กรุงเทพ--31 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุม International Conference on New or Restored Democracies (ICNRD) ครั้งที่ 6 ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม- 1 พฤศจิกายน 2549 ภายหลังการเยือนบาห์เรน ซึ่ง ICNRD เป็นการประชุมระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนาประชาธิปไตย
ซึ่งจัดขึ้นประมาณ 3 ปี/ครั้ง โดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ ประเทศเจ้าภาพหมุนเวียนตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ครั้งที่ 1 ที่ฟิลิปปินส์ในปี 2531 ครั้งที่ 2 นิการากัวในปี 2537 ครั้งที่ 3 โรมาเนียในปี 2540 ครั้งที่ 4 เบนิน ในปี 2543 และครั้งที่ 5 คือ มองโกเลียในปี 2546 และนับตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 5 เป็นต้นมา นอกจากการประชุมปกติเฉพาะในส่วนภาครัฐแล้ว ยังได้จัดการประชุมคู่ขนานอีก 2 เวทีคือ การประชุมของภาครัฐสภาและภาคประชาสังคมรวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของภาคีทั้งสามฝ่ายในวันสุดท้ายของการประชุมด้วย
2. ICNRD-6 มีผู้แทนกว่า 900 คนเข้าร่วมจาก 159 ประเทศจากทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในทุกภูมิภาค โดยเป็นผู้แทนระดับสูงจากทั้งภาครัฐบาล ภาครัฐสภาและภาคประชาสังคม และมีประเทศที่มีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจำนวนกว่า 33 ประเทศ เช่น เบลเยียม อินเดีย เกาหลีใต้ เยเมน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โมร็อกโก มองโกเลีย บังเกเรีย มาลี และไทย
3. พิธีเปิดการประชุม
3.1 พิธีเปิดการประชุมมีขึ้นเมื่อค่ำวันที่ 29 ตุลาคม 2549 โดยมี His Excellency Sheikh Hamad Bin Jassim Bin Jabr Al-Thani รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศกาตาร์เป็นประธาน ผู้แทนระดับสูงที่ได้รับเชิญพิเศษให้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิด ได้แก่นาย Nyamaa Enkhbold รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของมองโกเลียในฐานะประธานคนก่อน Sheika Haya Rashed Al Khalifa ประธานสมัชชาสหประชาชาติ ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ นาย Anders Johnson เลขาธิการสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter-Parliamentary Union- IPU) และผู้แทนกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศเพื่อประชาธิปไตย
3.2 สาระของถ้อยแถลงของบุคคลสำคัญต่างๆ ข้างต้นมีประเด็นที่เห็นร่วมกัน ดังนี้
(1) เน้นวิวัฒนาการของ ICNRD ซึ่งนับตั้งแต่ประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2531 และมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพียง 33 ประเทศ ก็ได้ทวีความสำคัญและมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้นถึง 159 ประเทศ หรือ 2/3 ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ เพราะ ICNRD ได้กลายเป็นกระบวนการหลักที่สำคัญกระบวนการหนึ่งในโลกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติและภาคีทุกฝ่ายและมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยทั่วโลก
(2) สนับสนุนและเน้นความสำคัญของการที่ ICNRD เป็นกระบวนการเดียวที่มีลักษณะไตรภาคีโดยจัดการประชุมคู่ขนาน 3 ภาค คือ ภาครัฐบาล ภาครัฐสภาและภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและหารือระหว่างทั้ง 3 ภาค
(3) ย้ำว่าหลักการของประชาธิปไตยจะเป็นสากล และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นระบบการปกครองที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุด แต่ประชาธิปไตยมิได้มีรูปแบบเดียว และการสร้างกระบวนการประชาธิปไตยต้องอาศัยเวลา ความอดทน ความเป็นผู้นำ รวมทั้งการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนต้องถือกำเนิดจากประชาชนของประเทศนั้น ไม่ใช่เรื่องของการนำเข้า (import) ส่งออก (export) หรือการยัดเยียด (impose)
(4) ค่านิยมพื้นฐานของประชาธิปไตยคือ การมีส่วนร่วม (representation) การเลือกผู้แทน ความโปร่งใส หลักนิติธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
