ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายเรียกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ไปพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในวันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา คดีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร นั้น
พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษได้กระทำโดยไม่มีอำนาจ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 กำหนดวิธีการ ขั้นตอน ในการดำเนินคดีต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ชัดเจน การดำเนินการครั้งนี้ของกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
พรรคเห็นว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษกระทำการที่ผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ เพราะรัฐบาลมุ่งที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ว่าฯ กทม. และพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเจตนาเพื่อการทำลายล้างทางการเมือง โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือ
การกระทำของรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นการเลือกปฏิบัติ ต่างมาตรฐาน อย่างชัดเจน เมื่อเทียบเคียงกับกรณีทุจริตคอรัปชั่นในคณะรัฐบาลที่มีแพร่หลาย และนายกรัฐมนตรีมีส่วนรับรู้ เช่น กรณี CTX กรณีทุจริตการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทุจริตโครงการลำไยอบแห้ง ทุจริตกล้ายางพารา ฯลฯ เป็นต้น
พรรคเชื่อมั่นในตัวนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต และมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร และสนับสนุนให้นายอภิรักษ์ฯ ให้ความร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในการทำข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ให้เป็นที่ปรากฏ
ขณะเดียวกันพรรค เห็นว่าการใช้อำนาจรัฐและการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย จึงสนับสนุนให้นายอภิรักษ์ฯ ใช้สิทธิทางกฎหมายดำเนินคดีต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ใช้อำนาจโดยมิชอบต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ก.พ. 2549--จบ--
พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษได้กระทำโดยไม่มีอำนาจ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 กำหนดวิธีการ ขั้นตอน ในการดำเนินคดีต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ชัดเจน การดำเนินการครั้งนี้ของกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
พรรคเห็นว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษกระทำการที่ผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ เพราะรัฐบาลมุ่งที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ว่าฯ กทม. และพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเจตนาเพื่อการทำลายล้างทางการเมือง โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือ
การกระทำของรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นการเลือกปฏิบัติ ต่างมาตรฐาน อย่างชัดเจน เมื่อเทียบเคียงกับกรณีทุจริตคอรัปชั่นในคณะรัฐบาลที่มีแพร่หลาย และนายกรัฐมนตรีมีส่วนรับรู้ เช่น กรณี CTX กรณีทุจริตการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทุจริตโครงการลำไยอบแห้ง ทุจริตกล้ายางพารา ฯลฯ เป็นต้น
พรรคเชื่อมั่นในตัวนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต และมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร และสนับสนุนให้นายอภิรักษ์ฯ ให้ความร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในการทำข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ให้เป็นที่ปรากฏ
ขณะเดียวกันพรรค เห็นว่าการใช้อำนาจรัฐและการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย จึงสนับสนุนให้นายอภิรักษ์ฯ ใช้สิทธิทางกฎหมายดำเนินคดีต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ใช้อำนาจโดยมิชอบต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ก.พ. 2549--จบ--