คำถาม : อยากทราบสถานะล่าสุดของเวียดนามก่อนเข้าเป็นสมาชิก WTO
คำตอบ : เวียดนามกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) อย่างเป็นทางการภายในสิ้นปี 2549 หลังจากที่สมัครเป็นสมาชิก WTO มาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ เวียดนามได้ดำเนินการเจรจาระดับทวิภาคี (Bilateral Negotiations for the Accession) กับประเทศสมาชิก WTO จำนวน 28 ประเทศที่แสดงความจำนงขอเปิดการเจรจาด้วยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสมาชิก WTO เพื่อขอเสียงสนับสนุนในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนาม
ในบรรดาประเทศสมาชิก WTO 28 ประเทศที่จะรับรองเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศสุดท้ายที่เวียดนามบรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีด้วย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO หลังจากที่การเจรจาระหว่างสองประเทศยืดเยื้อมานานจนเป็นเหตุให้เวียดนามไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้ทันตามกำหนดการเดิมที่วางไว้ในช่วงปลายปี 2548 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
- เวียดนามยินยอมลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากสหรัฐฯ เหลือไม่เกินร้อยละ 15 อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ เครื่องบินและส่วนประกอบ รถยนต์และอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น รวมทั้งลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจำนวนร้อยละ 75ของรายการสินค้าเกษตรทั้งหมดที่เวียดนามนำเข้าจากสหรัฐฯ เหลืออัตราไม่เกินร้อยละ 15
- เวียดนามยินยอมลดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร และยกเลิกภาษีในภาคบริการ
- เวียดนามยินยอมยกเลิกการอุดหนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในประเทศคิดเป็นมูลค่าการอุดหนุนรวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สหรัฐฯ จะยกเลิกโควตาสิ่งทอและโควตาสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ให้แก่เวียดนามเป็นการตอบแทน
- เวียดนามยินยอมผ่านกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
- เวียดนามจะขยายช่องทางและเปิดโอกาสให้ธุรกิจบริการของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการเงิน ประกันภัย และโทรคมนาคม เข้ามาลงทุนในเวียดนาม
ทั้งนี้ เวียดนามจำเป็นต้องขยายสิทธิพิเศษทางการค้าและบริการที่กล่าวมาทั้งหมดให้กับประเทศสมาชิก WTO ทุกประเทศตามหลักการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) กล่าวคือ ประเทศสมาชิก WTO ต้องให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศสมาชิกอื่นอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ เวียดนามยังจำเป็นต้องปฏิรูปกฎระเบียบต่าง ๆ ทางการค้าให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ WTO รวมทั้งยินยอมเปิดตลาดภายในประเทศ ตลอดจนเพิ่มความโปร่งใสในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพื่อแสดงถึงความพร้อมในการยอมรับเงื่อนไขตามพันธะสัญญาของ WTO ก่อนก้าวสู่เวทีการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ฉบับนี้ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาสหรัฐฯ ก่อนที่สหรัฐฯ จะมอบสถานะความสัมพันธ์ทางการค้าแบบปกติอย่างถาวร (Permanent Normal Trade Relations : PNTR) แก่เวียดนาม ซึ่งจะทำให้เวียดนามได้รับสิทธิภายใต้หลัก MFN ในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีการทบทวนเป็นระยะ ๆ เช่นที่ผ่านมา
การบรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยเกื้อหนุนให้เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเวียดนามคาดหวังว่าจะบรรลุผลสำเร็จก่อนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ประจำปี ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2549 ณ กรุงฮานอย ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามจะเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิก WTO อื่น ๆ สามารถส่งออกสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมทั้งเข้าไปลงทุนในเวียดนามได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเวียดนามก็จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลและจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าและบริการไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดยเฉพาะสิ่งทอ ซึ่งเวียดนามจะสามารถส่งออกได้โดยไม่ถูกจำกัดโควตาอีกต่อไป นอกจากนี้ เวียดนามจะได้รับความสนใจยิ่งขึ้นในฐานะแหล่งดึงดูดการลงทุนที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทยควรจับตามองอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับเวียดนามซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นในเวทีการค้าโลกในไม่ช้านี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : เวียดนามกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) อย่างเป็นทางการภายในสิ้นปี 2549 หลังจากที่สมัครเป็นสมาชิก WTO มาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ เวียดนามได้ดำเนินการเจรจาระดับทวิภาคี (Bilateral Negotiations for the Accession) กับประเทศสมาชิก WTO จำนวน 28 ประเทศที่แสดงความจำนงขอเปิดการเจรจาด้วยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสมาชิก WTO เพื่อขอเสียงสนับสนุนในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนาม
ในบรรดาประเทศสมาชิก WTO 28 ประเทศที่จะรับรองเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศสุดท้ายที่เวียดนามบรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีด้วย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO หลังจากที่การเจรจาระหว่างสองประเทศยืดเยื้อมานานจนเป็นเหตุให้เวียดนามไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้ทันตามกำหนดการเดิมที่วางไว้ในช่วงปลายปี 2548 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
- เวียดนามยินยอมลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากสหรัฐฯ เหลือไม่เกินร้อยละ 15 อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ เครื่องบินและส่วนประกอบ รถยนต์และอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น รวมทั้งลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจำนวนร้อยละ 75ของรายการสินค้าเกษตรทั้งหมดที่เวียดนามนำเข้าจากสหรัฐฯ เหลืออัตราไม่เกินร้อยละ 15
- เวียดนามยินยอมลดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร และยกเลิกภาษีในภาคบริการ
- เวียดนามยินยอมยกเลิกการอุดหนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในประเทศคิดเป็นมูลค่าการอุดหนุนรวมกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สหรัฐฯ จะยกเลิกโควตาสิ่งทอและโควตาสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ให้แก่เวียดนามเป็นการตอบแทน
- เวียดนามยินยอมผ่านกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
- เวียดนามจะขยายช่องทางและเปิดโอกาสให้ธุรกิจบริการของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการเงิน ประกันภัย และโทรคมนาคม เข้ามาลงทุนในเวียดนาม
ทั้งนี้ เวียดนามจำเป็นต้องขยายสิทธิพิเศษทางการค้าและบริการที่กล่าวมาทั้งหมดให้กับประเทศสมาชิก WTO ทุกประเทศตามหลักการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) กล่าวคือ ประเทศสมาชิก WTO ต้องให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศสมาชิกอื่นอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ เวียดนามยังจำเป็นต้องปฏิรูปกฎระเบียบต่าง ๆ ทางการค้าให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ WTO รวมทั้งยินยอมเปิดตลาดภายในประเทศ ตลอดจนเพิ่มความโปร่งใสในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพื่อแสดงถึงความพร้อมในการยอมรับเงื่อนไขตามพันธะสัญญาของ WTO ก่อนก้าวสู่เวทีการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ฉบับนี้ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาสหรัฐฯ ก่อนที่สหรัฐฯ จะมอบสถานะความสัมพันธ์ทางการค้าแบบปกติอย่างถาวร (Permanent Normal Trade Relations : PNTR) แก่เวียดนาม ซึ่งจะทำให้เวียดนามได้รับสิทธิภายใต้หลัก MFN ในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีการทบทวนเป็นระยะ ๆ เช่นที่ผ่านมา
การบรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยเกื้อหนุนให้เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเวียดนามคาดหวังว่าจะบรรลุผลสำเร็จก่อนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ประจำปี ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2549 ณ กรุงฮานอย ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามจะเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิก WTO อื่น ๆ สามารถส่งออกสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมทั้งเข้าไปลงทุนในเวียดนามได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเวียดนามก็จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลและจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าและบริการไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดยเฉพาะสิ่งทอ ซึ่งเวียดนามจะสามารถส่งออกได้โดยไม่ถูกจำกัดโควตาอีกต่อไป นอกจากนี้ เวียดนามจะได้รับความสนใจยิ่งขึ้นในฐานะแหล่งดึงดูดการลงทุนที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทยควรจับตามองอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับเวียดนามซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นในเวทีการค้าโลกในไม่ช้านี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-