(5) เน้นการแก้ไขปัญหาความท้าทายของประชาธิปไตย เช่น การก่อการร้าย ปัญหาการสู้รบด้วยกำลังอาวุธ ปัญหา corruption การที่ประชาชนมิได้รับผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์อย่างทั่วถึงหรือได้รับผลกระทบในด้านลบ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น
(6) เน้นความสำคัญของหัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้คือ การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อประชาธิปไตย สันติภาพและความก้าวหน้าทางสังคม
3.3 บทบาทของผู้แทนไทย
รมช.กต.ของไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไปในวันแรกของการประชุมของภาครัฐ คือ วันที่ 30 ตุลาคม 2549 (ตามที่แนบ)
1) เน้นความสำคัญและความท้าทายของประชาธิปไตย ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่าเป็นกรอบในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนที่ประกันเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ดี การสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งนั้น ยังคงเป็นความท้าทายที่ประเทศจำนวนมากประสบ
2) ยืนยันความยึดมั่นของไทยต่อหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการที่ไทยเคยเป็นและจะยังคงสังคมเปิดซึ่งการเคารพเสรีภาพและสิทธิพื้นฐานถือเป็นเสาหลักของสังคมไทย และแม้ว่าไทยเองก็จะประสบกับความท้าทายในการพัฒนาประชาธิปไตยเช่นเดียวกับหลายประเทศ แต่ขอไม่มีข้อสงสัยถึงท่าทีไทยที่ยึดมั่นต่อค่านิยมประชาธิปไตย
3) เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 เกิดขึ้นภายใต้สภาวการณ์และสถานการณ์เฉพาะและมิได้เปลี่ยนค่านิยมประชาธิปไตยที่ฝั่งรากลึกในวัฒนธรรมทางการเมืองและวิถีชีวิตของสังคมไทยบางครั้งประชาธิปไตยอาจถูกกระทบ (disrupted) ได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่มีความอดกลั้น (resilient) และจะยังคงยึดมั่นเส้นทางประชาธิปไตยต่อไป
4) แจ้งพัฒนาการทางการเมืองในไทยนับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 ซึ่งพยายามมีการยึดมั่นตามกำหนดเวลาที่วางไว้ และมีความคืบหน้าในหลายด้าน เช่น การรับรองรัฐธรรมนูญเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 1 ปี การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้ว การจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วและสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ระหว่างการจัดตั้ง
5) เน้นว่าควรต้องมองสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันในบริบทที่ถูกต้อง คือ เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอย่างสมบูรณ์ภายใต้กำหนดเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ภารกิจหลักของรัฐบาลคือ การเตรียมการการปฏิรูปทางการเมืองต่างๆ ที่จำเป็นให้พร้อม สิ่งท้าทายหลักของรัฐบาลคือ จะทำอย่างไรให้ไทยกลับคืนสู่สภาวะปกติและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันประชาธิปไตยโดยเร็วโดยสามารถรักษาความสงบและเสถียรภาพของประเทศได้ ทำอย่างไรจะประกันให้มีประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และทำอย่างไร จึงจะกระตุ้นธรรมาภิบาลทั่วทั้งประเทศ รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลอย่างแข็งขัน ในการนี้ รัฐบาลได้ประกาศที่จะยึดถือในการบริหารราชการ คือ ประหยัด เป็นธรรม โปร่งใส และประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมและสื่อทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประกันว่าเสียงและความเห็นของประชาชนได้รับการสื่อถึงรัฐบาล
6) ยืนยันการสนับสนุนของไทยต่อกระบวนการ ICNRD เน้นว่าประเทศที่ร่วมในขบวนการควรสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งไทยพร้อมจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ และสนับสนุน theme หลักของการประชุมนี้ คือ “capacity-building for democracy, peace and social advancement” นอกจากนี้ ไทยเชื่อว่าค่านิยมประชาธิปไตยมีความเป็นสากล และพร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดำเนินงานร่วมกับกรอบความร่วมมือนี้ เพื่อส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยที่ไทยยึดมั่น
