1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 6 ของโลก รองจาก สหรัฐฯ เยอรมนี จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ
โดยมีมูลค่าการนำเข้า 455,661.440 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.86 ปี 2548
2. แหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม — มีนาคม 2549
- จีน มูลค่า 27,653.955 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 20.06 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37
- สหรัฐฯ มูลค่า 16,390.469 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.89 เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.57
- ซาอุดิฯ มูลค่า 8,911.224 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 6.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.84
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มูลค่า 7,554.059 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 5.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.22
ไทยอยู่อันดับที่ 10 มูลค่า 3,927.766 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 2.85 ลดลงร้อยละ 1.60
3. ดุลการค้าประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าในเดือนมกราคม-มีนาคม 2549 เป็นมูลค่า 13,245.702
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 42.13 ดังตัวอย่างสถิติต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่นเดือนมกราคม - มีนาคม 2549
ลำดับที่ ประเทศ 2547 2548 2549 อัตราการเปลี่ยนแปลง(%)
มูลค่า: ล้านเหรียญ สหรัฐ 48/47 49/48
ทั่วโลก 27,981.45 22,890.15 13,245.70 -18.20 -42.13
1 สหรัฐฯ 15,585.30 17,415.10 18,008.72 11.74 3.41
2 ซาอุดิอาระเบีย -3,172.44 -4,799.11 -7,884.15 51.28 64.28
3 ฮ่องกง 7,899.56 7,988.14 7,752.64 1.12 -2.95
4 จีน -4,694.49 -8,071.26 -7,347.64 71.93 -8.97
5 สหรัฐอาหรับฯ -2,924.97 -3,936.72 -6,071.32 34.59 54.22
17 ไทย 1,313.14 1,648.03 1,424.18 25.50 -13.58
ที่มา : WTA Japan Customs
4. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 13.07 ของ
มูลค่าการส่งออกโดยรวมในเดือนมกราคม - มีนาคม 2549 หรือมูลค่า 3,863.96 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 คิดเป็นร้อยละ 21.24 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 18,187 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่นปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.) 35 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 70.70 ของ
มูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 80 2 รายการ สินค้าที่มี
มูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการ
ดังสถิติต่อไปนี้
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % สัดส่วน: ร้อยละ2549
ตลาด ม.ค.-มี.ค48 ม.ค.-มี.ค49 เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง 2548 ม.ค-มี.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 80 มี 2 รายการ
- ผลิตภัณฑ์เซรามิก 24 25.22 50.18 24.96 98.99 1.03 1.30
- เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 26 24.95 47.02 22.07 88.41 1.10 1.22
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 50 มี 1 รายการ
- ยางพารา 2 167.06 257.19 90.13 53.95 5.02 6.66
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลงมากกว่า
ร้อยละ 30 มี 1 รายการ
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 18 97.91 67.15 -30.76 -31.42 2.25 1.74
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
1) ผลิตภัณฑ์เซรามิก (HS 69) CERAMIC PRODUCTS
- การนำเข้าของญี่ปุ่นจากตลาดโลก (ม.ค-มี.ค. 49) มูลค่า 244.404 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 ในช่วงไตรมาสแรก 2549 โดยนำเข้าจาก จีน สหรัฐฯ และเยอรมนี
เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ4.68 มูลค่า 11.440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 5.77
2) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (HS 8407-09)
- PISTON ENGINS,INT COM / COMPRESSION-IGNITION/PARTS ENGNS 8407/08
การนำเข้าของญี่ปุ่นจากตลาดโลก (ม.ค-มี.ค. 49) มูลค่า 507.745 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
25.01 ในช่วงไตรมาสแรก 2549 โดยนำเข้าจาก จีน สหรัฐฯ และเยอรมนี เป็นหลัก ส่วนการนำเข้า
จากไทยอยู่อันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 4.44 มูลค่า 22.528 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72
