กรุงเทพ--6 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย ราล์ฟ แอล บอยซ์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และนายสมิทธิ์ ธรรมสโรช ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยและสหรัฐฯ เข้าร่วมพิธีปล่อยทุ่นเตือนภัยสึนามิทุ่นแรกในมหาสมุทรอินเดีย ณ ท่าเรือแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต
โครงการระบบเตือนภัยล่วงหน้านี้ เป็นโครงการความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (U.S. Indian Ocean Tsunami Warning System-IOTWS) โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ (USAID) และองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (U.S. National Oceanic and Atmospheric Administration- NOAA) ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะร่วมกันควบคุมและดูแลบำรุงรักษาโครงการต่อไป
นายนิตย์ฯ ได้กล่าวในพิธีฯ ว่า ระบบดังกล่าวจะช่วยเตือนภัยให้ประชาชนมีเวลาเพียงพอที่จะเคลื่อนย้ายไปในที่ปลอดภัย นอกจากนั้น ระบบเตือนภัยล่วงหน้าควรจะต้องทำงานเชื่อมกันทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ซึ่งในเรื่องนี้ ประเทศไทยได้ลงนามสำหรับความร่วมมือในลำดับต่อไป กับหน่วยงานของสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญยิ่ง
นอกจากนี้ นายนิตย์ฯ กล่าวว่า กองทุนจำนวน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยการริเริ่มของไทย เพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิ ซึ่งหลายภาคส่วนได้ร่วมกันบริจาคนั้น ได้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างทักษะเรื่องระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคนี้ ซึ่งโครงการนี้สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian disaster preparedness center) UN ESCAP และหน่วยงานอื่นๆ
นายนิตย์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยได้หารือกับ UN และ World Food Program ถึงการจัดตั้ง Emergency Preparedness and Response Facility ในประเทศไทยซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียงความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยในปัจจุบัน UN’s Central Emergency Response Fund ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2549 เพื่อให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติในที่ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อเดือนธันวาคม 2547 บุคคลสำคัญของโลกหลายท่าน ได้เดินทางมาประเทศไทย เช่น นายจอร์ช บุช และนายบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งเดินทางมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 และเมื่อวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549 นายบิล คลินตัน ได้เดินทางมาจังหวัดภูเก็ตอีกครั้ง เพื่อเยี่ยมโครงการฟื้นฟูชุมชนต่างๆ และเปิดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน (Mangroves for the Future project) และก่อนหน้านั้น นายจิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกท่านหนึ่ง ก็ได้เดินทางมาเยือนไทยเพื่อเยี่ยมโครงการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนด้วย (Habitat for Humanity project)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย ราล์ฟ แอล บอยซ์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และนายสมิทธิ์ ธรรมสโรช ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยและสหรัฐฯ เข้าร่วมพิธีปล่อยทุ่นเตือนภัยสึนามิทุ่นแรกในมหาสมุทรอินเดีย ณ ท่าเรือแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต
โครงการระบบเตือนภัยล่วงหน้านี้ เป็นโครงการความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (U.S. Indian Ocean Tsunami Warning System-IOTWS) โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ (USAID) และองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (U.S. National Oceanic and Atmospheric Administration- NOAA) ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะร่วมกันควบคุมและดูแลบำรุงรักษาโครงการต่อไป
นายนิตย์ฯ ได้กล่าวในพิธีฯ ว่า ระบบดังกล่าวจะช่วยเตือนภัยให้ประชาชนมีเวลาเพียงพอที่จะเคลื่อนย้ายไปในที่ปลอดภัย นอกจากนั้น ระบบเตือนภัยล่วงหน้าควรจะต้องทำงานเชื่อมกันทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ซึ่งในเรื่องนี้ ประเทศไทยได้ลงนามสำหรับความร่วมมือในลำดับต่อไป กับหน่วยงานของสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญยิ่ง
นอกจากนี้ นายนิตย์ฯ กล่าวว่า กองทุนจำนวน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยการริเริ่มของไทย เพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิ ซึ่งหลายภาคส่วนได้ร่วมกันบริจาคนั้น ได้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างทักษะเรื่องระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคนี้ ซึ่งโครงการนี้สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian disaster preparedness center) UN ESCAP และหน่วยงานอื่นๆ
นายนิตย์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยได้หารือกับ UN และ World Food Program ถึงการจัดตั้ง Emergency Preparedness and Response Facility ในประเทศไทยซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียงความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยในปัจจุบัน UN’s Central Emergency Response Fund ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2549 เพื่อให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติในที่ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อเดือนธันวาคม 2547 บุคคลสำคัญของโลกหลายท่าน ได้เดินทางมาประเทศไทย เช่น นายจอร์ช บุช และนายบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งเดินทางมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 และเมื่อวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549 นายบิล คลินตัน ได้เดินทางมาจังหวัดภูเก็ตอีกครั้ง เพื่อเยี่ยมโครงการฟื้นฟูชุมชนต่างๆ และเปิดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน (Mangroves for the Future project) และก่อนหน้านั้น นายจิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกท่านหนึ่ง ก็ได้เดินทางมาเยือนไทยเพื่อเยี่ยมโครงการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนด้วย (Habitat for Humanity project)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-