นอกจากนี้ ผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการหารือโต๊ะกลมแบบ interactive dialogue ใน 3 เรื่อง คือ (i) Democracy as a way to eliminate fear, inequality and poverty (ii) Democracy for Peace and Security (iii) Building National and Regional Capacity for Democracy
4. ประโยชน์ของการเข้าร่วมการประชุม ICNRD ของไทย
4.1 ที่ผ่านมา ไทยให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งภายในกรอบ UN คือ ICNRD และนอกกรอบ UN คือMinisterial Meeting of the Community of Democracies เพื่อแสดงถึงความสำคัญที่ไทยให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยและเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนานาประเทศ
4.2 การที่ผู้แทนระดับสูงของไทยเข้าร่วมการประชุม ICNRD-6 นับว่าเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
1) ยืนยันถึงความยึดมั่นของรัฐบาลไทยต่อหลักการประชาธิปไตย รวมทั้ง ถือโอกาสให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในไทยภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และแผนการดำเนินการในอนาคตของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศต่อการเมืองการปกครองในไทย
2) เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาประชาธิปไตยกับผู้แทนประเทศต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประชาธิปไตย
3) ตอบสนองด้วยดีต่อคำเชิญของรัฐบาลกาตาร์ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ICNRD-6 และใช้โอกาสในการเดินทางครั้งนี้จัดพบหารือทวิภาคีกับผู้แทนระดับสูงของบางประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ รมว.กต. โอมาน รมว.กต. โมร็อกโก และรัฐมนตรี State for Federal National Council ของสหรัฐอาหรับเอริเรตส์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุม International Conference on New or Restored Democracies (ICNRD) ครั้งที่ 6 ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม- 1 พฤศจิกายน 2549 ภายหลังการเยือนบาห์เรน ซึ่ง ICNRD เป็นการประชุมระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนาประชาธิปไตย
ซึ่งจัดขึ้นประมาณ 3 ปี/ครั้ง โดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ ประเทศเจ้าภาพหมุนเวียนตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ครั้งที่ 1 ที่ฟิลิปปินส์ในปี 2531 ครั้งที่ 2 นิการากัวในปี 2537 ครั้งที่ 3 โรมาเนียในปี 2540 ครั้งที่ 4 เบนิน ในปี 2543 และครั้งที่ 5 คือ มองโกเลียในปี 2546 และนับตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 5 เป็นต้นมา นอกจากการประชุมปกติเฉพาะในส่วนภาครัฐแล้ว ยังได้จัดการประชุมคู่ขนานอีก 2 เวทีคือ การประชุมของภาครัฐสภาและภาคประชาสังคมรวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของภาคีทั้งสามฝ่ายในวันสุดท้ายของการประชุมด้วย
2. ICNRD-6 มีผู้แทนกว่า 900 คนเข้าร่วมจาก 159 ประเทศจากทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในทุกภูมิภาค โดยเป็นผู้แทนระดับสูงจากทั้งภาครัฐบาล ภาครัฐสภาและภาคประชาสังคม และมีประเทศที่มีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจำนวนกว่า 33 ประเทศ เช่น เบลเยียม อินเดีย เกาหลีใต้ เยเมน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โมร็อกโก มองโกเลีย บังเกเรีย มาลี และไทย
3. พิธีเปิดการประชุม
3.1 พิธีเปิดการประชุมมีขึ้นเมื่อค่ำวันที่ 29 ตุลาคม 2549 โดยมี His Excellency Sheikh Hamad Bin Jassim Bin Jabr Al-Thani รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศกาตาร์เป็นประธาน ผู้แทนระดับสูงที่ได้รับเชิญพิเศษให้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิด ได้แก่นาย Nyamaa Enkhbold รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของมองโกเลียในฐานะประธานคนก่อน Sheika Haya Rashed Al Khalifa ประธานสมัชชาสหประชาชาติ ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ นาย Anders Johnson เลขาธิการสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter-Parliamentary Union- IPU) และผู้แทนกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศเพื่อประชาธิปไตย