3) ยางพารา (HS 4001) NATURAL RUBBER
- การนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่น (ม.ค-มี.ค. 49) มูลค่า 426.393 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.63 มีการนำเข้าจาก ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นหลัก
- การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 58.43 มูลค่า 249.120 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.98 ในขณะที่การนำเข้าจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.44 และ 111.75
ตามลำดับ
6. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย — ญี่ปุ่น
6.1 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 องค์การค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JETRO) ได้เผยแพร่
รายงานการสำรวจประจำปีเกี่ยวกับข้อคิดเห็นของนักลงทุนญี่ปุ่นภูมิภาคเอเซีย อาทิ อาเซียน (อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม) และ อินเดีย นักลงทุนในภูมิภาคนี้ต่างลงความเห็นว่าไทย
และเวียดนามเป็นประเทศที่มีสภาวะแวดล้อมที่น่าลงทุนมากกว่าประเทศอื่น อุตสาหกรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นเห็นว่า
มีความเหมาะสมในการลงทุนที่ประเทศไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือ-อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร-พาหนะเพื่อการขนส่งและอุตสาหกรรม
การผลิตพลาสติก เป็นต้น
6.2 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปสงค์
และอุปทานของภาคเอกชน ซึ่งนับเป็นการฟื้นตัวระยะยาวของญี่ปุ่นหลังจากเกิดภาวะฟองสบู่และปัญหาการ
ชะงักงันทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าในปี 2549 ญี่ปุ่นจะก้าวข้ามภาวะเงินฝืดและเติบโตอย่าง
มีเสถียรภาพในอัตราร้อยละ 2.3 ทำให้แนวโน้มการบริโภคและการลงทุนเติบโตอย่างต่อเนื่องนอกจาก
เศรษฐกิจในประเทศแล้วการส่งออกสินค้าและบริการยังมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูง เนื่องจากการเติบโต
ของจีน สหรัฐฯ และประเทศ Emerging Economies ประกอบกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นสิ้นสุดภาวะเงินฝืดและ
คาดว่าปีงบประมาณ 2550 ธนาคารกลางของญี่ปุ่นอาจยกเลิกนโยบาย ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ศูนย์และหัน
มาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น
6.3 ญี่ป่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนอันดับสองของไทย รองจากสหรัฐฯ ดังนั้นการเติบโตทาง
เศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าจึงน่าจะส่งผลดีต่อการค้าไทย ทั้งนี้สินค้าส่งออกของ
ไทยที่มีการขยายตัวได้ดีในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางพารา
รถยนต์และส่วนประกอบ เลนซ์กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์
อลูมิเนียม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องโทรศัพท์/โทรสาร ในอนาคตปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการค้าไทย-ญี่ปุ่น
คือข้อตกลงหุ้นส่วนไทย-ญี่ปุ่น (JTEP) ที่ครอบคลุมการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวิภาคไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งจะสามารถ
ช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเป็นจำนวนมาก
6.4 ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภาเมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ 2549 ส่งผลในการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA) จำเป็น
ต้องเลื่อนจากวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมาออกไปอย่างไม่มีกำหนด ในขณะที่การะทรวงเศรษฐกิจการค้าและ
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น(เมติ) แสดงท่าทีปฏิเสธที่จะลงนามความร่วมมือด้านการค้า-การลงทุน เพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถภายใต้กรอบ JTEPA ซึ่งมีทั้งหมด 7 โครงการ ประกอบด้วย
- โครงการครัวไทยสู่โลก
- โครงการอุตสาหกรรมเหล็ก
- โครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์
- โครงการอนุรักษ์พลังงาน
- โครงการเศรษฐกิจสร้างมูลค่า
- โครงการหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน (PPP)
- โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นให้เหตุผลว่า การดำเนินการโครงการทั้งหมดเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง
ภาคเอกชนทั้งสองฝ่าย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งนี้รัฐาลไทยจะต้องเร่งดำเนินการร่วมกับภาค
เอกชนเพื่อหาวิธีแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว
ที่มา: http://www.depthai.go.th