พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. - 5 ก.พ. 2549

ข่าวทั่วไป Monday January 30, 2006 14:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 13/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. - 5 ก.พ. 2549
ในช่วงวันที่ 30-31 ม.ค. ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มมากขึ้นหลายพื้นที่ในตอนเช้า ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. จะมีความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้มีอุณหภูมิลดลงและมีอากาศหนาวเย็นลงได้อีก ภาคใต้มีฝนบางแห่ง ถึงเป็นแห่ง ๆ คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 30-31 ม.ค. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีหมอกเพิ่มมากขึ้นหลายพื้นที่ในตอนเช้า ขอให้ผู้เดินทางและผู้ขับขี่ยานพาหนะระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณ ที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือด้วย
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. — 1 ก.พ. มีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้า และอากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศหนาวเกือบทั่วไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. — 1 ก.พ. มีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้า และอากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศหนาวเกือบทั่วไป ลม ตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-30 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้จะมีหมอกเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะด้วย สำหรับเกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ควรดูแลให้น้ำ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 30-31 ม.ค. อุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกในตอนเช้ากับอากาศหนาวทางตอนบนสุดของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม/ชม. ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. อุณหภูมิลดลง 2-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง เว้นแต่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 30-31 ม.ค. อุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกในตอนเช้ากับอากาศหนาวทางตอนบนสุดของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม/ชม. ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. อุณหภูมิลดลง 2-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง เว้นแต่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้าง
กลาง
ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. — 1 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้ากับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป เว้นแต่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. — 1 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้ากับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป เว้นแต่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในระยะนี้ไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ ส่วนแปลงผักควรระวังและป้องกันการระบาดของเชื้อราด้วย
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. — 1 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้ากับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด19-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส เว้นแต่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. — 1 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้ากับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด19-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส เว้นแต่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกน้อย ชาวสวนควรดูแลให้น้ำแก่ผลไม้ที่กำลังติดผลอ่อนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และมีเมฆบางส่วน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ถึงเป็นแห่ง ๆ 10-30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีเมฆบางส่วน ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และมีเมฆบางส่วน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ถึงเป็นแห่ง ๆ 10-30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีเมฆบางส่วน ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้บริเวณตอนบนของภาคมีฝนตกน้อย ดังนั้นชาวสวนควรดูแลให้น้ำแก่พืชโดยเฉพาะกล้าไม้ที่ยังเล็ก รวมทั้งควรจัดทำร่มเงาเพื่อพรางแสงให้ด้วย ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนตก เกษตรกรควรเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้ช่วงที่มีฝนตกน้อยในระยะต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