3.2 สาระของถ้อยแถลงของบุคคลสำคัญต่างๆ ข้างต้นมีประเด็นที่เห็นร่วมกัน ดังนี้
(1) เน้นวิวัฒนาการของ ICNRD ซึ่งนับตั้งแต่ประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2531 และมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพียง 33 ประเทศ ก็ได้ทวีความสำคัญและมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้นถึง 159 ประเทศ หรือ 2/3 ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ เพราะ ICNRD ได้กลายเป็นกระบวนการหลักที่สำคัญกระบวนการหนึ่งในโลกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติและภาคีทุกฝ่ายและมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยทั่วโลก
(2) สนับสนุนและเน้นความสำคัญของการที่ ICNRD เป็นกระบวนการเดียวที่มีลักษณะไตรภาคีโดยจัดการประชุมคู่ขนาน 3 ภาค คือ ภาครัฐบาล ภาครัฐสภาและภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและหารือระหว่างทั้ง 3 ภาค
(3) ย้ำว่าหลักการของประชาธิปไตยจะเป็นสากล และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นระบบการปกครองที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุด แต่ประชาธิปไตยมิได้มีรูปแบบเดียว และการสร้างกระบวนการประชาธิปไตยต้องอาศัยเวลา ความอดทน ความเป็นผู้นำ รวมทั้งการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนต้องถือกำเนิดจากประชาชนของประเทศนั้น ไม่ใช่เรื่องของการนำเข้า (import) ส่งออก (export) หรือการยัดเยียด (impose)
(4) ค่านิยมพื้นฐานของประชาธิปไตยคือ การมีส่วนร่วม (representation) การเลือกผู้แทน ความโปร่งใส หลักนิติธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
(5) เน้นการแก้ไขปัญหาความท้าทายของประชาธิปไตย เช่น การก่อการร้าย ปัญหาการสู้รบด้วยกำลังอาวุธ ปัญหา corruption การที่ประชาชนมิได้รับผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์อย่างทั่วถึงหรือได้รับผลกระทบในด้านลบ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น
(6) เน้นความสำคัญของหัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้คือ การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อประชาธิปไตย สันติภาพและความก้าวหน้าทางสังคม
3.3 บทบาทของผู้แทนไทย
รมช.กต.ของไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไปในวันแรกของการประชุมของภาครัฐ คือ วันที่ 30 ตุลาคม 2549 (ตามที่แนบ)
1) เน้นความสำคัญและความท้าทายของประชาธิปไตย ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่าเป็นกรอบในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนที่ประกันเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ดี การสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งนั้น ยังคงเป็นความท้าทายที่ประเทศจำนวนมากประสบ
2) ยืนยันความยึดมั่นของไทยต่อหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการที่ไทยเคยเป็นและจะยังคงสังคมเปิดซึ่งการเคารพเสรีภาพและสิทธิพื้นฐานถือเป็นเสาหลักของสังคมไทย และแม้ว่าไทยเองก็จะประสบกับความท้าทายในการพัฒนาประชาธิปไตยเช่นเดียวกับหลายประเทศ แต่ขอไม่มีข้อสงสัยถึงท่าทีไทยที่ยึดมั่นต่อค่านิยมประชาธิปไตย
3) เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 เกิดขึ้นภายใต้สภาวการณ์และสถานการณ์เฉพาะและมิได้เปลี่ยนค่านิยมประชาธิปไตยที่ฝั่งรากลึกในวัฒนธรรมทางการเมืองและวิถีชีวิตของสังคมไทยบางครั้งประชาธิปไตยอาจถูกกระทบ (disrupted) ได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่มีความอดกลั้น (resilient) และจะยังคงยึดมั่นเส้นทางประชาธิปไตยต่อไป
