สภาวะทางการเมืองในปัจจุบันยังคงเป็นที่จับตาของประชาชนทั่วไปด้วยความห่วงใยว่า จะเกิดปัญหาความวุ่นวายหรือการเผชิญหน้าในสังคมอีกหรือไม่ แม้ว่าที่ผ่านมาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลจะคลี่คลายบางปัญหาไปได้ (เช่น หวยบนดิน การชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม) แต่ก็ยังคงมีประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นมาทุกสัปดาห์ บทความบนเว็บนี้ได้พยายามเสนอทางออกต่อปัญหาต่างๆ (การแก้ปัญหาน้ำท่วม การจัดทำแผนการคืนอำนาจ การบริหารการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ) สัปดาห์นี้จึงขอหยิบยกประเด็นใหม่ๆ ที่ดูจะเป็นปัญหาขึ้นมา และต้องการการบริหารจัดการโดยเร่งด่วน ก่อนที่ปัญหาเหล่านี้จะสะสมข้ามปีและลุกลามต่อไปได้
๑. ปัญหารัฐธรรมนูญ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น ทำให้ คมช. หรือแม้แต่รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ หรือ ความเกี่ยวข้องได้ เพราะคมช.มีอำนาจในการคัดเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ กรรมาธิการร่างๆในเกือบทุกขั้นตอน และคมช. ร่วมกับรัฐบาลอาจต้องเป็นผู้ตัดสินว่าจะหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดขึ้นมาปรับปรุงอย่างไรก็ได้ ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านสภา หรือ การทำประชามติ
หากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะโยนหินถามทางเป็นระยะๆ โดยไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเหมือนในปัจจุบัน หรือหากมีความเชื่อว่า จะมีการใช้รัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ โอกาสที่จะเกิดความวุ่นวาย และความขัดแย้งจะมีสูงมาก ถึงขั้นที่จะเกิดพันธมิตรใหม่โดยไม่ตั้งใจ ระหว่างกลุ่มประชาธิปไตยกับกลุ่มอำนาจเก่าที่จะต่อต้าน คมช.และรัฐบาลได้
คมช.และรัฐบาลจึงควรประกาศจุดยืนว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่เป็นประชาธิปไตยน้อยกว่าฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีกลไกตรวจสอบที่เข้มแข็ง และการที่ผู้บริหารประเทศโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เพื่อตัดประเด็นการสืบทอดอำนาจ และการกล่าวหาว่าผู้มีอำนาจต้องการให้ประชาธิปไตยไทยถดถอย ทั้งยังจะเป็นการยืนยันว่าการรัฐประหารครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งก่อนๆจริงๆ
๒. ปัญหาคุณทักษิณ คดียุบพรรค กับการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง คุณทักษิณมีความจำเป็นจะต้องเป็นพยานในคดียุบพรรค เพราะเป็นหัวหน้าพรรคในขณะที่การกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดเกิดขึ้น และคุณทักษิณก็มีสิทธิที่จะกลับประเทศไทยเพราะเป็นคนไทย แต่ระเบียบของตุลาการรัฐธรรมนูญได้เปิดช่องให้มีการสืบพยานโดยใช้ระบบ video conference ได้ หากคู่ความร้องขอ เมื่อพรรคไทยรักไทยประกาศเป็นจุดยืนว่า ไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความไม่สงบ พรรคไทยรักไทยก็ควรจะใช้สิทธิตรงนี้ มิใช่ประกาศว่าคุณทักษิณจำเป็นต้องกลับมา ทั้งๆที่รู้ว่าระเบียบเป็นอย่างไร และตัวเองได้แสดงจุดยืนการดำเนินการการเมืองไว้อย่างไร และหากคมช.หรือรัฐบาลเห็นว่า การกลับมาเป็นพยานจะก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงหรือกระทบต่อคดี อัยการก็ควรร้องขอให้ตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาใช้ระเบียบข้อนี้
สำหรับปัญหาคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ที่ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆที่ยังใช้บังคับอยู่นั้น ผมเคยแสดงทัศนะต่อหน้านายกรัฐมนตรีวันที่ท่านเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองไปหารือว่า เป็นอุปสรรคและไม่สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของพรรคการเมืองในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และเห็นว่าควรยกเลิกโดยเร็ว ยิ่งในขณะนี้ก็ได้ตัดสินใจยกเลิกกฎอัยการศึกบางส่วน และการห้ามชุมนุมของประชาชนไปแล้ว อำนาจในการยกเลิกประกาศนี้ก็เป็นของคณะรัฐมนตรี หากเห็นว่ายังมีปัญหาในการที่จะยกเลิก ก็ควรแสดงเหตุผลให้ชัด เช่น เป็นเพราะเกรงว่าพรรคการเมืองบางพรรคจะประชุมยุบตัวองเพื่อหนีคดีและความผิด และน่าจะพิจารณายกเลิกโดยมีเงื่อนไข
