เดิมทีตั้งใจจะเขียนเรื่อง นโยบายรัฐบาลที่กำลังแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนี้ แต่เห็นได้ชัดว่า ได้เกิดเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ ที่ส่งผลต่อบรรยากาศการเมือง จนดูเหมือนจะทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง นับตั้งแต่มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ที่ผ่านมา
ต้องยอมรับว่าผลพวงจากการเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การพบปะระหว่างพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี กับ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน กับ นายสมศักดิ์ เทพสุทินบนสนามฟุตบอล กระแสความเคลื่อนไหวของคุณทักษิณ ชินวัตร การตอบโต้ระหว่างคุณหญิงจารุวรรณ กับ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ได้ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) และรัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น และส่งผลให้ความเชื่อมั่นในทางการเมืองลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งเกิดเหตุการณ์ที่คุณนวมทอง ผู้ขับรถแท็กซี่ชนรถถังฆ่าตัวตาย เพื่อประท้วงการรัฐประหาร ตามมาด้วยการชุมนุมท้องสนามหลวง และสภาพความรุนแรงที่ดูจะไม่ลดละลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความกังวลต่อสภาพปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หากจะมองถึงสาเหตุของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาโดยเฉพาะในเรื่อง ความแตกแยกและความรุนแรง แล้ว จะพบว่าประเด็นของการใช้อำนาจโดยผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง
การใช้อำนาจโดยขาดคุณธรรม ความชอบธรรม การใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขต คือ ชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤติการเมือง และวิกฤติปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผมจึงต้องเขียนถึงท่าทีของนายกฯสุรยุทธ์ เมื่อวานนี้ (๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) เป็นพิเศษ
กรณีปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น หลายฝ่ายรวมทั้งตัวผมเองได้เรียกร้องให้มีการส่ง
สัญญาณที่ชัดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยการคืนความยุติธรรม ทำงานบนหลักการของการมีส่วนร่วม สมานฉันท์ อย่างชัดเจน และเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดี เมื่อมีการรื้อฟื้น ศอบต.
แต่การกล่าว “ขอโทษ” ในนามของรัฐ โดยนายกฯสุรยุทธ์ ท่ามกลางผู้นำชุมชนจาก ๕ จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นการส่งสัญญาณที่มีคุณค่ามหาศาลในการแก้ไขปัญหา
เป็นการแสดงออกอย่างสง่างาม เพื่อให้ประชาชนมองเห็นแบบอย่างของการเป็นผู้นำที่ดีว่า
ผู้มีอำนาจไม่จำเป็นต้องใช้แต่อำนาจ
ผู้มีอำนาจสามารถยอมรับความผิดพลาดขององค์กรตนเองได้
ที่สำคัญคำพูดของนายกฯสุรยุทธ์ เกิดขึ้นพร้อมๆกับความกระตือรือร้นที่จะอำนวยความยุติธรรมในกรณีของทนายสมชาย นีละไพจิตร ตามมาด้วยการถอนฟ้องประชาชนในกรณีตากใบ จึงเป็นการตอกย้ำว่าคำพูดของท่านมิได้เป็นเพียงแค่คำพูด
สังคมไทยจึงกลับมามีความหวังอีกครั้งต่อสถานการณ์ในภาคใต้ แม้จะรู้ว่า หนทางข้างหน้ายังมีปัญหาและอุปสรรคอีกมาก
กรณีคุณนวมทองนั้น นายกฯสุรยุทธ์ได้ให้ภรรยาของคุณนวมทองเข้าพบ ได้พยายามทำความเข้าใจและแสดงความเห็นใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่มองชีวิตหรือความคิดของคนๆหนึ่งเป็นเรื่องเล็ก ไม่ได้มองผู้ที่มาประท้วงการได้อำนาจของท่านในลักษณะของศัตรู
หากรัฐบาลและ คมช.จะได้มองประชาชนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับท่าน และแสดงออกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ใส่ใจที่จะสื่อสารทำความเข้าใจ ความตึงเครียดในทางการเมืองก็จะลดลงอย่างมาก
ท่าทีของนายกฯสุรยุทธ์ จากกรณีทั้งสองจึงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ เป็นแบบอย่างของผู้นำที่ใช้หลักคุณธรรมในการทำหน้าที่ แม้ประเด็นที่มาและความชอบธรรมในการเข้าดำรงตำแหน่งของท่าน คงมีการถกเถียงกันอีกยาวนาน แต่หากนายกฯสุรยุทธ์มีความเสมอต้นเสมอปลายในท่าทีเช่นนี้ สังคมไทยย่อมมีโอกาสฝ่าวิกฤติและบรรลุภารกิจที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ได้ประกาศไว้ภายใต้การนำของท่านอย่างแน่นอน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 พ.ย. 2549--จบ--
