เกษตรกรแห่ขยายปลูกมันฯ เหตุเพราะฟ้าฝนเป็นใจ ด้าน สศก.จับมือ กรมส่งเสริม พร้อม 4 สมาคม สำรวจภาวะการณ์ผลิต พบอีสานมีพื้นที่ปลูกมันฯ มากที่สุด 3.91 ล้านไร่ โดยโคราชครองแชมป์ 1.76 ล้านไร่ พร้อมเสนอรัฐฯ ควรส่งเสริมให้โรงงานผลิตเอทานอล เริ่มผลิตโดยเร็วเพื่อรองรับวัตถุดิบหัวมันฯที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในปีเพาะปลูก 2549/50เป็นปีที่ฝนฟ้าดี จูงใจให้เกษตรกรหันมาขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังกันเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนจากอ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาปลูกมันสำปะหลังแทน
ซึ่งผลจาการดำเนินการสำรวจ ภาวะการณ์ผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูกาลผลิตปี 2549/50 ของ 4 สมาคม คือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบปริมาณพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของแต่ละภาคแล้ว สรุปได้ว่า ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุด รวม 3.91 ล้านไร่ คาดว่ามีผลผลิตรวม 13.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 11.83% จากปี 2548/49 โดยนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศจำนวน 1.76 ล้านไร่ คาดว่ามีผลผลิตกว่า 6.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 14.91% จากปี 2548/49 รองลงมาเป็นภาคกลาง พื้นที่ปลูกรวม 2.18 ล้านไร่ คาดว่ามีผลผลิตรวม 7.99 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 10.73% จากปี 2548/49 และภาคเหนือ พื้นที่ปลูก 1.03 ล้านไร่ คดว่ามีผลผลิตรวม 3.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.29% จากปี 2548/49 ส่วนในด้านปัญหานั้น พบหลายประการ ได้แก่
1. พันธุ์ ซึ่งเกษตรกรยังต้องการพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ
2. ราคา โดยราคามันสำปะหลังไม่มีเสถียรภาพ แต่เมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงทำให้ราคามันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงหันมาปลูกเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งอาจทำให้มีปริมาณมาก
3. ผลผลิตต่อไร่ ลดลง เนื่องจากขยายแต่พื้นที่ปลูก โดยไม่พัฒนาการผลิตตามไป
4. ต้นทุน ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราที่รวดเร็วกว่าราคามันสำปะหลังมาก
ทั้งนี้ ทางคณะสำรวจฯ ได้มีข้อเสนอในการแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่หลายประการ ซึ่งมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเอทานอลอยู่ด้วย นั่นคือ รัฐบาลควรส่งเสริมให้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังเริ่มดำเนินการผลิตโดยเร็วเพื่อเป็นการรองรับวัตถุดิบหัวมันสำปะหลังที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ฉะนั้นจะต้องผลักดันให้มีการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล ให้เสร็จทันตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อรองรับผลหัวมันสำปะหลังสดดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในปีเพาะปลูก 2549/50เป็นปีที่ฝนฟ้าดี จูงใจให้เกษตรกรหันมาขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังกันเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนจากอ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาปลูกมันสำปะหลังแทน
ซึ่งผลจาการดำเนินการสำรวจ ภาวะการณ์ผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูกาลผลิตปี 2549/50 ของ 4 สมาคม คือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบปริมาณพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของแต่ละภาคแล้ว สรุปได้ว่า ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุด รวม 3.91 ล้านไร่ คาดว่ามีผลผลิตรวม 13.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 11.83% จากปี 2548/49 โดยนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศจำนวน 1.76 ล้านไร่ คาดว่ามีผลผลิตกว่า 6.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 14.91% จากปี 2548/49 รองลงมาเป็นภาคกลาง พื้นที่ปลูกรวม 2.18 ล้านไร่ คาดว่ามีผลผลิตรวม 7.99 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 10.73% จากปี 2548/49 และภาคเหนือ พื้นที่ปลูก 1.03 ล้านไร่ คดว่ามีผลผลิตรวม 3.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.29% จากปี 2548/49 ส่วนในด้านปัญหานั้น พบหลายประการ ได้แก่
1. พันธุ์ ซึ่งเกษตรกรยังต้องการพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ
2. ราคา โดยราคามันสำปะหลังไม่มีเสถียรภาพ แต่เมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงทำให้ราคามันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงหันมาปลูกเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งอาจทำให้มีปริมาณมาก
3. ผลผลิตต่อไร่ ลดลง เนื่องจากขยายแต่พื้นที่ปลูก โดยไม่พัฒนาการผลิตตามไป
4. ต้นทุน ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราที่รวดเร็วกว่าราคามันสำปะหลังมาก
ทั้งนี้ ทางคณะสำรวจฯ ได้มีข้อเสนอในการแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่หลายประการ ซึ่งมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเอทานอลอยู่ด้วย นั่นคือ รัฐบาลควรส่งเสริมให้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังเริ่มดำเนินการผลิตโดยเร็วเพื่อเป็นการรองรับวัตถุดิบหัวมันสำปะหลังที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ฉะนั้นจะต้องผลักดันให้มีการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล ให้เสร็จทันตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อรองรับผลหัวมันสำปะหลังสดดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-