๓. ปัญหา ITV คดีทุจริต และการนิรโทษกรรม การฟื้นฟูประชาธิปไตยจะต้องทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เพื่อยืนยันความเป็นนิติรัฐ และ ต้องมีความชัดเจนในการให้ผู้กระทำการใดๆต้องรับผิดชอบ โดยที่คดีทั้งหลายที่เป็นผลพวงมาจาก การทุจริต หรือ ฉ้อฉลเชิงนโยบาย หรือการใช้อำนาจของรัฐบาลเก่า มักมีผลกระทบไปถึงปัญหาความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพราะหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของรัฐกับเอกชน การคลี่คลายปัญหาต่างๆจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
กรณีของ ITV นั้น รัฐบาลจึงควรแยกแยะการแก้ปัญหาทางธุรกิจกับปัญหาทางนโยบายออกจากกัน ปัญหาทางธุรกิจต้องแก้ไปตามสัญญา แต่ในทางนโยบายนั้นเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการทำให้ ITV เป็นสถานีโทรทัศน์ข่าวสารสำหรับประชาชนตามเจตนารมณ์เดิม ไม่ว่าข้อพิพาททางธุรกิจจะเดินต่อไปอย่างไร ขณะเดียวกัน ก็ควรให้ความเป็นธรรมกับพนักงานโดยให้โอกาสคนเหล่านี้พิสูจน์ตัวเองในการสนองเจตนรมณ์ของโทรทัศน์เสรี
สำหรับกรณีอื่นๆ นั้น การเร่งรัดคดีตางๆ จะช่วยทำให้เกิดความเชื่อมั่น และความชัดเจนได้มากขึ้น เช่น กรณีคดีกุหลาบแก้ว เพื่อให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำความผิดจริง โดยองค์ประกอบอะไรบ้าง และแตกต่างกับกรณีการดำเนินธุรกิจของบริษัทอื่นๆที่ถูกร้องเรียนหรือไม่ อย่างไร และไม่ควรใช้วิธีที่กระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณาอยู่ คือการแก้กฎหมายอันเป็นผลให้มีการนิรโทษกรรมกรณีนี้ ก่อนจะมีข้อยุติในทางคดี รัฐบาลน่าจะมีบทเรียนจากปัญหาหวยบนดินที่ผ่านมา
๔. ปัญหาเศรษฐกิจและนโยบาย เสถียรภาพทางการเมืองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสภาวะเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพในการบริหารนโยบาย การตอบสนองความต้องการ หรือ การแก้ไขปัญหาของประชาชนของรัฐบาลนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับรัฐบาลก่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลจึงควรเร่งรัดและให้คำตอบในเรื่องต่างๆ เหล่านี้
- การบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมและปัญหาของเกษตรกร ที่มีความรู้สึกโดยทั่วไปว่ารัฐบาลน่าจะแสดงออกถึงความกระตือรือร้นและเร่งรัดการให้เงินช่วยเหลือได้มากกว่านี้ นอกจากนี้ภาพการแก้ปัญหาราคาพืชผลที่ตกต่ำก็ยังขาดความชัดเจน
- ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะกระทบต่อการรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า โดยเฉพาะผลกระทบต่อการส่งออก นอกจากปัญหาระดับของค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมาถึง ๓๕-๓๖ บาทต่อเหรียญสหรัฐแล้ว ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการจัดการด้วย เป็นที่ชัดเจนว่า การเข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านมาไม่สัมฤทธิผล และมาตรการที่ไล่ตามอุดช่องการเก็งกำไรที่ทำอยู่ก็คงจะไม่เพียงพอ และผู้เก็งกำไรก็จะแสวงหาช่องทางใหม่ๆอีก เป็นเรื่องแปลกที่ทางการกลับปฏิเสธการใช้นโยบายที่เป็นสากลและสมเหตุสมผลที่สุด คือ การลดดอกเบี้ย ทั้งๆที่ นโยบายนี้จะช่วยประคับประคองการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ และไม่น่ามีผลกระทบต่อการควบคุมเงินเฟ้อ เพราะที่ผ่านมาปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่เกิดจากด้านต้นทุน การตัดสินใจลดดอกเบี้ยจึงควรกระทำโดยเร็ว และไม่เป็นการหย่อนวินัยทางการเงินแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นนโยบายอื่นๆนั้น นอกเหนือจากที่ได้เสนอในบทความก่อนๆแล้ว รัฐบาล
