แท็ก
ปลาดุก
1.สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 — 23 พ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,654.75 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 779.18 ตัน สัตว์น้ำจืด 855.56 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.56 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 130.9489 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.94 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 70.51 ตัน
การตลาด
ออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งอย่างไม่เป็นธรรม
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี ในฐานะตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่ออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งอย่างไม่เป็นธรรม โดยเจตนากีดกันการค้าว่า จากการที่รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากไทยและประเทศอื่นๆ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 49 เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยของประเทศตนอย่างไม่เป็นธรรม แต่มีเจตนารมณ์ที่เด่นชัดเพื่อกีดกันทางการค้า ในฐานะตัวแทนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศไม่พอใจอย่างยิ่ง และขอ ประณามการกระทำที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว
ทั้งที่ออสเตรเลียเองพยายามประกาศตัวเสมอในเวทีการค้าโลกว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยที่สนับสนุนการค้าเสรี ที่สำคัญไทย— ออสเตรเลีย ก็เพิ่งจะลงนามเปิดเสรีทางการค้า(FTA) ระหว่างกัน มีผลเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 49 แต่ในทางปฏิบัติกลับทำในสิ่งตรงข้าม ใช้มาตรการและ/หรือวิธีทางการค้าสกปรก ได้กำหนดเงื่อนไขทางการค้าอย่างน่ารังเกียจและไม่เป็นธรรม มีความพยายามกล่าวอ้างเกี่ยวกับปัญหาเรื่องโรค ความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล
นายเอกพจน์กล่าวอีกว่า เมื่อเดือน พ.ย.49 รัฐบาลออสเตรเลีย เริ่มต้นด้วยการแสดงความกังวลในปัญหาเรื่องโรค ความปลอดภัยทางชีวภาพ ฯลฯ มีการส่งบันทึกไปยังผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมให้พิจารณาร่างรายงาน การประเมินความเสี่ยงในกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ใน Biosecurity Australia Policy Memorandum 2006/35 เพื่อให้ส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็น โดยกำหนดระยะเวลาที่จะเสนอความเห็น - ข้อมูลได้จนถึงวันที่ 21 ก.พ. 50 แต่ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด รัฐบาลออสเตรเลียกลับประกาศการนำเข้าสินค้ากุ้งโดยปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ฟังเหตุผลใดๆ ตามที่ประกาศไว้ ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ การปฏิบัติต่อชาติอื่นอย่างไร้คุณธรรม ฯลฯ แล้ว ออสเตรเลียยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความพยายามปกป้องอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงกุ้งของตน โดยเฉพาะส่วนที่มีการเลี้ยงมากที่สุดคือรัฐควีนส์แลนด์
ผู้เลี้ยงกุ้งไทยไม่ต้องการถูกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากออสเตรเลีย เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกับสินค้าไก่ ที่ไม่สามารถส่งเข้าไปออสเตรเลียได้ จนถึงทุกวันนี้นับเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพราะต้องเจอกับมาตรการที่เลวร้าย ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ประเทศไทยถือเป็นผู้นำด้านการผลิตกุ้งของโลก มีคุณภาพความปลอดภัยสูง ไม่สมควรได้รับการกีดกันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม และเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียแสดงความจริงใจกับมิตรประเทศ ด้วยการยกเลิกการห้ามนำสินค้ากุ้งเข้าประเทศออสเตรเลียโดยเร็วที่สุด และในวันที่ 6 ธ.ค.49 ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศได้ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลออสเตรเลีย ผ่านทางเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้ประเทศไทยมีการส่งออกกุ้งไปประเทศออสเตรเลีย ในปี 47 มูลค่า 2,075 ล้านบาท ในปี 2548 มูลค่า 2,401 ล้านบาท สำหรับการส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 1,883 ล้านบาท เป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.93 และมูลค่าที่ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2005 ที่ผ่านมา มีปริมาณส่งออกรวม 8,285 ตัน เป็นมูลค่า 1,906 ล้านบาท เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.88 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 134.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4—8 ธ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 4 - 10 ธันวาคม 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 — 23 พ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,654.75 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 779.18 ตัน สัตว์น้ำจืด 855.56 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.56 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 130.9489 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.94 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 70.51 ตัน