4) แจ้งพัฒนาการทางการเมืองในไทยนับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 ซึ่งพยายามมีการยึดมั่นตามกำหนดเวลาที่วางไว้ และมีความคืบหน้าในหลายด้าน เช่น การรับรองรัฐธรรมนูญเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 1 ปี การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้ว การจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วและสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ระหว่างการจัดตั้ง
5) เน้นว่าควรต้องมองสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันในบริบทที่ถูกต้อง คือ เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอย่างสมบูรณ์ภายใต้กำหนดเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ภารกิจหลักของรัฐบาลคือ การเตรียมการการปฏิรูปทางการเมืองต่างๆ ที่จำเป็นให้พร้อม สิ่งท้าทายหลักของรัฐบาลคือ จะทำอย่างไรให้ไทยกลับคืนสู่สภาวะปกติและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันประชาธิปไตยโดยเร็วโดยสามารถรักษาความสงบและเสถียรภาพของประเทศได้ ทำอย่างไรจะประกันให้มีประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และทำอย่างไร จึงจะกระตุ้นธรรมาภิบาลทั่วทั้งประเทศ รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลอย่างแข็งขัน ในการนี้ รัฐบาลได้ประกาศที่จะยึดถือในการบริหารราชการ คือ ประหยัด เป็นธรรม โปร่งใส และประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมและสื่อทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประกันว่าเสียงและความเห็นของประชาชนได้รับการสื่อถึงรัฐบาล
6) ยืนยันการสนับสนุนของไทยต่อกระบวนการ ICNRD เน้นว่าประเทศที่ร่วมในขบวนการควรสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งไทยพร้อมจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ และสนับสนุน theme หลักของการประชุมนี้ คือ “capacity-building for democracy, peace and social advancement” นอกจากนี้ ไทยเชื่อว่าค่านิยมประชาธิปไตยมีความเป็นสากล และพร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดำเนินงานร่วมกับกรอบความร่วมมือนี้ เพื่อส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยที่ไทยยึดมั่น
นอกจากนี้ ผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการหารือโต๊ะกลมแบบ interactive dialogue ใน 3 เรื่อง คือ (i) Democracy as a way to eliminate fear, inequality and poverty (ii) Democracy for Peace and Security (iii) Building National and Regional Capacity for Democracy
4. ประโยชน์ของการเข้าร่วมการประชุม ICNRD ของไทย
4.1 ที่ผ่านมา ไทยให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งภายในกรอบ UN คือ ICNRD และนอกกรอบ UN คือMinisterial Meeting of the Community of Democracies เพื่อแสดงถึงความสำคัญที่ไทยให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยและเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนานาประเทศ
4.2 การที่ผู้แทนระดับสูงของไทยเข้าร่วมการประชุม ICNRD-6 นับว่าเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
1) ยืนยันถึงความยึดมั่นของรัฐบาลไทยต่อหลักการประชาธิปไตย รวมทั้ง ถือโอกาสให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในไทยภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และแผนการดำเนินการในอนาคตของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศต่อการเมืองการปกครองในไทย
2) เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาประชาธิปไตยกับผู้แทนประเทศต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประชาธิปไตย
3) ตอบสนองด้วยดีต่อคำเชิญของรัฐบาลกาตาร์ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ICNRD-6 และใช้โอกาสในการเดินทางครั้งนี้จัดพบหารือทวิภาคีกับผู้แทนระดับสูงของบางประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ รมว.กต. โอมาน รมว.กต. โมร็อกโก และรัฐมนตรี State for Federal National Council ของสหรัฐอาหรับเอริเรตส์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-