ควรแสดงความชัดเจนเรื่องงบประมาณ โดยเฉพาะความเพียงพอในบางโครงการ เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วม ในขณะที่กองทัพกลับได้รับงบประมาณเพิ่มในสัดส่วนที่สูงมาก (กว่า ๓๐%)
ทั้งหมดนี้จึงเป็นโจทย์สำคัญที่รอการแก้ไขโดยเร่งด่วนจากรัฐบาล และคมช.เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ด้วยความมั่นใจและราบรื่น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ธ.ค. 2549--จบ--
๑. ปัญหารัฐธรรมนูญ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น ทำให้ คมช. หรือแม้แต่รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ หรือ ความเกี่ยวข้องได้ เพราะคมช.มีอำนาจในการคัดเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ กรรมาธิการร่างๆในเกือบทุกขั้นตอน และคมช. ร่วมกับรัฐบาลอาจต้องเป็นผู้ตัดสินว่าจะหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดขึ้นมาปรับปรุงอย่างไรก็ได้ ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านสภา หรือ การทำประชามติ
หากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะโยนหินถามทางเป็นระยะๆ โดยไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเหมือนในปัจจุบัน หรือหากมีความเชื่อว่า จะมีการใช้รัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ โอกาสที่จะเกิดความวุ่นวาย และความขัดแย้งจะมีสูงมาก ถึงขั้นที่จะเกิดพันธมิตรใหม่โดยไม่ตั้งใจ ระหว่างกลุ่มประชาธิปไตยกับกลุ่มอำนาจเก่าที่จะต่อต้าน คมช.และรัฐบาลได้
คมช.และรัฐบาลจึงควรประกาศจุดยืนว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่เป็นประชาธิปไตยน้อยกว่าฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีกลไกตรวจสอบที่เข้มแข็ง และการที่ผู้บริหารประเทศโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เพื่อตัดประเด็นการสืบทอดอำนาจ และการกล่าวหาว่าผู้มีอำนาจต้องการให้ประชาธิปไตยไทยถดถอย ทั้งยังจะเป็นการยืนยันว่าการรัฐประหารครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งก่อนๆจริงๆ
๒. ปัญหาคุณทักษิณ คดียุบพรรค กับการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง คุณทักษิณมีความจำเป็นจะต้องเป็นพยานในคดียุบพรรค เพราะเป็นหัวหน้าพรรคในขณะที่การกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดเกิดขึ้น และคุณทักษิณก็มีสิทธิที่จะกลับประเทศไทยเพราะเป็นคนไทย แต่ระเบียบของตุลาการรัฐธรรมนูญได้เปิดช่องให้มีการสืบพยานโดยใช้ระบบ video conference ได้ หากคู่ความร้องขอ เมื่อพรรคไทยรักไทยประกาศเป็นจุดยืนว่า ไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความไม่สงบ พรรคไทยรักไทยก็ควรจะใช้สิทธิตรงนี้ มิใช่ประกาศว่าคุณทักษิณจำเป็นต้องกลับมา ทั้งๆที่รู้ว่าระเบียบเป็นอย่างไร และตัวเองได้แสดงจุดยืนการดำเนินการการเมืองไว้อย่างไร และหากคมช.หรือรัฐบาลเห็นว่า การกลับมาเป็นพยานจะก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงหรือกระทบต่อคดี อัยการก็ควรร้องขอให้ตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาใช้ระเบียบข้อนี้
สำหรับปัญหาคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ที่ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆที่ยังใช้บังคับอยู่นั้น ผมเคยแสดงทัศนะต่อหน้านายกรัฐมนตรีวันที่ท่านเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองไปหารือว่า เป็นอุปสรรคและไม่สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของพรรคการเมืองในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และเห็นว่าควรยกเลิกโดยเร็ว ยิ่งในขณะนี้ก็ได้ตัดสินใจยกเลิกกฎอัยการศึกบางส่วน และการห้ามชุมนุมของประชาชนไปแล้ว อำนาจในการยกเลิกประกาศนี้ก็เป็นของคณะรัฐมนตรี หากเห็นว่ายังมีปัญหาในการที่จะยกเลิก ก็ควรแสดงเหตุผลให้ชัด เช่น เป็นเพราะเกรงว่าพรรคการเมืองบางพรรคจะประชุมยุบตัวองเพื่อหนีคดีและความผิด และน่าจะพิจารณายกเลิกโดยมีเงื่อนไข