ต้องยอมรับว่าผลพวงจากการเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การพบปะระหว่างพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี กับ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน กับ นายสมศักดิ์ เทพสุทินบนสนามฟุตบอล กระแสความเคลื่อนไหวของคุณทักษิณ ชินวัตร การตอบโต้ระหว่างคุณหญิงจารุวรรณ กับ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ได้ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) และรัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น และส่งผลให้ความเชื่อมั่นในทางการเมืองลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งเกิดเหตุการณ์ที่คุณนวมทอง ผู้ขับรถแท็กซี่ชนรถถังฆ่าตัวตาย เพื่อประท้วงการรัฐประหาร ตามมาด้วยการชุมนุมท้องสนามหลวง และสภาพความรุนแรงที่ดูจะไม่ลดละลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความกังวลต่อสภาพปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หากจะมองถึงสาเหตุของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาโดยเฉพาะในเรื่อง ความแตกแยกและความรุนแรง แล้ว จะพบว่าประเด็นของการใช้อำนาจโดยผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง
การใช้อำนาจโดยขาดคุณธรรม ความชอบธรรม การใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขต คือ ชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤติการเมือง และวิกฤติปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผมจึงต้องเขียนถึงท่าทีของนายกฯสุรยุทธ์ เมื่อวานนี้ (๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) เป็นพิเศษ
กรณีปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น หลายฝ่ายรวมทั้งตัวผมเองได้เรียกร้องให้มีการส่ง
สัญญาณที่ชัดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยการคืนความยุติธรรม ทำงานบนหลักการของการมีส่วนร่วม สมานฉันท์ อย่างชัดเจน และเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดี เมื่อมีการรื้อฟื้น ศอบต.
แต่การกล่าว “ขอโทษ” ในนามของรัฐ โดยนายกฯสุรยุทธ์ ท่ามกลางผู้นำชุมชนจาก ๕ จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นการส่งสัญญาณที่มีคุณค่ามหาศาลในการแก้ไขปัญหา
เป็นการแสดงออกอย่างสง่างาม เพื่อให้ประชาชนมองเห็นแบบอย่างของการเป็นผู้นำที่ดีว่า
ผู้มีอำนาจไม่จำเป็นต้องใช้แต่อำนาจ
ผู้มีอำนาจสามารถยอมรับความผิดพลาดขององค์กรตนเองได้
ที่สำคัญคำพูดของนายกฯสุรยุทธ์ เกิดขึ้นพร้อมๆกับความกระตือรือร้นที่จะอำนวยความยุติธรรมในกรณีของทนายสมชาย นีละไพจิตร ตามมาด้วยการถอนฟ้องประชาชนในกรณีตากใบ จึงเป็นการตอกย้ำว่าคำพูดของท่านมิได้เป็นเพียงแค่คำพูด
สังคมไทยจึงกลับมามีความหวังอีกครั้งต่อสถานการณ์ในภาคใต้ แม้จะรู้ว่า หนทางข้างหน้ายังมีปัญหาและอุปสรรคอีกมาก
กรณีคุณนวมทองนั้น นายกฯสุรยุทธ์ได้ให้ภรรยาของคุณนวมทองเข้าพบ ได้พยายามทำความเข้าใจและแสดงความเห็นใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่มองชีวิตหรือความคิดของคนๆหนึ่งเป็นเรื่องเล็ก ไม่ได้มองผู้ที่มาประท้วงการได้อำนาจของท่านในลักษณะของศัตรู
หากรัฐบาลและ คมช.จะได้มองประชาชนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับท่าน และแสดงออกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ใส่ใจที่จะสื่อสารทำความเข้าใจ ความตึงเครียดในทางการเมืองก็จะลดลงอย่างมาก
ท่าทีของนายกฯสุรยุทธ์ จากกรณีทั้งสองจึงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ เป็นแบบอย่างของผู้นำที่ใช้หลักคุณธรรมในการทำหน้าที่ แม้ประเด็นที่มาและความชอบธรรมในการเข้าดำรงตำแหน่งของท่าน คงมีการถกเถียงกันอีกยาวนาน แต่หากนายกฯสุรยุทธ์มีความเสมอต้นเสมอปลายในท่าทีเช่นนี้ สังคมไทยย่อมมีโอกาสฝ่าวิกฤติและบรรลุภารกิจที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ได้ประกาศไว้ภายใต้การนำของท่านอย่างแน่นอน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 พ.ย. 2549--จบ--