กรุงเทพ--18 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด และโดยความช่วยเหลือและความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลียและสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม (United Nations Office on Drugs and Crime — UNODC) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้จัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (The Regional Workshop on International Legal Cooperation against Terrorism) ระหว่างวันที่17-19 มกราคม 2548 ที่โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์วางระเบิดที่เกาะบาหลี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2545 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 202 คน อันเป็นการก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในทวีปเอเชีย ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (Bali Regional Ministerial Meeting on Counter Terrorism หรือ BRMCT) อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน ติมอร์เลสเต จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย รัสเซีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฟิจิ ปาปัวนิวกินี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และเยอรมนี รวม 26 ประเทศ ขึ้นที่เกาะบาหลีในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานด้านประเด็นกฎหมาย (Legal Issues Working Group — LIWG) ขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานด้านกฎหมายเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อปิดช่องว่างที่มีอยู่ และเสริมสร้างความช่วยเหลือด้านกฎหมายระหว่างกัน
คณะทำงานด้านประเด็นกฎหมายได้มอบหมายให้ไทยเป็นผู้ประสานงานเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกฎหมาย (International Legal Cooperation) ในการนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดและโดยความช่วยเหลือ และความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลียและสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและ อาชญากรรม จึงได้จัดการประชุมดังกล่าวขึ้น
การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและให้ความเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา จากประเทศที่อยู่ในกรอบ BRMCT องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ อาทิ ศูนย์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย (Southeast Asia Regional Centre for Counter-Terrorism) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และUNODC เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ปัญหา และอุปสรรคในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกฎหมายเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย โดยผลการประชุมจะนำมาจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติและกฎเกณฑ์ในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการต่อต้านการก่อการร้ายให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของ BRMCT ซึ่งจะมีขึ้นภายในปี 2548 พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
โดยที่ประชุมฯ จะมีส่วนสำคัญในการสร้างหลักเกณฑ์การตีความกฎหมาย ในของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมกระบวนการ BRMCT ในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านการก่อการร้าย อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริม บทบาทของไทยในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ อันเป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 11 ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 2548 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์ ในพิธีเปิดการประชุมฯ ในวันที่ 17 มกราคม2548 เวลา 09.00-09.30 น.
ประเทศไทยได้ยึดมั่นและปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติซึ่งเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันต่อต้านการก่อการร้าย โดยเน้นเรื่องการมีกรอบทางกฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้กับการก่อการร้ายระหว่างประเทศมาโดยตลอด โดยไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายแล้ว 5 ฉบับ ฉบับล่าสุด คือ อนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ค.ศ.1999 (International Convention for the Suppression of the Financing of Terrorism) ซึ่งไทยได้ยื่นสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคีแล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 และขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบกฎหมายภายในทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายอื่นๆ ที่เหลืออีก 7ฉบับ นอกจากนั้น ไทยยังมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (extradition treaty) กับประเทศต่างๆ 14 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิจิ เบลเยียม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ และกัมพูชา และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องทางอาญา (treaty on mutual assistance in criminal matters) กับประเทศต่างๆ 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และอินเดีย และเสร็จสิ้นการเจรจาทำความตกลงในเรื่องนี้กับจีน เกาหลี โปแลนด์ ศรีลังกา ออสเตรเลีย และเบลเยียมแล้ว
แม้ว่าไทยจะยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายทั้งหมด และยังไม่มีความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญากับทุกประเทศ แต่ไทยก็อาจให้ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญากับต่างประเทศได้ หากต่างประเทศพร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยเป็นการตอบแทน (reciprocity) ทั้งนี้ เพื่อประกันว่า “ผู้ก่อการร้ายจะต้องไม่สามารถหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมและใช้ประเทศใดๆ เป็นแหล่งหลบภัยได้”
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด และโดยความช่วยเหลือและความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลียและสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม (United Nations Office on Drugs and Crime — UNODC) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้จัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (The Regional Workshop on International Legal Cooperation against Terrorism) ระหว่างวันที่17-19 มกราคม 2548 ที่โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์วางระเบิดที่เกาะบาหลี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2545 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 202 คน อันเป็นการก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในทวีปเอเชีย ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (Bali Regional Ministerial Meeting on Counter Terrorism หรือ BRMCT) อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน ติมอร์เลสเต จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย รัสเซีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฟิจิ ปาปัวนิวกินี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และเยอรมนี รวม 26 ประเทศ ขึ้นที่เกาะบาหลีในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานด้านประเด็นกฎหมาย (Legal Issues Working Group — LIWG) ขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานด้านกฎหมายเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อปิดช่องว่างที่มีอยู่ และเสริมสร้างความช่วยเหลือด้านกฎหมายระหว่างกัน
คณะทำงานด้านประเด็นกฎหมายได้มอบหมายให้ไทยเป็นผู้ประสานงานเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกฎหมาย (International Legal Cooperation) ในการนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดและโดยความช่วยเหลือ และความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลียและสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและ อาชญากรรม จึงได้จัดการประชุมดังกล่าวขึ้น
การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและให้ความเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา จากประเทศที่อยู่ในกรอบ BRMCT องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ อาทิ ศูนย์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย (Southeast Asia Regional Centre for Counter-Terrorism) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และUNODC เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ปัญหา และอุปสรรคในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกฎหมายเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย โดยผลการประชุมจะนำมาจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติและกฎเกณฑ์ในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการต่อต้านการก่อการร้ายให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของ BRMCT ซึ่งจะมีขึ้นภายในปี 2548 พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
โดยที่ประชุมฯ จะมีส่วนสำคัญในการสร้างหลักเกณฑ์การตีความกฎหมาย ในของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมกระบวนการ BRMCT ในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านการก่อการร้าย อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริม บทบาทของไทยในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ อันเป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 11 ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 2548 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์ ในพิธีเปิดการประชุมฯ ในวันที่ 17 มกราคม2548 เวลา 09.00-09.30 น.
ประเทศไทยได้ยึดมั่นและปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติซึ่งเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันต่อต้านการก่อการร้าย โดยเน้นเรื่องการมีกรอบทางกฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้กับการก่อการร้ายระหว่างประเทศมาโดยตลอด โดยไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายแล้ว 5 ฉบับ ฉบับล่าสุด คือ อนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ค.ศ.1999 (International Convention for the Suppression of the Financing of Terrorism) ซึ่งไทยได้ยื่นสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคีแล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 และขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบกฎหมายภายในทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายอื่นๆ ที่เหลืออีก 7ฉบับ นอกจากนั้น ไทยยังมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (extradition treaty) กับประเทศต่างๆ 14 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิจิ เบลเยียม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ และกัมพูชา และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องทางอาญา (treaty on mutual assistance in criminal matters) กับประเทศต่างๆ 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และอินเดีย และเสร็จสิ้นการเจรจาทำความตกลงในเรื่องนี้กับจีน เกาหลี โปแลนด์ ศรีลังกา ออสเตรเลีย และเบลเยียมแล้ว
แม้ว่าไทยจะยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายทั้งหมด และยังไม่มีความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญากับทุกประเทศ แต่ไทยก็อาจให้ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญากับต่างประเทศได้ หากต่างประเทศพร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยเป็นการตอบแทน (reciprocity) ทั้งนี้ เพื่อประกันว่า “ผู้ก่อการร้ายจะต้องไม่สามารถหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมและใช้ประเทศใดๆ เป็นแหล่งหลบภัยได้”
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-