส่งออกติด RFID Tag ที่อุปกรณ์ล็อกประตูตู้สินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดเวลาในการตรวจสอบตู้บรรทุกสินค้า เนื่องจาก RFID Tag ได้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตู้สินค้าและสินค้าทั้งหมดในตู้ไว้ ทำให้ทันทีที่ตู้สินค้าไปถึงท่าเรือ และผ่านเครื่องอ่าน หากไม่พบความผิดปกติของข้อมูล ก็สามารถนำตู้สินค้าผ่านท่าเรือได้เลย โดยไม่ต้องเปิดตู้สินค้า นอกจากนี้ การติด RFID Tag ที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณดาวเทียม ทำให้ผู้รับและผู้ส่งสินค้าสามารถตรวจสอบติดตามตำแหน่งของตู้สินค้าได้ตลอดเส้นทางการขนส่ง และทราบได้ทันทีที่ตู้สินค้าถูกเปิดโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการนำเข้าสินค้า
แม้ปัจจุบันการใช้ RFID Tag ยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย โดยมีการใช้อยู่ในวงแคบเพียงบางกลุ่มเช่น ร้านค้าบางแห่ง ฟาร์มเลี้ยงสุกรบางแห่ง และระบบการขนส่งปูนซีเมนต์ของผู้ประกอบการบางราย อย่างไรก็ตาม ด้วยแรงกระตุ้นจากปัจจัยแวดล้อมของการค้าโลกที่เปลี่ยนไป ขณะที่ต้นทุนการผลิต RFID Tag มีแนวโน้มถูกลงจากการที่หลายประเทศหันมาเน้นพัฒนาและใช้ระบบ RFID อย่างจริงจัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยควรเร่งปรับตัว ส่วนหนึ่งด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับเทคโนโลยี RFID ทั้งนี้ เพื่อลดการสูญเสียโอกาสทางการค้า อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการขนส่งสินค้าส่งออกของไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พห-