โคราชเสี่ยงภัยแล้ง หวั่นน้ำไม่เพียงพอต่อข้าวนาปรัง แนะเกษตรกรงดไถปลูกรอบใหม่ พร้อมรณรงค์ให้หันไปปลูกพืชไร่ที่อายุสั้นและใช้น้ำน้อย
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังภายในจังหวัดนครราชสีมา ปีเพาะปลูก 2549 เพิ่มสูงขึ้น โดยพื้นที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 55,387 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกในเขตชลประทานประมาณ 30,294 ไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทานโดยใช้แหล่งน้ำอื่นในการเพาะปลูกประมาณ 25,093 ไร่ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549) โดยมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ อยู่ที่อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเมือง อำเภอสูงเนิน อำเภอพิมาย และอำเภอชุมพวง โดยพื้นที่ในเขตเพาะปลูกชลประทานส่วนใหญ่จะอาศัยปริมาณน้ำจากเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนมูลบนเป็นหลัก ปริมาณเริ่มลดน้อยลง แต่ยังคงเพียงพอแก่การเจริญเติบโต ถ้าฝนไม่ตกลงมาภายในเดือนเมษายน - มิถุนายน จะทำให้ปริมาณน้ำเริ่มขาดแคลน อาจจะมีผลกระทบต่อข้าวนาปรังที่กำลังออกรวงจะได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ส่วนพื้นที่ที่อาศัยปริมาณน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ น้ำในคลองตามธรรมชาติ และน้ำจากการสูบด้วยไฟฟ้าส่วนใหญ่ปริมาณน้ำลดน้อยลงมาก ทำให้การเจริญเติบโตชะงักลงอย่างเห็นได้ชัด บางพื้นที่ต้นข้าวเริ่มเหี่ยวเฉา แต่ยังไม่มีรายงานพื้นที่เสียหายสิ้นเชิง เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อปัญหาการขาดน้ำอย่างรุนแรงเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา จึงเตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในเขตจังหวัดนครราชสีมา งดการไถปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่ เนื่องจากอาจจะมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าวส่งผลให้ผลผลิตได้รับความเสียหายและอาจไม่ได้ผลทั้งหมด โดยรณรงค์ให้เกษตรกรเหล่านั้นหันไปปลูกพืชไร่ที่มีอายุสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อนและพืชผัก เป็นต้น
สำหรับการปลูกข้าวนาปรังปี 2549 เกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ปลูกข้าวนาปรังเป็นจำนวนมากถึง 14 อำเภอ เนื่องจากราคาข้าวเปลือกอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง หากได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งสามารถแจ้งกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อบต. ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกรในพื้นที่ให้รับทราบ จากนั้นจะได้ประสานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ เพื่อระดมความช่วยเหลือต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังภายในจังหวัดนครราชสีมา ปีเพาะปลูก 2549 เพิ่มสูงขึ้น โดยพื้นที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 55,387 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกในเขตชลประทานประมาณ 30,294 ไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทานโดยใช้แหล่งน้ำอื่นในการเพาะปลูกประมาณ 25,093 ไร่ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549) โดยมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ อยู่ที่อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเมือง อำเภอสูงเนิน อำเภอพิมาย และอำเภอชุมพวง โดยพื้นที่ในเขตเพาะปลูกชลประทานส่วนใหญ่จะอาศัยปริมาณน้ำจากเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนมูลบนเป็นหลัก ปริมาณเริ่มลดน้อยลง แต่ยังคงเพียงพอแก่การเจริญเติบโต ถ้าฝนไม่ตกลงมาภายในเดือนเมษายน - มิถุนายน จะทำให้ปริมาณน้ำเริ่มขาดแคลน อาจจะมีผลกระทบต่อข้าวนาปรังที่กำลังออกรวงจะได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ส่วนพื้นที่ที่อาศัยปริมาณน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ น้ำในคลองตามธรรมชาติ และน้ำจากการสูบด้วยไฟฟ้าส่วนใหญ่ปริมาณน้ำลดน้อยลงมาก ทำให้การเจริญเติบโตชะงักลงอย่างเห็นได้ชัด บางพื้นที่ต้นข้าวเริ่มเหี่ยวเฉา แต่ยังไม่มีรายงานพื้นที่เสียหายสิ้นเชิง เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อปัญหาการขาดน้ำอย่างรุนแรงเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา จึงเตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในเขตจังหวัดนครราชสีมา งดการไถปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่ เนื่องจากอาจจะมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าวส่งผลให้ผลผลิตได้รับความเสียหายและอาจไม่ได้ผลทั้งหมด โดยรณรงค์ให้เกษตรกรเหล่านั้นหันไปปลูกพืชไร่ที่มีอายุสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อนและพืชผัก เป็นต้น
สำหรับการปลูกข้าวนาปรังปี 2549 เกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ปลูกข้าวนาปรังเป็นจำนวนมากถึง 14 อำเภอ เนื่องจากราคาข้าวเปลือกอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง หากได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งสามารถแจ้งกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อบต. ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกรในพื้นที่ให้รับทราบ จากนั้นจะได้ประสานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ เพื่อระดมความช่วยเหลือต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-