การตลาด
ออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งอย่างไม่เป็นธรรม
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี ในฐานะตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่ออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งอย่างไม่เป็นธรรม โดยเจตนากีดกันการค้าว่า จากการที่รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากไทยและประเทศอื่นๆ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 49 เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยของประเทศตนอย่างไม่เป็นธรรม แต่มีเจตนารมณ์ที่เด่นชัดเพื่อกีดกันทางการค้า ในฐานะตัวแทนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศไม่พอใจอย่างยิ่ง และขอ ประณามการกระทำที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว
ทั้งที่ออสเตรเลียเองพยายามประกาศตัวเสมอในเวทีการค้าโลกว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยที่สนับสนุนการค้าเสรี ที่สำคัญไทย— ออสเตรเลีย ก็เพิ่งจะลงนามเปิดเสรีทางการค้า(FTA) ระหว่างกัน มีผลเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 49 แต่ในทางปฏิบัติกลับทำในสิ่งตรงข้าม ใช้มาตรการและ/หรือวิธีทางการค้าสกปรก ได้กำหนดเงื่อนไขทางการค้าอย่างน่ารังเกียจและไม่เป็นธรรม มีความพยายามกล่าวอ้างเกี่ยวกับปัญหาเรื่องโรค ความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล
นายเอกพจน์กล่าวอีกว่า เมื่อเดือน พ.ย.49 รัฐบาลออสเตรเลีย เริ่มต้นด้วยการแสดงความกังวลในปัญหาเรื่องโรค ความปลอดภัยทางชีวภาพ ฯลฯ มีการส่งบันทึกไปยังผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมให้พิจารณาร่างรายงาน การประเมินความเสี่ยงในกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ใน Biosecurity Australia Policy Memorandum 2006/35 เพื่อให้ส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็น โดยกำหนดระยะเวลาที่จะเสนอความเห็น - ข้อมูลได้จนถึงวันที่ 21 ก.พ. 50 แต่ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด รัฐบาลออสเตรเลียกลับประกาศการนำเข้าสินค้ากุ้งโดยปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ฟังเหตุผลใดๆ ตามที่ประกาศไว้ ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ การปฏิบัติต่อชาติอื่นอย่างไร้คุณธรรม ฯลฯ แล้ว ออสเตรเลียยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความพยายามปกป้องอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงกุ้งของตน โดยเฉพาะส่วนที่มีการเลี้ยงมากที่สุดคือรัฐควีนส์แลนด์
ผู้เลี้ยงกุ้งไทยไม่ต้องการถูกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากออสเตรเลีย เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกับสินค้าไก่ ที่ไม่สามารถส่งเข้าไปออสเตรเลียได้ จนถึงทุกวันนี้นับเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพราะต้องเจอกับมาตรการที่เลวร้าย ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ประเทศไทยถือเป็นผู้นำด้านการผลิตกุ้งของโลก มีคุณภาพความปลอดภัยสูง ไม่สมควรได้รับการกีดกันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม และเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียแสดงความจริงใจกับมิตรประเทศ ด้วยการยกเลิกการห้ามนำสินค้ากุ้งเข้าประเทศออสเตรเลียโดยเร็วที่สุด และในวันที่ 6 ธ.ค.49 ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศได้ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลออสเตรเลีย ผ่านทางเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้ประเทศไทยมีการส่งออกกุ้งไปประเทศออสเตรเลีย ในปี 47 มูลค่า 2,075 ล้านบาท ในปี 2548 มูลค่า 2,401 ล้านบาท สำหรับการส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 1,883 ล้านบาท เป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.93 และมูลค่าที่ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2005 ที่ผ่านมา มีปริมาณส่งออกรวม 8,285 ตัน เป็นมูลค่า 1,906 ล้านบาท เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.88 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 134.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4—8 ธ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 4 - 10 ธันวาคม 2549--
-พห-