๓. ปัญหา ITV คดีทุจริต และการนิรโทษกรรม การฟื้นฟูประชาธิปไตยจะต้องทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เพื่อยืนยันความเป็นนิติรัฐ และ ต้องมีความชัดเจนในการให้ผู้กระทำการใดๆต้องรับผิดชอบ โดยที่คดีทั้งหลายที่เป็นผลพวงมาจาก การทุจริต หรือ ฉ้อฉลเชิงนโยบาย หรือการใช้อำนาจของรัฐบาลเก่า มักมีผลกระทบไปถึงปัญหาความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพราะหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของรัฐกับเอกชน การคลี่คลายปัญหาต่างๆจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
กรณีของ ITV นั้น รัฐบาลจึงควรแยกแยะการแก้ปัญหาทางธุรกิจกับปัญหาทางนโยบายออกจากกัน ปัญหาทางธุรกิจต้องแก้ไปตามสัญญา แต่ในทางนโยบายนั้นเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการทำให้ ITV เป็นสถานีโทรทัศน์ข่าวสารสำหรับประชาชนตามเจตนารมณ์เดิม ไม่ว่าข้อพิพาททางธุรกิจจะเดินต่อไปอย่างไร ขณะเดียวกัน ก็ควรให้ความเป็นธรรมกับพนักงานโดยให้โอกาสคนเหล่านี้พิสูจน์ตัวเองในการสนองเจตนรมณ์ของโทรทัศน์เสรี
สำหรับกรณีอื่นๆ นั้น การเร่งรัดคดีตางๆ จะช่วยทำให้เกิดความเชื่อมั่น และความชัดเจนได้มากขึ้น เช่น กรณีคดีกุหลาบแก้ว เพื่อให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำความผิดจริง โดยองค์ประกอบอะไรบ้าง และแตกต่างกับกรณีการดำเนินธุรกิจของบริษัทอื่นๆที่ถูกร้องเรียนหรือไม่ อย่างไร และไม่ควรใช้วิธีที่กระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณาอยู่ คือการแก้กฎหมายอันเป็นผลให้มีการนิรโทษกรรมกรณีนี้ ก่อนจะมีข้อยุติในทางคดี รัฐบาลน่าจะมีบทเรียนจากปัญหาหวยบนดินที่ผ่านมา
๔. ปัญหาเศรษฐกิจและนโยบาย เสถียรภาพทางการเมืองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสภาวะเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพในการบริหารนโยบาย การตอบสนองความต้องการ หรือ การแก้ไขปัญหาของประชาชนของรัฐบาลนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับรัฐบาลก่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลจึงควรเร่งรัดและให้คำตอบในเรื่องต่างๆ เหล่านี้
- การบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมและปัญหาของเกษตรกร ที่มีความรู้สึกโดยทั่วไปว่ารัฐบาลน่าจะแสดงออกถึงความกระตือรือร้นและเร่งรัดการให้เงินช่วยเหลือได้มากกว่านี้ นอกจากนี้ภาพการแก้ปัญหาราคาพืชผลที่ตกต่ำก็ยังขาดความชัดเจน
- ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะกระทบต่อการรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า โดยเฉพาะผลกระทบต่อการส่งออก นอกจากปัญหาระดับของค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมาถึง ๓๕-๓๖ บาทต่อเหรียญสหรัฐแล้ว ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการจัดการด้วย เป็นที่ชัดเจนว่า การเข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านมาไม่สัมฤทธิผล และมาตรการที่ไล่ตามอุดช่องการเก็งกำไรที่ทำอยู่ก็คงจะไม่เพียงพอ และผู้เก็งกำไรก็จะแสวงหาช่องทางใหม่ๆอีก เป็นเรื่องแปลกที่ทางการกลับปฏิเสธการใช้นโยบายที่เป็นสากลและสมเหตุสมผลที่สุด คือ การลดดอกเบี้ย ทั้งๆที่ นโยบายนี้จะช่วยประคับประคองการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ และไม่น่ามีผลกระทบต่อการควบคุมเงินเฟ้อ เพราะที่ผ่านมาปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่เกิดจากด้านต้นทุน การตัดสินใจลดดอกเบี้ยจึงควรกระทำโดยเร็ว และไม่เป็นการหย่อนวินัยทางการเงินแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นนโยบายอื่นๆนั้น นอกเหนือจากที่ได้เสนอในบทความก่อนๆแล้ว รัฐบาล
ควรแสดงความชัดเจนเรื่องงบประมาณ โดยเฉพาะความเพียงพอในบางโครงการ เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วม ในขณะที่กองทัพกลับได้รับงบประมาณเพิ่มในสัดส่วนที่สูงมาก (กว่า ๓๐%)
ทั้งหมดนี้จึงเป็นโจทย์สำคัญที่รอการแก้ไขโดยเร่งด่วนจากรัฐบาล และคมช.เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ด้วยความมั่นใจและราบรื่น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ธ.ค. 2549--จบ--